fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพระเบิดนิวเคลียร์เป็นของปลอม เพราะกล้องทนแรงระเบิดไม่ได้ จริงหรือ?

14 สิงหาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


บทสรุป :

  1. กล้องสำหรับถ่ายการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากรัศมีการระเบิด
  2. กล้องสำหรับถ่ายการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ได้รับการปกป้องจากกล่องป้องกันรังสี

ข้อมูลที่ถูกแชร์ :


มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา ที่อ้างว่าภาพระเบิดนิวเคลียร์จากการทดสอบโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาไม่มีทางเป็นของจริง เพราะกล้องและฟิล์มที่บันทึกภาพไม่สามารถทนแรงระเบิดอันมหาศาลของระเบิดนิวเคลียร์ หลักฐานคือความรุนแรงของระเบิดขนาดทำให้บ้านและรถยนต์พังทลาย ดังนั้นกล้องขนาดเล็กจึงไม่สามารถอยู่ในสภาพที่บันทึกเหตุการณ์ได้

โดยข้อมูลที่ถูกแชร์ อ้างอิงจาก The Joe Rogan Experience รายการพอดแคสต์ชื่อดังของ โจ โรแกน ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2023 โดยแขกรับเชิญวันนั้นได้แก่ มาร์ค แอนเดรสเซน ผู้พัฒนาเว็บเบราเซอร์รุ่นบุกเบิก และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริษัท Meta ได้แสดงความสงสัยว่า กล้องและฟิล์มที่บันทึกการทดสอบการระเบิดนิวเคลียร์สามารถทนแรงระเบิดและการแผ่รังสีของระเบิดนิวเคลียร์ได้อย่างไร

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


อลัน คาร์ นักประวัติศาสตร์อาวุโส ประจำศูนย์วิจัยและห้องปฏิบัติการ Los Alamos National Laboratory อธิบายว่า สาเหตุที่กล้องสามารถบันทึกการทดสอบการระเบิดนิวเคลียร์ได้ เพราะตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากรัศมีการระเบิด และได้รับการปกป้องจากกล่องป้องกันรังสี

เบอร์ลิน บริกเนอร์ ช่างภาพในการทดสอบ Trinity Test
ภาพจากการทดสอบ Trinity Test

Trinity Test

คือการทดสอบการจุดระบิดนิวเคลียร์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 1945 ที่ทะเลทรายในรัฐนิว เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา คือส่วนหนึ่งของ Manhattan Project โครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์เพื่อใช้สำหรับสงครามโลกครั้งที่ 2

การทดสอบครั้งนั้นมีการบันทึกภาพด้วยกล้องฟิล์มภาพยนตร์มากกว่า 40 ตัว แบ่งเป็นกล้องสำหรับบันทึกภาพระยะใกล้และระยะไกล

กล้องบันทึกภาพระยะไกล ถูกจัดอยู่ในบังเกอร์ที่ห่างจากจุดระเบิด (Ground Zero) ที่ 9,144 เมตร ส่วนกล้องระยะใกล้ห่างจากจุดระเบิดเพียง 731 เมตร เป็นกล้องที่ควบคุมจากระยะไกล และถูกบรรจุในกล่องโลหะเคลือบตะกั่ว เพื่อป้องกันกล้องและฟิล์มเสียหายจากรังสี

ภาพเสาสำหรับติดตั้งกล้องบันทึก
การทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ใน Operation Teapot

Operation Teapot

คือการทดสอบการจุดระเบิดนิวเคลียร์ 14 ครั้งในปี 1955 ที่รัฐเนวาดา ซึ่งเป็นช่วงที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตแข่งขันกันเป็นผู้นำด้านอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงสงครามเย็น

การทดสอบเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 1955 มีการสร้างเมืองจำลอง (Doom Town) ที่ทดสอบความเสียหายของบ้านเรือนหากมีการจู่โจมด้วยระเบิดนิวเคลียร์

โดยครั้งนั้น มีการใช้กล้องฟิล์มภาพยนตร์จำนวน 48 ตัวที่ควบคุมจากระยะไกลทั้งหมด โดยแบ่งกล้องสำหรับถ่ายทำนอกอาคารและภายในอาคาร

โดยกล้องถ่ายทำนอกอาคาร จะตั้งอยู่บนเสาที่มีความสูงประมาณ 3-5.5 เมตร เพื่อป้องกันฝุ่นควันจากแรงระเบิดบดบังทัศนวิสัย และตั้งห่างจากจุดระเบิดที่ระยะใกล้ประมาณ 838 เมตร และระยะไกลที่ประมาณ 3,200 เมตร ตัวกล้องบรรจุในกล่องโลหะเคลือบตะกั่วที่มีความหนา 2.5 นิ้ว เพื่อป้องกันรังสี

หลังความสำเร็จของโครงการ Manhattan Project มีการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ไปทั่วโลก กระทั่งมีการจำกัดการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในปี 1963 จากสนธิสัญญาห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์บางส่วน (Partial Test Ban Treaty: PTBT)

กระทั่งปี 1996 มีการลงนามในสนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty : CTBT) การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในหลายประเทศจึงยุติลง

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.politifact.com/factchecks/2023/jul/11/tweets/no-this-footage-doesnt-prove-nukes-are-fake-heres/
https://www.reuters.com/article/factcheck-cameras-nuclear-test/fact-check-surviving-cameras-do-not-prove-nuclear-tests-are-fake-idUSL1N39E29R
https://apnews.com/article/fact-check-nukes-fake-camera-conspiracy-rogan-742805510402
https://www.yahoo.com/lifestyle/real-trinity-test-filmed-photographed-110000779.html

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง