กรมสุขภาพจิตจับมือม.มหิดลพัฒนาชุดประเมินการทำงานของสมองรักษาผู้ป่วยจิตเภท

สำนักข่าวไทย12 ต.ค.- สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ร่วมกับ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินการทำงานของสมองส่วนหน้าสุด ใช้รักษาผู้ป่วยโรคจิตเภท ช่วยให้ทราบถึงความสามารถของผู้ป่วยในการรับรู้ กระบวนการคิด การวางแผน การตัดสินใจ การยับยั้ง การควบคุมตนเอง และการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ช่วยให้จิตแพทย์ สามารถพยากรณ์ผู้ป่วยได้ในระยะยาว


นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคจิตเภทเป็นสาเหตุของอาการทางจิตที่พบมากที่สุด และจัดเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ได้แสดงให้เห็นว่า มีประชากรของโลกอย่างน้อย 21 ล้านคนเป็นโรคจิตเภท ส่วนไทยพบผู้ป่วยเป็นโรคจิตเภท ประมาณ 600,000 คนทั่วประเทศ โรคจิตเภทเป็นโรคที่มีลักษณะเฉพาะ คือ จะมีอาการหลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน พูดจาฟัง ไม่รู้เรื่อง มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น แต่งกายแปลกๆ โรคจิตเภทเป็นโรคทางจิตเวชที่มักจะเป็นเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัวและสังคม สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภทนั้น มีทั้งการรักษาด้วยยาต้านอาการทางจิต ซึ่งเน้นที่การใช้ยาไปปรับการทำงานของวงจรประสาทในหลายส่วนของสมอง กับการรักษาทางจิตสังคม ที่เน้นการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยให้กลับไปดูแลตนเอง ทำกิจวัตรประจำวัน รวมไปถึงการทำงานหาเลี้ยงชีพ และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข


อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า การวิจัยพบว่า การทำงานของสมองในผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง แม้ได้รับการรักษาด้วยยาต้านอาการทางจิตอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังคงมีความผิดปกติของการทำงานของสมองส่วนหน้าสุด แตกต่างไปจากคนปกติ เนื่องจากสมอง ส่วนหน้าสุดเป็นสมองส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งการประเมินการทำงานของสมองส่วนหน้าสุด จะช่วยให้ทราบถึงความสามารถของผู้ป่วยในการรับรู้ กระบวนการคิด การวางแผน การตัดสินใจ การยับยั้ง การควบคุมตนเอง และการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม 

การพัฒนาชุดเครื่องมือในการประเมินการทำงานของสมองส่วนหน้าสุดโดยตรง ในผู้ป่วยจิตเภท นับเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาใหม่ๆ สามารถใช้ร่วมกับการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และความสามารถทางสังคม 

ทางด้านนายแพทย์นพดล วาณิชฤดี รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยนี้ นอกเหนือจากได้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และจิตเวชศาสตร์แล้ว ได้ชุดเครื่องมือทั้งในรูปแบบของการประเมินเบื้องต้นและฉบับสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทในการประเมินการทำงานของสมองส่วนหน้าสุดอย่างเป็นรูปธรรม การทราบถึงความสามารถในการทำงานของสมองส่วนหน้าสุดหลังจากการรักษา ยังช่วยให้แพทย์ ให้การบำบัดฟื้นฟูในส่วนที่พบความบกพร่อง อันจะช่วยให้ผู้ป่วยคงไว้ซึ่งศักยภาพในการหาเลี้ยงชีพ และดำรงชีวิตในสังคมได้ และเป็นตัวช่วยในการวางแผนการติดตามผู้ป่วย  และทำให้ทราบถึงความต้องการการฝึกทักษะในการดำรงชีวิตของผู้ป่วยแต่ละคนว่า มีความต้องการในด้านใดบ้าง ซึ่งจะนำไปสู่การดูแลผู้ป่วยที่ตรงกับความต้องการของตัวผู้ป่วย และผู้ดูแลมากขึ้น เน้นไปที่การฟื้นฟูเฉพาะจุด ผู้ดูแลผู้ป่วยในระยะยาวจะได้ทราบถึงความสามารถในการคิดและการปรับตัวของผู้ป่วย ทำให้ครอบครัวและชุมชนสามารถเตรียมความพร้อมในการร่วมกันดูแลผู้ป่วยได้.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องบินโดยสาร อาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ตกในคาซัคสถาน

เครื่องบินโดยสารเอ็มบราเออร์ ของสายการบินอาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ที่บินจากอาเซอร์ไบจาน ไปยังประเทศรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุตกที่บริเวณใกล้กับเมืองอัคเทา ในคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 62 คน และลูกเรือ 5 คน บนเครื่อง เจ้าหน้าที่คาซัคสถานกล่าวว่า มีผู้รอดชีวิต 28 ราย