16 ตุลาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politica Estadao (บราซิล)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
- วงการวิทยาศาสตร์ยังไม่สรุปได้ว่า ระดับภูมิต้านทานที่น้อยที่สุดที่จำเป็นต่อการป้องกันการติดเชื้อควรมีปริมาณเท่าใด
- นอกจากแอนตีบอดี้แล้ว เซลล์ความจำและเซลล์เม็ดเลือดขาวยังทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานและต่อสู้กับการติดเชื้อได้เช่นกัน
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook ในประเทศบราซิล เมื่อแพทย์ผู้หนึ่งเผยแพร่คลิปวิดีโอโจมตีประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac โดยอ้างผลตรวจแอนตีบอดี้ในเลือดหลังจากฉีดวัคซีน Sinovac ครบ 2 โดส พบว่าระดับภูมิต้านทานเชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในระดับต่ำ
แม้ภายหลังแพทย์คนดังกล่าวจะแก้ความเข้าใจผิดในคลิปวิดีโอตัวใหม่ แต่ข้อมูลเท็จจากคลิปวิดีโอตัวเดิมก็ถูกนำไปแชร์ทาง Facebook แล้วกว่า 800 ครั้ง
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
การตรวจแอนตีบอดี้ในเลือด หรือ Serology Test คือหนึ่งในวิธีตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วยการนำตัวอย่างเลือดของผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มาตรวจหาแอนติบอดี้ในร่างกาย
แต่วงการแพทย์ต่างยืนยันว่า การตรวจแอนตีบอดี้ในเลือดไม่สามารถวัดระดับภูมิต้านทานไวรัสโควิด 19 ในร่างกายได้
สำนักงานสาธารณสุขบราซิล (Anvisa) ระบุว่า การตรวจแอนตีบอดี้ในเลือดไม่สามารถวัดระดับภูมิต้านทานไวรัสโควิด 19 ในร่างกายได้ ไม่ว่าจะวัดหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 หรือหลังจากติดเชื้อโควิด 19 มาแล้วก็ตาม เนื่องจากวงการวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่า ระดับภูมิต้านทานที่น้อยที่สุดที่จำเป็นต่อการป้องกันการติดเชื้อควรมีปริมาณเท่าใด
นอกจากแอนติบอดี้หรือสารภูมิต้านทานในร่างกายแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายยังมีเซลล์ความจำ (Memory Cell) และเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมไฟไซท์ (Lymphocyte) ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานและต่อสู้กับเชื้อไวรัสจากการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน การมีระดับภูมิต้านทานไม่สูงนักในวันที่ทำการตรวจแอนตีบอดี้ในเลือด ไม่ได้หมายความว่าร่างกายจะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด 19 แต่อย่างใด
เอดูอาร์โด ซิลไวรา นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัย University of Sao Paulo ยืนยันว่าการตรวจแอนตีบอดี้ในเลือดไม่สามารถวัดประสิทธิผลของวัคซีนได้
ผลวิจัยในประเทศบราซิลพบว่า วัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac ป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการได้ 65.9%, ป้องกันการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ 87.5%, ป้องกันการรักษาตัวในห้องฉุกเฉินได้ 90.3% และป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด 19 ได้ 86.3%
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter