ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐฯ เร่งออกกฎหมายยุติการผลิตรถน้ำมัน จริงหรือ?

09 เมษายน 2566
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีคลิปวิดีโอข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อสมาคมผู้ผลิตปิโตรเคมีและเชื้อเพลิงของสหรัฐอเมริกา เผยแพร่คลิปวิดีโอโฆษณาอ้างว่า รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ภายใต้การนำของ โจ ไบเดน ออกมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน ด้วยการกำหนดค่าการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์อย่างเข้มงวด จนบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่อาจผลิตรถยนต์สันดาปภายในที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานเชื้อเพลงได้อีกต่อไป ถือเป็นการลิดรอนสิทธิผู้ใช้รถยนต์ที่ยังจำเป็นต้องใช้รถยนต์น้ำมันในชีวิตประจำวัน


บทสรุป :

แม้หลายหน่วยงานของสหรัฐฯ จะสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าและตั้งข้อกำหนดด้านการปลดปล่อยคาร์บอนจากรถยนต์สันดาปอย่างเง้มงวด แต่ไม่ได้มีนโยบายห้ามการผลิตรถยนต์น้ำมันในอนาคตอันใกล้แต่อย่างใด

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


แม้หลายหน่วยงานของสหรัฐฯ จะสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อลดปัญหามลภาวะทางอากาศ แต่นโยบายเหล่านั้นก็ไม่ได้ทำให้การผลิตรถยนต์น้ำมันหายไปจากตลาดอย่างสิ้นเชิงแต่อย่างใด

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ หรือ EPA มีโครงการสร้างสังคมปลดปล่อยไอเสียจากท่อรถยนต์เป็นศูนย์ โดยกำหนดเป้าหมายให้ยอดการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดกลางจะต้องมีสัดส่วนที่ 67% และ 46% ภายในปี 2032

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตั้งเป้าให้ยอดขายรถยนต์ 50% ในปี 2030 เป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จากที่มีอยู่เพียง 7.6% ในปี 2023

เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายดังกล่าว กองบริหารความปลอดภัยในจราจรบนทางหลวงแห่งชาติ (NHTSA) สังกัดกระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ (DOT) ได้เพิ่มข้อกำหนดการประหยัดเชื้อเพลิงเฉลี่ยขององค์กร (Corporate Average Fuel Economy) สำหรับรถยนต์ที่จะจำหน่ายในสหรัฐฯ ระหว่างปี 2027-2032 โดยกำหนดให้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลต้องมีอัตราการประหยัดเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นปีละ 2% รถบรรทุกขนาดเล็กต้องมีอัตราการประหยัดเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นปีละ 4% ส่วนรถกระบะและรถตู้บรรทุกหนักต้องมีอัตราการประหยัดเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นปีละ 10% ในระหว่างปี 2032-2035

ข้อกำหนดดังกล่าวจะทำให้ค่าเฉลี่ยการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในปี 2032 จะอยู่ที่ 24.65 กิโลเมตรต่อลิตร

ด้านคณะกรรมการทรัพยากรอากาศแคลิฟอร์เนีย ได้รับรองนโยบายที่จะนำไปสู่สังคมที่รถยนต์ไร้มลพิษ โดยเสนอแนวทางให้ผู้ผลิตที่จะจำหน่ายรถยนต์ในแคลิฟอร์เนีย ต้องมียอดจำหน่ายรถยนต์ ZEV หรือรถยนต์มลพิษเป็นศูนย์ และรถยนต์ PHEV หรือรถยนต์ไฮบริดแบบชาร์จไฟได้ ในสัดส่วน 35% ในปี 2026 และเพิ่มเป็น 68% ในปี 2030 และต้องมีต้องสัดส่วนการจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั้ง 100% ภายในปี 2035

พร้อมกำหนดให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ PHEV ต้องมีไม่เกิน 20% ของยอดขายทั้งหมด นอกจากนี้ รถยนต์ PHEV จะต้องออกแบบให้สามารถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในระยะทางไม่ต่ำกว่า 50 ไมล์หรือ 80 กิโลเมตร

สนับสนุน EV แต่ไม่ได้ทำหมันรถสันดาป

นโยบายดังกล่าวถูกมองจากหลายฝ่ายว่า เป็นการกดดันให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์หันไปพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือรถยนต์พลังงานทางเลือกโดยเฉพาะ เพราะมาตรฐานที่กำหนดไว้ ไม่มีทางทำได้จริงจากการใช้งานรถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงล้วน

อย่างไรก็ดี ความเห็นของผู้สันทัดกรณีมองว่า นโยบายดังกล่าวไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดรถยนต์สันดาปภายในออกไปจากตลาดยานยนต์ แต่เป็นการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ที่ช่วยประหยัดพลังงานและลดการก่อมลภาวะทางอากาศ

จอห์น เฮลเวสตัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการจัดการวิศวกรรมและวิศวกรรมระบบ มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน ชี้แจงว่า การออกข้อกำหนดให้ผู้ผลิตยานยนต์พัฒนาเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความสำคัญมานานแล้ว บริษัทผู้ผลิตมีทางเลือกในการผลิตรถยนต์ชนิดใด ๆ ก็ได้ที่ผ่านมาตรฐานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้

อาเธอร์ แวน เบนเธม รองศาสตราจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและนโยบายสาธารณะ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มองว่านโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ห้ามการจำหน่ายรถยนต์น้ำมันอย่างสิ้นเชิง เพราะรถยนต์ไฮบริดก็ยังขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน และยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่านโยบายเหล่านี้จะถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง

เคนเนธ กิลลิงแฮม ศาสตราจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมเศรษฐศาสตร์พลังงาน มหาวิทยาลัยเยล มองว่านโยบายจากทั้ง 3 หน่วยงานเป็นตัวเร่งให้ผู้ผลิตยานยนต์หันมาพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ห้ามผลิตรถยนต์น้ำมันโดยสิ้นเชิง นโยบายเหล่านี้กลับเปิดทางให้มีการพัฒนายานยนต์ที่สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.factcheck.org/2024/02/experts-say-proposed-vehicle-emissions-and-fuel-rules-not-an-epa-ban-on-gas-powered-cars/
https://apnews.com/article/vehicle-fuel-economy-requirement-nhtsa-epa-85e4c3b7bbba9a9a9b7e5b117fe099bd

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องบินโดยสาร อาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ตกในคาซัคสถาน

เครื่องบินโดยสารเอ็มบราเออร์ ของสายการบินอาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ที่บินจากอาเซอร์ไบจาน ไปยังประเทศรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุตกที่บริเวณใกล้กับเมืองอัคเทา ในคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 62 คน และลูกเรือ 5 คน บนเครื่อง เจ้าหน้าที่คาซัคสถานกล่าวว่า มีผู้รอดชีวิต 28 ราย