9 เทคนิคโน้มน้าวเหยื่อข่าวปลอมทางการเมืองภายในครอบครัว

26 พฤษภาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ผลสำรวจของรัฐวิสคอนซินพบว่า มีผู้คนถึง 1 ใน 5 ที่ยุติความสัมพันธ์กับเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว จากการโต้แย้งเกี่ยวกับการเลือกตั้งและประเด็นทางการเมือง บ่อยครั้งที่บทสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง พัฒนาเป็นการโต้แย้งระหว่างคนในครอบครัว และนำไปสู่ความบาดหมางที่ยากจะเยียวยา

หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ ได้หารือผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อแนะนำ 9 เทคนิคจำเป็นสำหรับการโน้มน้าวเหยื่อข่าวปลอมทางการเมือง เพื่อไม่ให้กระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว


1.เริ่มอย่างเป็นมิตร ไม่ใช่จ้องหาคนผิด

ไมค์ วากเนอร์ ศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ระบุว่า คนที่แชร์ข้อมูลเท็จ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คนเหล่านี้ไม่เชื่อทั้งสื่อกระแสหลักหรือข้อมูลจากพรรคการเมือง การจะชนะใจพวกเขา ควรเริ่มจากการพูดคุยทำความเข้าใจ ดีกว่าลงรายละเอียดเรื่องข้อเท็จจริง เพราะถ้าข้อเท็จจริงเปลี่ยนใจคนเหล่านี้ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งคุยให้เสียเวลาตั้งแต่แรก

2.อย่าใช้อารมณ์


เลทริเซีย โบด ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ผู้ศึกษาการรับมือข้อมูลเท็จ แนะนำให้ผู้อธิบายใช้วิธีละมุนละม่อม เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ข่าวปลอมข้อมูลเท็จถูกสร้างขึ้นเพื่อกระตุ้นความรู้สึกของผู้ฟังอยู่แล้ว

เราต้องทำให้ผู้ฟังเข้าใจถึงเจตนาที่ดีของข้อมูลที่นำเสนอ และระลึกเสมอว่า เราทุกคนต่างตกเป็นเหยื่อข่าวปลอมข้อมูลเท็จได้ทุกเมื่อ

3.อธิบายด้วยข้อความที่สั้นกระชับ

ในสถานการณ์ที่ต้องชี้แจงข้อมูลกับสมาชิกในครอบครัวทางห้องแชทออนไลน์ เลทริเซีย โบด แนะนำให้เขียนข้อความเท่าที่จำเป็น แล้วแนบลิงก์ที่น่าเชื่อถือเป็นตัวอธิบาย

4.”ไปฟังมาจากไหน”

จอห์น ซิลวา ผู้อำนวยการศูนย์ News Literacy Project ชี้แจงว่า แทนที่จะบอกคนฟังว่าเป็นฝ่ายผิด ควรถามว่าเค้าไปฟังเรื่องราวเหล่านั้นมาจากที่ไหน แล้วทำการแบ่งปันแหล่งข้อมูลที่เราได้รับ เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้องของแหล่งข้อมูล

5.ชี้แจงผลประโยชน์เบื้องหลังข่าวปลอม

ไมค์ วากเนอร์ อธิบายว่า ควรระบุให้ผู้ฟังเข้าใจว่า ใครคือผู้ได้ประโยชน์ หากความเข้าใจผิดแบบเดียวกันนี้ถูกเผยแพร่ในวงกว้าง

ให้เปรียบเทียบกับข้อมูลที่เผยแพร่จากสื่อกระแสหลัก เช่นสำนักข่าว ซึ่งมีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนเผยแพร่สู่สาธารณชน และมีบทลงโทษที่ชัดเจนหากนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ต่างจากสื่อที่เผยแพร่ข่าวปลอม ซึ่งผู้เผยแพร่ไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ หากพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลที่นำเสนอเป็นเรื่องไม่จริง

ดีน ฟรีลอน ศาสตราจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลนา อธิบายว่า ประชาชนควรรู้ว่าข้อมูลเท็จคือเครื่องมือสร้างกำไร ทั้งแก่ผู้ที่แชร์ข้อมูล และสื่อที่ใช้แชร์ข้อมูล ข้อมูลเท็จเป็นประโยชน์สำหรับนักเก็งกำไร แต่ส่งผลเสียต่อสังคมและประชาธิปไตย

6.อย่าหักล้างข้อมูลบนโต๊ะอาหาร

ผู้เชี่ยวชาญต่างลงความเห็นว่า สถานที่รวมตัวของสมาชิกทั้งครอบครัว ไม่ใช่ที่ ๆ ควรมีการโต้แย้งเรื่องข้อเท็จจริง

จอห์น ซิลวา ผู้อำนวยการศูนย์ News Literacy Project แนะนำให้มีการนัดคุยกันตัวต่อตัวที่ร้านกาแฟ จะดียิ่งกว่าถ้ารอให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้เปิดประเด็นด้วยตนเอง เพราะไม่มีใครอยากถูกตราหน้าว่าเป็นคนผิด การจะทำให้คนเหล่านั้นรู้ตัวว่ากำลังถูกใช้ประโยชน์จากข้อมูลเท็จจำเป็นต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป

7.ยืนยันความถูกต้องตั้งแต่ในห้องแชทของครอบครัว

เลทริเซีย โบด ศาสตราจารย์ ผู้ศึกษาการรับมือข้อมูลเท็จ ระบุว่าคนที่โน้มน้าวใจได้ยากที่สุด คือคนที่นำข้อมูลเท็จมาเผยแพร่เป็นคนแรกในครอบครัว วิธีแก้คือทำให้สมาชิกคนอื่น ๆ ในห้องแชทได้เห็นข้อมูลที่ได้รับการหักล้างข้อเท็จจริง เพราะมีหลักฐานพบว่า คนจะเชื่อข้อความเท็จลดลง หากเห็นว่าข้อมูลถูกนำเสนอโดยบุคคลที่มีประวัติเผยแพร่ข้อความที่ถูกหักล้างข้อเท็จจริงมาก่อน

เพื่อป้องกันการถูกมองว่ามุ่งแต่จับผิดทางออนไลน์ เลทริเซีย โบด แนะนำแนวทาง hybrid approach ด้วยการหักล้างข้อมูลทั้งออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันไป เพื่อลดความตึงเครียดจากการหักล้างข้อมูลทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว

8.พร้อมที่จะถอย

จอห์น ซิลวา ผู้อำนวยการศูนย์ News Literacy Project แนะนำว่า หากการสนทนาเริ่มกลายเป็นโต้แย้ง มันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างความเข้าใจเมื่อผู้สนทนาไม่พร้อมที่จะเปิดใจ

ไม่จำเป็นที่การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องจะสำเร็จในการสนทนาเพียงครั้งเดียว เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถโน้มน้าวใจได้ง่าย ๆ ต่อให้คำอธิบายสมบูรณ์แบบแค่ไหน ก็ไม่รับประกันว่าจะสามารถโน้มน้าวใจได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร

9.การเปลี่ยนใจต้องใช้เวลา

ดีน ฟรีลอน ศาสตราจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลนา ย้ำว่า การเปลี่ยนใจคนสามารถทำได้ แต่อาจจะไม่เกิดขึ้นจากการสนทนาเพียงรอบเดียว ทั้งหมดคือเกมที่ต้องใช้การวางแผนระยะยาว สำคัญที่สุดคือทำให้คู่สนทนามองเห็นว่า เรามีความจริงใจในการหักล้างความเข้าใจผิดของเขาอย่างแท้จริง

เมเดอลีน จาลเบิร์ต นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ผู้ศึกษาวิธีการตัดสินความถูกต้องของผู้รับสาร ชี้แจงว่า คนทุกคนล้วนมีจุดอ่อนต่อการหลงเชื่อความปลอมข้อมูลเท็จ เมื่อใครสักคนเริ่มเชื่อข้อมูลเท็จแล้ว การจะทำให้พวกเขาย้อนกลับไปยังจุดที่ไม่เคยเชื่อเรื่องเท็จเหล่านั้นเป็นเรื่องยากมาก มนุษย์แต่ละคนล้วนมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเป็นทุนเดิม และเป็นเรื่องยากที่จะทำให้คนเหล่านั้นเปลี่ยนใจหันมามองความเป็นจริงได้ง่าย ๆ

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.washingtonpost.com/wellness/2022/10/05/debunk-political-misinformation-advice/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยิงสส.กัมพูชา

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” ดับกลางกรุงเทพฯ

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ดับใกล้วัดดังกลางกรุง พบเหยื่อมีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลฮุนเซน

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม

ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา เพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม พร้อมกำหนดบทลงโทษหากพบเข้าไปข้องเกี่ยว

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา-วอศ.สระบุรี ชนะเลิศแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา และ วอศ.สระบุรี ชนะเลิศในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025 ณ เมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ข่าวแนะนำ

ภรรยา “ลิม กิมยา” ให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน

ภรรยา “ลิม กิมยา” ให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน รวมถึงดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารและการติดต่อรับศพนายลิม ที่แผนกนิติเวช รพ.วชิรพยาบาล

บอสแซมมิน

ยังไม่จบ! “แซม-มิน” ลุ้น DSI เห็นแย้งอัยการหรือไม่

แม้อัยการสั่งไม่ฟ้อง “บอสแซม-บอสมิน” แต่ดีเอสไอย้ำชัด คดียังไม่จบ มีเวลาอีก 30 วัน พิจารณาสำนวนที่ถูกตีกลับว่าจะเห็นแย้งคำสั่งหรือไม่ ส่วนประเด็น “บอสมิน” ไม่ถูกตัดผมขณะถูกคุมขัง ราชทัณฑ์มีคำตอบให้แล้ว

ยิงสส.กัมพูชา

ตร.ประสานอัยการ ยื่นขอศาลสืบพยานล่วงหน้าคดีลอบสังหารอดีต สส.กัมพูชา

ตร.ประสานอัยการ ยื่นขอศาลสืบพยานล่วงหน้าคดีลอบสังหารอดีต สส.กัมพูชา ขณะที่ตัว “จ่าเอ็ม” มือยิง คาดว่าจะยังไม่ส่งตัวกลับมาดำเนินคดีในไทยเร็วๆ นี้

burned houses alongside of road in Pacific Palisades

คนดังแห่อพยพออกจากบ้านในแอลเอ หนีไฟป่า

ผู้มีชื่อเสียงหลายคน รวมถึงคนในแวดวงบันเทิงฮอลลีวูดของสหรัฐ อยู่ในกลุ่มประชาชนหลายหมื่นคนที่ต้องอพยพออกจากบ้านเรือน หนีไฟป่าที่กำลังโหมไหม้เหนือการควบคุมรอบนครลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย