ชัวร์ก่อนแชร์: ผลชันสูตรผู้ฉีดวัคซีนโควิด พบเชื้อไวรัสแพร่ทั่วร่างกาย จริงหรือ?

22 กันยายน 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck.org (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด

บทสรุป:


  1. เป็นการบิดเบือนผลวิจัยให้เชื่อว่าวัคซีนโควิด 19 ป้องกันไวรัสไม่ได้ เนื่องจากผู้ตายฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียวจึงมีโอกาสติดเชื้อสูง
  2. มีอวัยวะเพียง 7 แห่งที่ตรวจพบเชื้อโควิด 19 และไม่ใช่สาเหตุการเสียชีวิตอีกด้วย

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกาโดย ฮัล เทอร์เนอร์ นักจัดรายการวิทยุแนวคิดอนุรักษ์นิยม ได้อ้างว่าผลการชันสูตรศพผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 พบรหัสพันธุกรรม RNA ของไวรัสโควิด 19 ตามอวัยวะทุกส่วนของผู้ตาย แสดงให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันโควิด 19 ไม่ได้ หรือทำให้การแพร่เชื้อรวดเร็วยิ่งขึ้น จนเป็นข้อความที่ถูกแชร์ไปแล้วกว่า 8,000 ครั้ง

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


คำกล่าวอ้างดังกล่าว นำมาจากงานวิจัยเมื่อเดือนเมษายน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการชันสูตรศพผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ผู้เสียชีวิตเป็นชายวัย 86 ปีที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา โดยเสียชีวิตใน 4 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มแรกของบริษัท Pfizer/BioNTech เมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม

หลังจากฉีดวัคซีนไปได้ 2 สัปดาห์ ชายผู้นี้ยังไม่แสดงอาการใดๆ แต่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลังเกิดอาการท้องเสียรุนแรงในวันที่ 18 หลังจากฉีดวัคซีน เมื่อรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ 7 วัน เขาก็ตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด 19 โดยเชื่อว่าติดมาจากคนไข้ที่อยู่ในห้องพยาบาลเดียวกัน หลังจากติดเชื้อได้หนึ่งวันเขาก็เสียชีวิต

แม้ผลชันสูตรจะพบไวรัสโควิด 19 แพร่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ ของผู้ตาย แต่ผู้วิจัยยืนยันว่าผู้ตายไม่แสดงอาการป่วยของโรคโควิด 19 และสรุปว่าที่มาของอาการท้องเสียรุนแรงมาจากอาการเลือดไปเลี้ยงลำไส้ใหญ่ไม่เพียงพอ (ischemic colitis) และสาเหตุการเสียชีวิตมาจากโรคปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียและภาวะไตล้มเหลว

โดยผลวิจัยสรุปว่า การฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มเดียวสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ แต่ไม่มากพอที่จะยับยั้งการติดเชื้อได้

อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยถูกนำไปบิดเบือนโดยข้อความของ ฮัล เทอร์เนอร์ ที่อ้างว่าชายคนดังกล่าวเสียชีวิตเพราะการฉีดวัคซีนโควิด 19 เนื่องจากผลชันสูตรพบเชื้อไวรัสในอวัยวะทุกส่วนของผู้ตาย แสดงให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ หรือทำให้การแพร่เชื้อในร่างกายรวดเร็วยิ่งกว่าคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน และอ้างว่าชายผู้นี้ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคลำไส้อักเสบจากการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19

ดร.ทอร์สเทน แฮนเซน จากศูนย์พยาธิวิทยา มหาวิทยาลัย Bielefeld University ประเทศเยอรมนี เจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้ออกมายืนยันว่า ข้อกล่าวอ้างของ ฮัล เทอร์เนอร์ คือการบิดเบือนงานวิจัย

ข้อแรก ผู้เสียชีวิตไม่ได้รักษาตัวจากโรคลำไส้อักเสบเพราะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด 19 แต่เป็นเพราะอาการเลือดไปเลี้ยงลำไส้ใหญ่ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นอาการที่ผู้เสียชีวิตเคยเป็นมาก่อนเมื่อ 15 ปีที่แล้ว การส่องกล้องตรวจไม่พบ RNA ของไวรัสที่ลำไส้ใหญ่ จึงยืนยันได้ว่าอาการเลือดไปเลี้ยงลำไส้ใหญ่ไม่เพียงพอคือสาเหตุของการอาการท้องเสียรุนแรง ไม่ใช่สาเหตุจากการฉีดวัคซีน

ผู้วิจัยชี้ว่า ฮัล เทอร์เนอร์ บิดเบือนผลวิจัย 3 ข้อ

1.เนื่องจากผู้เสียชีวิตฉีดวัคซีนโควิด 19 เพียงโดสเดียว การติดเชื้อโควิด 19 หลังจากรับวัคซีนจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นหลังจากรับวัคซีนโดสที่ 2 ไปแล้วเป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
2.การอ้างว่าพบไวรัสโควิด 19 ในอวัยวะทุกส่วนของผู้เสียชีวิตเป็นการกล่าวเกินจริง เพราะทีมวิจัยตรวจสอบอวัยวะของผู้เสียชีวิต 9 แห่ง และพบ RNA ของโควิด 19 ในอวัยวะเพียง 7 แห่งเท่านั้น
3.การวิจัยกับผู้ป่วยเพียงรายเดียว ไม่อาจสะท้อนประสิทธิผลโดยรวมของวัคซีนโควิด 19 ได้

ดร.ทอร์สเทน แฮนเซน ย้ำว่าจากการตรวจสอบอวัยวะของผู้เสียชีวิต ไม่พบการแสดงอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 แม้ผู้เสียชีวิตจะติดเชื้อโควิด 19 แต่โควิด 19 ไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิต และทีมวิจัยยังคงมั่นใจว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีน สามารถป้องกันการป่วยจากโควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.factcheck.org/2021/06/scicheck-post-misrepresents-details-of-postmortem-study-of-vaccinated-sars-cov-2-patient/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยึดรถบอสดิไคอน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน ขณะที่พนักงานสอบสวนชุดเล็กประชุมสรุปรายงานผลการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เตรียมรายงานคณะทำงานชุดใหญ่พรุ่งนี้

ระเบิดสะพานโจร

“ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง

กสทช. จับมือตำรวจ สานต่อยุทธการ “ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง อย่างอุกอาจ เอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ว.วชิรเมธี

พระพยอมชี้ ท่าน ว.วชิรเมธี นั่งบนหิมะ ไม่ผิดวินัยสงฆ์

เพจดังลงภาพท่าน ว.วชิรเมธี นั่งสมาธิบนหิมะที่ญี่ปุ่น ด้านพระพยอมชี้ ไม่ผิดวินัยสงฆ์ คิดว่าท่าน ว.วชิรเมธี คงอยากทดสอบความอดทน

ข่าวแนะนำ

“พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ” ยันไม่ปล่อยผ่านคดีตากใบ เร่งตามผู้ต้องหาก่อนหมดอายุความ

ผบ.ตร.เผยคดีตากใบ เร่งติดตามตัวผู้ต้องหาก่อนหมดอายุความ เข้าตรวจค้น 29 ครั้ง เฝ้าจุดระวังติดตามกว่า 180 ครั้ง ยันไม่ปล่อยผ่าน

ไร่เชิญตะวัน

กมธ.ทรัพย์ฯ สว. ถกด่วนพื้นที่ไร่เชิญตะวัน พ่วงที่ดินบอสกันต์

กมธ.ทรัพย์ฯ สว. ถกด่วนพื้นที่ “ไร่เชิญตะวัน” พ่วงที่ดิน “บอสกันต์” ด้วย หลังเพิ่งมีคนร้อง กมธ. “สว.ชีวภาพ” เชื่อ 1-2 วัน ความจริงจะกระจ่าง รอตรวจสอบคู่ขนาน “กรมป่าไม้” เผยที่ดิน “กันต์ กันตถาวร” อยู่นอกเขตป่าสงวน แต่ต้องสอบครอบครองเกินโฉนดหรือไม่