ชัวร์ก่อนแชร์: Manhattan Project และผลกระทบต่อเหยื่อผู้ถูกหลงลืม

23 สิงหาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ลอสอลาโมสในภาพยนตร์ Oppenheimer

ความโด่งดังของภาพยนตร์ Oppenheimer ทำให้การทดลองระเบิดนิวเคลียร์เมื่อปี 1945 กลับมาอยู่ในความสนใจของสาธารณชนอีกครั้ง แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ต่อผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องการละเลยผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่ทดสอบการจุดระเบิด ทั้งกลุ่มคนที่ถูกบังคับได้ย้ายถิ่นฐาน และกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่จุดระเบิดและต้องล้มป่วยจากการสัมผัสกัมมันตรังสี

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2023 ที่ Oppenheimer ออกฉาย อลิสซา วัลเดซ นักประพันธ์ชาวอเมริกัน ทวิตข้อความอ้างอิงบทความรีวิวหนัง Oppenheimer ของเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ New York Times โดยกล่าวหาว่า แต่เดิมห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ใกล้กับเมืองลอสอลาโมส รัฐนิว เม็กซิโก เป็นพื้นที่อาศัยของชุมชนชาวฮิสแปนิก แต่พวกเขาถูกบังคับให้ย้ายออกจากพื้นที่ในเวลาเพียงแค่ 24 ชั่วโมง เรือกสวนไร่นาที่ปลูกไว้ถูกทำลายจนสิ้น


การไล่ที่เพื่อทดสอบระเบิด

สถานที่ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเลือกสำหรับโครงการ Manhattan Project กำหนดว่าต้องมีขนาดประมาณ 50,000 เอเคอร์หรือประมาณ 200 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ราบ ห่างไกลชุมชน และมีทิศทางกระแสลมที่ง่ายต่อการคาดการณ์ จึงมีการเลือกเมืองลอสอลาโมส รัฐนิว เม็กซิโก เป็นสถานที่ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในปี 1942

แม้พื้นที่บางส่วนของลอสอลาโมสจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาล แต่ก็มีพื้นที่ที่เป็นของกลุ่มคนที่เรียกว่า Homesteaders หรือชาวบ้านที่ได้รับมอบพื้นที่จากรัฐบาลเพื่อทำเกษตรกรรมและปศุสัตว์


ชาวบ้านในเมืองลอสอลาโมส ได้รับมอบที่ดินตามพ.ร.บ. Homestead Act ครั้งแรกในปี 1887 โดยในปี 1942 ที่เริ่มโครงการวิจัยระเบิดนิวเคลียร์ ยังมีบ้านของ Homesteaders ตั้งอยู่ในพื้นที่ 12 หลัง และอีก 7 หลังเป็นของทายาทของ Homesteaders ที่ได้รับสิทธิ์รุ่นแรก

Homestead ในสหรัฐอเมริกาศตวรรษที่ 19

ในบทความรีวิวของหนังสือพิมพ์ New York Times อ้างคำบอกเล่าโดยทายาทของ Homesteaders ว่า ตอนนั้นชาวบ้านหลายรายถูกเจ้าหน้าที่รัฐบาลหลอกและบังคับให้ยอมย้ายบ้าน บางรายอ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธบังคับให้ลงชื่อยินยอม บางรายถูกหลอกให้ขึ้นรถของรัฐบาล แล้วถูกพาตัวออกจากพื้นที่โดยไม่มีโอกาสกลับมายังบ้านของตนเองอีกเลย

นอกจากนี้ ยังมีข้อกล่าวหาเรื่องการจ่ายเงินชดเชยการย้ายถิ่นฐานอย่างไม่เป็นธรรม

บนพื้นที่ของลอสอลาโมส มีสถานที่ 2 แห่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ของชาวอเมริกันผิวขาวได้แก่ Los Alamos Ranch School และ Anchor Ranch โดยเจ้าของพื้นที่ทั้ง 2 แห่งได้รับเงินชดเชยการย้ายถิ่นฐานที่ 225 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อเอเคอร์ และ 43 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อเอเคอร์ตามลำดับ

ต่างจากครอบครัวของชาวฮิสแปนิกที่ได้รับเงินชดเชยการย้ายถิ่นฐานน้อยกว่าชาวอเมริกันผิวขาวอย่างชัดเจน โดยบางรายได้รับเงินเพียง 7 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อเอเคอร์ ส่วนชาวบ้านบางรายก็ไม่ได้รับเงินเยียวยาแม้แต่น้อย

ในปี 2004 สภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติการก่อตั้งกองทุนมูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เพื่อหาเงินชดเชยให้กับลูกหลานของชาวอเมริกันเชื้อสายฮิสแปนิกที่ถูกไล่ที่ในโครงการ Manhattan Project แม้รัฐบาลจะยืนยันว่าไม่มีการใช้มาตรการผิดกฎหมายบังคับให้กลุ่มคน Homesteaders ย้ายออกไปจากลอสอลาโมส แต่ยอมรับว่ามีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อเจ้าของที่ดินชาวฮิสแปนิก ทั้งการขาดโอกาสว่าจ้างตัวแทนทางกฎหมาย และยังได้รับเงินชดเชยน้อยกว่าเจ้าของที่ดินรายอื่น ๆ

Trinity Site พื้นที่ทดสอบการจุดระเบิดนิวเคลียร์

ผู้ป่วยมะเร็งจากกัมมันตรังสี

ผลกระทบจากโครงการ Manhattan Project ยังส่งผลต่อประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง จากกัมมันตรังสีของการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์เมื่อ 78 ปีที่แล้ว

ทูลาโรซาเบซิน เมืองในรัฐนิว เม็กซิโก คือเมืองที่อยู่ไม่ไกลจาก Trinity Site พื้นที่ทดสอบการจุดระเบิดนิวเคลียร์ในเมืองโซคอร์โร รัฐนิว เม็กซิโก โดยตัวเมืองตั้งอยู่ในทิศทางใต้ลมจาก Trinity Site

อาชีพส่วนใหญ่ของชาวเมืองคือการทำปศุสัตว์และการทำสวน แหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคมาจากน้ำบาดาลและแหล่งน้ำธรรมชาติ

หลังการทดสอบจุดระเบิดนิวเคลียร์เสร็จสิ้นลงในวันที่ 16 กรกฎาคม 1945 ชาวเมืองทูลาโรซาเบซินพบฝุ่นปริมาณมากกระจายไปทั่วเมือง

คำชี้แจงของรัฐบาลในยุคนั้นอ้างว่า เสียงระเบิดและแสงสว่างที่มองเห็นได้ไกลกว่า 257 กิโลเมตร เป็นเพราะการระเบิดของคลังเก็บอาวุธ

กระทั่งข่าวการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองฮิโรชิมะและนางาซากิได้รับเผยแพร่ในวงกว้าง ชาวเมืองทูลาโรซาเบซินจึงได้รู้ว่า ฝุ่นที่กระจายไปทั่วเมืองและปนเปื้อนแหล่งน้ำของพวกเขา เป็นผลจากการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ข้อมูลจาก Manhattan Project National Historical Park รายงานว่า สารกัมมันตรังสีจาก Trinity Site ได้ลอยไปในชั้นบรรยากาศและตกลงในพื้นที่ที่มีความยาว 402 กิโลเมตร และกว้าง 322 กิโลเมตร บางส่วนสามารถลอยไปไกลถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ปริมาณกัมมันตรังสีเข้มข้นที่สุดจะอยู่ในบริเวณพื้นที่ 48 กิโลเมตรรอบ ๆ Trinity Site

หลายปีต่อมา พบว่าประชากรในเมืองที่อยู่ฝั่งใต้ลมของ Trinity Site ป่วยเป็นมะเร็งมากกว่าปกติ แต่กลายเป็นว่ากลุ่มคนเหล่านี้ กลับไม่มีสิทธิรับค่าชดเชยจากการสัมผัสกัมมันตรังสีโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ทีน่า คอร์โดบา ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Tularosa Basin Downwinders Consortium

การเรียกร้องความเป็นธรรม

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2023 มีการจัดงานรำลึก 78 ปีการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ Trinity Test ในนิว เม็กซิโกและนิวยอร์ก ซิตี้ ตัวแทนของชาวเมืองทูลาโรซา เบซินในชื่อ Tularosa Basin Downwinders Consortium ได้รวมตัวที่หน้าสถานที่จัดงานเพื่อประท้วงผู้สร้างภาพยนตร์ Oppenheimer ที่จงใจละเลยการถ่ายทอดชะตากรรมของชาวเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์

ทีน่า คอร์โดบา ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Tularosa Basin Downwinders Consortium ซึ่งเคยเป็นผู้ป่วยมะเร็ง กล่าวต่อสำนักข่าว AP ว่า เธอและลูกหลานของชาวเมืองทูลาโรซาเบซินที่ต้องป่วยด้วยโรคมะเร็งจากกัมมันตรังสีและไม่เคยได้รับความเหลียวแลจากรัฐบาล พวกเขาบุกรุกพื้นที่ของชาวเมืองแล้วจากไป ทิ้งให้ผู้คนต้องเผชิญกับผลลัพธ์จากการทดลอง จากนั้นก็มีการทำหนังเพื่อเชิดชูนักวิทยาศาสตร์ที่ผลิตระเบิดนิวเคลียร์ แต่ไม่กล่าวถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบแม้แต่น้อย นับเป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างมาก

ลิลลี อดัมส์ ตัวแทนจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ Union of Concerned Scientists ที่ร่วมเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชาวเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกากระทำในยุคนั้นไม่ต่างจากการวางยาพิษประชาชน การมาถึงของหนัง Oppenheimer น่าจะช่วยให้ชะตากรรมของเหยื่อการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์เป็นที่รับรู้ในวงกว้างมากขึ้น พร้อมย้ำว่าการเข้าใจมรดกที่ออปเพนไฮเมอร์มอบไว้แก่วงการวิทยาศาสตร์ได้อย่างสมบูรณ์ สังคมจำเป็นต้องรับรู้ชะตากรรมของผู้ป่วยและเสียชีวิตจากการทดสอบระเบิด รวมถึงอันตรายจากการคิดค้นอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.snopes.com/fact-check/manhattan-project-hispanos-forced-out/
https://apnews.com/article/oppenheimer-atomic-bomb-radiation-legacy-new-mexico-85d2b6f57395520a924dd44c492e4c56

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นักธุรกิจสาวแจ้งความทนายดัง “ฉ้อโกง” ฮุบเงิน 71 ล้าน

นักธุรกิจสาว อดีตลูกความทนายดัง แจ้งความถูกทนายดังฉ้อโกง ฮุบเงิน 71 ล้านบาท เผยถูกหลอกให้ลงทุนซื้อแพลตฟอร์ม “หวยออนไลน์”

สาวแจ้งความภรรยาอดีตบิ๊กตำรวจ ย่องลักทรัพย์ในคอนโดฯ

หญิงสาวแจ้งความภรรยาอดีตตำรวจยศนายพล แอบกิ๊กสามี แถมย่องลักทรัพย์ในคอนโดฯ มูลค่าหลายล้านบาท ด้านตำรวจเรียกผู้เสียหายสอบเพิ่ม พร้อมเก็บภาพวงจรปิดตรวจสอบแล้ว

“ทนายบอสพอล” มองยึดมือถือ พนง.ดิไอคอน เกินเส้นกฎหมาย

“ทนายบอสพอล” พาพนักงานดิไอคอน ลงบันทึกประจำวัน หลังตำรวจบุกค้น 11 จุด และยึดมือถือ มองว่าทำเกินกว่ากฎหมาย พร้อมฝากถึงศาลยุติธรรมในการออกหมายจับรอบ 2 เป็นห่วงสิทธิของทุกฝ่าย

ข่าวแนะนำ

สภาไม่รับข้อสังเกตรายงาน กมธ.ศึกษาแนวทางนิรโทษกรรม

สภาไม่รับข้อสังเกตรายงาน กมธ.ศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ส่งแต่ตัวรายงานให้ ครม. ด้านประธาน กมธ.ย้ำไม่มีเรื่องแก้ ม.112 เป็นเพียงเปิดทางรับทราบข้อเท็จจริง และสมัยประชุมหน้ามีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทางการเมืองรอ 4 ฉบับ