ชัวร์ก่อนแชร์ ภัยไซเบอร์ : แฉทวิต #งานออนไลน์ หลอกวัยรุ่นสร้างตัว

ชัวร์ก่อนแชร์ ภัยไซเบอร์ แฉกลโกงคนร้าย เตือนภัยการหลอกลวงที่มาในคราบงานออนไลน์ที่เชิญชวนอยู่ตามทวิตเตอร์ ติดตาม กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์


🎯 ตรวจสอบกับ อาจารย์ ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์
🔎 สัมภาษณ์เมื่อ 2 มีนาคม 2565
🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์


📌 สรุป

แฮชแท็ก #งานออนไลน์ได้เงินจริง หาเงินช่วงปิดเทอม #งานออนไลน์ฟรี หาเงินค่าขนม #หารายได้เสริม และอีกสารพัดแฮชแท็ก มีคนตกเป็นเหยื่อแล้วมากมาย ลองโอนเงินไปทำกำไร แต่สุดท้าย ถูกโกง สำหรับกรณีล่าสุดนี้ เป็นอีกครั้งที่มีน้อง ๆ วัยรุ่นหลงเชื่ออุบายแนบเนียนของแก๊งคนร้าย ที่หว่านล้อม ขายฝัน ด้วยงานแบบนักลงทุน


อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์
ติดตามพฤติการณ์คนร้ายแก๊งนี้อย่างใกล้ชิด

คุณคิดว่ากว่าจะโดนหลอก จากห้าสิบบาท มาเป็นเจ็ดแปดแสน คิดว่าเป็นอาทิตย์ใช่ไหม
เชื่อไหมครับ คืนเดียวครับ รายที่มาปรึกษาผมนี่ โดนไปหลายแสนเลยอาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์


เริ่มต้นที่ทางเข้า คนร้ายสร้างบัญชีทวิตเตอร์ที่ดูเป็นมิตร ใช้แฮชแท็กเป็นประตู ดูดเหยื่อเข้ามาเจอ

เริ่มจากทวิตเตอร์ เขียนทำนองว่า เป็นงานออนไลน์ หาเงินออนไลน์ ได้เงินจริง รายได้พิเศษออนไลน์ ค่าขนม
จะมีโชว์สลิปให้ดูว่ามันจริง จากนั้นก็จะมีการกดเข้าไปแอดไลน์ มีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือทั้งทวิตเตอร์ทั้งไลน์จะ
ไม่รู้ตัวตนเลย ระบุตัวตนไม่ได้ และมันก็จะไม่ให้เบอร์เราเลย

เขียนข้อความด้วยภาษาเดียวกับน้อง ๆ วัยรุ่น

ชวนคุยเป็นพี่ รุ่นพี่ น่ารัก ๆ ดูแลดี เหมือนกับเป็นโค้ช แล้วก็จะมีตัวละครโผล่มาอีกตัว คือเป็นอาจารย์ สอนการลงทุน
คนนี้จะมีกฎระเบียบ กติกา เขาจะบอกตั้งแต่ต้นเลยว่า ถ้าทำผิดกฎก็จะไม่ได้เงินนะ เมื่อเหยื่อเข้ามาแล้ว จะหลอกให้สมัครเข้าเว็บ ที่ทำหน้าตาเหมือนแอป แต่ดูที่ปุ่ม ดู interface ก็รู้ว่าเป็นเว็บพนัน

แต่คนร้ายก็บ่ายเบี่ยง เลี่ยงความสนใจโดยใช้คำว่า “ลงทุน” เคลือบไว้

มีให้โอนเงินเข้าไป พอเงินได้ ก็จะเป็นตัวเลขขึ้นมาให้เห็นบนจอ และกดถอน เงินก็จะเข้าบัญชีเรา สุดท้ายเมื่อใครหลงเชื่อโอนเงินไป แรก ๆ ก็จะได้เงินคืน เป็นจำนวนน้อย ๆ แค่หลักสิบกว่าบาท แต่ก็เพียงพอจะหลอกให้ตายใจ ลองเล่นห้าสิบบาท ร้อยนึง ร้อยสองร้อย เงินเข้าจริง จึงรู้สึกว่าเงินมันหาง่าย จากนั้นก็จะเริ่มเล่นใหญ่ไปเรื่อย ๆ บางครั้งอาจจะมีหน้าม้ามาร่วมเล่นด้วย บอกว่า “นี่ฉันได้เงินจริงนะ”

แต่ไม่ทันไร เงินที่ต้องโอนออกไป ก็เพิ่มขึ้น จากนั้นก็จะบอกว่ามีโปร เกม ภารกิจที่เลื่อนขึ้นไปอีก
และเกิดภาวะติดขัด พอเงินถึงปริมาณหนึ่งที่มันสูง เขาบอกว่าเรากดผิด และทำให้ไม่สามารถถอนเงินออกมาได้
ทั้งที่เงินก็เห็นอยู่บนจอ ว่าเงินเรา แต่คนร้ายก็ใช้ตัวเลขที่โชว์ในแอปปลอม ๆ หลอกว่าเงินของเหยื่อยังอยู่ และเพิ่มขึ้น ทั้งที่เงินไม่อยู่แล้ว และที่จริงคือ ไม่เคยมีเงินนั้นรออยู่ด้วยซ้ำ

ความคิดเราจะถูกหลอกว่า เงินเรารออยู่ แต่ต้องมีการซ่อม คือทำผิดขั้นตอน ต้องซ่อม โดยมีค่าซ่อม แต่ค่าซ่อมที่จ่ายเพิ่มไป กับเงินที่จะได้ ลบกันแล้วเราก็ยังได้กำไร เราจึงอาาจจะจ่ายค่าซ่อมไป พอจ่ายค่าซ่อมไป เขาก็บอกว่า จ่ายผิดขั้นตอน ส่งสลิปโอนไปไม่มีหมายเหตุ ต้องมีจุด ไม่มีจุด เขาจะลวดลายเยอะ หาที่ผิดเราจนได้ แล้วก็หาทางซ่อมไปเรื่อย ๆ เงินก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นสองหมื่น สามหมื่น สี่หมื่น แล้วพอถึงจุดนึง มันก็จะบอกว่า คุณทำผิดกฎของเรา
ไม่สามารถจะช่วยคุณได้แล้ว แล้วเราปิดระบบแล้ว แล้วก็เชิดเงินหนีไป

คนร้ายใช้บัญชีม้าเพื่อรับเงิน ดังนั้นใครที่เพิ่งรับจ้างเปิดบัญชีให้คนอื่นมา โปรดรู้ไว้ว่า ท่านได้มีส่วนร่วม สร้างความเดือดร้อนเสียหายให้คนอื่นอย่างมหาศาล

กลุ่มเป้าหมายน่าจะเป็นเด็กมัธยม อายุน่าจะประมาณ 13-14 ปีไปจนถึง 17-18 ปี สิ่งที่น่าเศร้าและน่าเสียดาย คือสุดท้าย วัยรุ่นที่หวังดี ต้องการช่วยทางบ้าน กลับต้องเสียทรัพย์ เงินเก็บ หลายคนไปนำเงินมาจากบัญชีผู้ปกครอง
หลายคนกลายเป็นหนี้ล้นพ้นตัว

ภัยไซเบอร์ อันตราย หากรู้เท่าทัน ป้องกันได้

ดูคลิปที่มีเนื้อหาเต็มได้ที่ https://youtu.be/DsFddmrnh-0

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ศาลตัดสินพิรงรอง

“พิรงรอง” รับกังวลใจ วันนี้ศาลตัดสิน คดีทรูฟ้องหลุดเก้าอี้ กสทช.

“พิรงรอง” ถึงศาล รับกังวลใจ คดีทรูฟ้องหลุดเก้าอี้ กสทช. ปมส่งใบเตือนทีวีดิจิทัลมีโฆษณาแทรก ยืนยันทำหน้าที่อย่างถูกต้อง

ผู้สมัคร นายก อบจ.สมุทรปราการ หอบหลักฐานทุจริตเลือกตั้ง ร้อง ปธ.สภา

ผู้สมัคร นายก อบจ. สมุทรปราการ พรรคประชาชน หอบหลักฐานทุจริตเลือกตั้ง อบจ.ร้องประธานสภา จี้ กกต.สอบให้ความเป็นธรรม ลั่นจะไม่ปล่อยให้เรื่องเงียบ

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

บุกรวบ 2 บิ๊กบอสแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน

ตำรวจนครบาลบุกรวบ 2 บิ๊กบอสแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน สร้างเพจปลอมเป็นหน่วยงานตำรวจ และ ปปง. หลอกเหยื่อว่าสามารถติดตามทรัพย์สินที่ถูกหลอกคืนได้ ค้นบ้านพบซิมบ็อกซ์โทรศัพท์ และ QR Code ปลอม จำนวนมาก

ข่าวแนะนำ

เข้าสู่คืนที่ 2 ตัดไฟฟ้าชายแดนเมียนมา ทำลายวงจรแก๊งคอลเซ็นเตอร์

เข้าสู่คืนที่ 2 สำหรับการตัดกระแสไฟฟ้า ตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต และระงับการส่งน้ำมัน จากฝั่ง อ.แม่สอด จ.ตาก ไปเมืองเมียวดีของเมียนมา เพื่อตัดวงจรกลุ่มจีนเทา พบมีการใช้ไฟฟ้าน้อยลง

คนร้ายลอบวางระเบิดรถกระเช้าภายในเทศบาลตำบลรือเสาะ

คนร้ายลอบวางระเบิดรถกระเช้าจอดในอาคารจอดรถ เทศบาลตำบลรือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส หลังเสร็จพิธีต้อนรับนายกเทศมนตรีคนใหม่ ทำให้ไฟไหม้รถเสียหายหลายคัน

ปล้นร้านสะดวกซื้อ

รวบ 6 เยาวชน ก่อเหตุปล้นร้านสะดวกซื้อปัตตานี

รวบแล้ว 6 โจร ปล้นร้านสะดวกซื้อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ได้เงินกว่า 4,000 บาท พบผู้ก่อเหตุทั้งหมด เป็นเยาวชนอายุระหว่าง 14-16 ปี