fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : สมาคมธนาคาร-สถาบันการเงิน พร้อมร่วมมือ ธปท. คุมเข้มป้องกันหลอกโอนเงิน

สมาคมธนาคารไทยและสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ แถลงยืนยันพร้อมปฏิบัติตามมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินของ ธปท. โดยจะทยอยปรับเปลี่ยนการบริการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรการภายในกรอบเวลา ยืนยันการจัดเก็บข้อมูลใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนจะอยู่ภายใต้กฎหมายและการรักษาความลับลูกค้า


กรุงเทพฯ 10 มี.ค. 66 – สมาคมธนาคารไทย และ สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ แถลงข่าวร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันความพร้อมดำเนินมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ทั้งการป้องกัน การตรวจจับ และการตอบสนองและรับมือ

โดย น.ส.สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า “ได้เชิญผู้บริหารของสถาบันการเงินเข้าร่วมประชุมหารือและกำชับให้สถาบันการเงินทุกแห่งเร่งดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว และเตรียมความพร้อมรองรับการดำเนินงานตาม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถาบันการเงินทุกแห่ง”


สำหรับมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ของ ธปท.จะแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ


1. ด้านการป้องกัน เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชน โดยการยกเลิกส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ จำกัดบัญชีผู้ใช้งาน Mobile Banking ของแต่ละสถาบันการเงิน ใช้ได้แค่ 1 บัญชีต่อ 1 สถาบันเท่านั้น มีการนำเทคโนโลยีเปรียบเทียบข้อมูลอัตลักษณ์ส่วนบุคคล (Biometrics) มาใช้ยืนยันตัวตนเมื่อต้องทำธุรกรรมผ่าน Mobile ฺBanking โอนขั้นต่ำ 50,000 บาท
2. ด้านการตรวจจับและติดตามบัญชี หรือธุรกรรมที่ต้องสงสัย เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยจำกัดความเสียหายได้ มีระบบตรวจจับ-ติดตามตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อระงับธุรกรรมที่กระทำผิดได้ทันที
3. ด้านการตอบสนองและรับมือ เพื่อจัดการปัญหาให้ผู้เสียหายได้เร็วขึ้น มีช่องทางติดต่อเร่งด่วนตลอด 24 ชั่วโมง แยกจากช่องทางบริการปกติ พร้อมทั้งสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่


นายผยง ศรีวณิช ประธานกรรมการสมาคมธนาคารไทย เผยว่า “สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก ตระหนักถึงผลกระทบของภัยคุกคามทางการเงินที่ทวีความรุนแรง พร้อมยกระดับความปลอดภัยของภาคธนาคาร เพื่อรับมือและจัดการภัยทางการเงินออนไลน์ ตามแนวทางการจัดการภัยทุจริตทางการเงินที่ได้มีการหารือร่วมกับทาง ธปท. ให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่

การป้องกัน ภาคธนาคารได้ร่วมมือกันงดการส่งข้อความ SMS ที่แนบลิงก์ในการติดต่อกับลูกค้าในระยะนี้ และเร่งพัฒนาระบบป้องกันการทำธุรกรรมทุจริตอย่างต่อเนื่อง

การตรวจจับ ธนาคารสมาชิกอยู่ระหว่างนำเทคโนโลยีมาช่วยตรวจจับธุรกรรมต้องสงสัยให้ได้โดยเร็ว โดยร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทุจริตในภาคธนาคาร (Central Fraud Registry) เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชี ธุรกรรมต้องสงสัย และบัญชีม้า ระหว่างธนาคาร เพื่อดำเนินการติดตามป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

การตอบสนองและรับมือ จัดให้มีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (Hotline) 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน เพื่อให้ลูกค้าที่ตกเป็นเหยื่อสามารถแจ้งเหตุได้โดยตรง ปัจจุบันมีธนาคารสมาชิกหลายแห่งเริ่มดำเนินการแล้ว”

“สำหรับมาตรการอื่นที่ระบบมีความซับซ้อนต้องใช้เวลาพัฒนา สมาคมฯ และธนาคารสมาชิกจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จทันตามกรอบเวลา นอกจากนี้ยังพร้อมร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet) ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทุจริตภัยการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทั้งระบบนิเวศแบบ end to end ที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอกลวง”



นายทวนทอง ตรีนุภาพ ผู้แทนสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ กล่าวว่า “เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของสถาบันการเงินของรัฐส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายย่อย ซึ่งมีความเสี่ยงถูกหลอกลวงสูง การดูแลความปลอดภัยในการใช้บริการทางการเงินให้กับลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ สมาคมฯ และสถาบันการเงินสมาชิกพร้อมให้ความร่วมมือกับ ธปท. และที่ผ่านมาได้มีแนวทางมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการไม่ส่งลิงก์ให้ลูกค้าและประชาชน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางพัฒนาระบบป้องกันในอนาคต ด้านการใช้เทคโนโลยีแก้ไขปัญหาทุจริตทางการเงิน จะเร่งพัฒนาระบบของธนาคารให้ดียิ่งขึ้น ให้ประชาชนใช้งานได้สะดวกและปลอดภัย”

“ในครั้งนี้ สมาคมฯ และสถาบันการเงินสมาชิกจะร่วมมือเร่งยกระดับการดำเนินการตามมาตรการของ ธปท. ให้ได้ตามกำหนดเวลา เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน เพราะภัยทุจริตมีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงเร็ว ขณะเดียวกันยังคงเดินหน้าให้ความรู้ ความเข้าใจ และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน ให้รู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพ และยังพร้อมร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว”


ทั้งนี้ ธปท. สมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ คาดว่าการออกมาตรการดังกล่าวจะทำให้ประชาชนรู้เท่าทันภัยไซเบอร์มากขึ้น และสามารถช่วยยกระดับการจัดการภัยทางการเงินของสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
ผู้สื่อข่าว : เบญจมา ส้มเช้า
พิสูจน์อักษร : แอนนา รักรอด

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง