กรมควบคุมโรค เปิดสูตรเด็ด “ 3 ป.” กำจัดโรคพิษสุนัขบ้า

กรุงเทพฯ 25 ก.ย.-กรมควบคุมโรค เปิดสูตรเด็ด “ 3 ป.” กำจัดโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งเป้าไทยปลอดโรคในอีก 4 ปี


วันที่ 28 ก.ย.ทุกปี เป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก กรมควบคุมโรคในฐานะภาคีเครือข่าย ร่วมรณรงค์ กระตุ้นเตือนประชาชนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์ เร่งสนองพระปณิธานของ ศ. ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ถึงแม้ว่าแนวโน้มปัญหาในไทยลดลงมาก แต่โรคนี้ไม่มียารักษา หากป่วยแล้วจะเสียชีวิตทุกราย จับมือกรมปศุสัตว์และเครือข่ายในโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานฯ วางแผนปีหน้าจะไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ แนะประชาชนร่วมกำจัดโรคโดยใช้สูตร 3 ป. คือป้องกันสัตว์เป็นโรค ป้องกันถูกกัดและป้องกันหลังถูกกัด ตั้งเป้าไทยปลอดโรคในพ.ศ.2568

วันนี้ (25 กันยายน 2564) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าวันที่ 28 กันยายนทุกปี องค์กรรณรงค์ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าโลก (Global Alliance for Rabies Control) กำหนดให้เป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies Day) เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทั่วโลก รู้ถึงความรุนแรงของโรคนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มียารักษา หากป่วยแล้วจะเสียชีวิตทุกราย ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ปีละ 49,000 ราย ร้อยละ 40 เป็นเด็ก ในปีนี้ได้กำหนดประเด็นรณรงค์ว่า “กลัวโควิด อย่าลืมพิษสุนัขบ้า ไม่ตระหนก แต่ต้องตระหนัก” (Rabies: Facts Not Fear)


นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ สถานการณ์ของไทยขณะนี้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้เสียชีวิตในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาลดลงพบปีละ 3-4 ราย สาเหตุเกิดจากถูกสุนัขกัดและมากกว่าครึ่งเป็นสุนัขที่มีเจ้าของ ที่สำคัญผู้เสียชีวิตทุกรายไม่ได้ไปฉีดวัคซีนหลังจากถูกสัตว์กัดหรือข่วน ในการแก้ปัญหานี้ กรมควบคุมโรคได้ร่วมมือกับกรมปศุสัตว์และเครือข่าย ดำเนินงานภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานฯ เป้าหมายสำคัญคือป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าอย่างยั่งยืน โดยในปีงบประมาณ 2565 นี้ ตั้งเป้าไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ พร้อมทั้งเตรียมประเมินอำเภอที่ไม่พบผู้เสียชีวิตและไม่พบสัตว์ป่วย ให้เป็นอำเภอปลอดโรคซึ่งขณะนี้มีประมาณ 600 อำเภอ ใน 59 จังหวัด โดยตั้งเป้าเป็นประเทศปลอดโรคให้สำเร็จภายในพ.ศ. 2568 เร็วกว่าข้อตกลงในระดับภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมไทยด้วยที่ตั้งเป้ากำจัดโรคนี้ให้หมดภายในพ.ศ. 2573 โดยหัวใจความสำเร็จการแก้ไขปัญหานี้คือความร่วมมือของประชาชนและภาคประชาสังคม

“โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่ป้องกันได้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ การสร้างความตระหนักรู้ป้องกันตนเองอย่างถูกต้องหลังจากสัมผัสเชื้อโรค เนื่องจากโรคนี้ไม่ได้แสดงอาการทันทีหลังถูกสัตว์กัด อาจต้องรอเวลาระยะฟักตัวของโรคกว่าจะแสดงอาการโดยเฉลี่ยประมาณ 3.7 เดือน เมื่อแสดงอาการป่วยแล้ว จะไม่มีทางรักษา จะเสียชีวิตทุกราย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมโดยเร็ว” นายแพทย์โอภาสกล่าว

นายแพทย์โอภาสกล่าวต่อว่า ประชาชนทุกคนสามารถร่วมมือร่วมใจกันกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยได้ โดยใช้หลัก 3 ป. ดังนี้ ป.ที่ 1 คือ ป้องกันสัตว์เป็นโรค โดยการนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เริ่มฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 2-4 เดือน และฉีดซ้ำตามกำหนดทุกปี ทำหมันสุนัขถาวรเพื่อไม่ให้มีจำนวนมากเกินความต้องการ จะช่วยลดสุนัขจรจัด และหากพบสัตว์ตายผิดปกติ ขอให้ส่งซากสัตว์ไปตรวจหาเชื้อซึ่งปัจจุบันสามารถส่งได้ทั้งตัวไม่ต้องตัดหัว ผู้ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่งตรวจได้ที่สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ในต่างจังหวัดส่งที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและอำเภอ


ป.ที่ 2 คือ ป้องกันการถูกกัด ไม่ปล่อยสุนัขหรือแมวออกนอกบ้านตามลำพัง หากต้องพาออกไปนอกบ้านให้ใส่สายจูง นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถหลีกเลี่ยงการถูกกัดโดยยึดคาถา 5 ย. คือ 1.อย่าแหย่ให้สุนัขโมโห โกรธ 2.อย่าเหยียบหาง หัว ตัว ขา หรือ ทำให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆ ตกใจ 3.อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า 4.อย่าหยิบชามข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกินอาหาร และ 5.อย่ายุ่งหรือเข้าใกล้กับสุนัขที่ไม่มีเจ้าของหรือไม่ทราบประวัติ

ป.ที่ 3 ป้องกันหลังถูกกัด โดยรีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่อย่างเบามือนานอย่างน้อย 10 นาที เพื่อกำจัดเชื้อออกไปให้มากที่สุด จากนั้นใส่ยาฆ่าเชื้อที่บาดแผล และกักสุนัขเพื่อดูอาการ 10 วัน หากสุนัขตายให้ส่งตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และไปพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ควรฉีดให้ครบชุดและตรงตามแพทย์นัด อาจท่องจำง่ายๆ คือ “ล้างแผล ใส่ยา กักหมา หาหมอ และฉีดวัคซีนให้ครบ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้

สำหรับกิจกรรมวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลกในวันที่ 28 กันยายน 2564 ในส่วนกลาง กรมควบคุมโรคได้ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาเรื่องความรู้การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในรูปแบบออนไลน์ ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารได้ผ่านทาง Facebook วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก ส่วนในต่างจังหวัดจะมีการรณรงค์ออกหน่วยเคลื่อนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สุนัข แมว และทำหมันสุนัขโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อขอให้ติดคุกจริง

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่น

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่นคนอายุ 60+ ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ว

“จิรายุ” ย้ำเงินหมื่นเฟส 2 มอบคนอายุ 60+ รัฐบาลพร้อมโอนไม่มีเปลี่ยนแปลงแล้ววันจันทร์ที่ 27 ม.ค.นี้แน่นอน สามารถตรวจสอบสิทธิ์ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ววันนี้ ส่วนคนไม่มีสมาร์ทโฟนฝากลูกหลานช่วยด้วย

นายกฯหารือบริษัทยา

นายกฯ ถกบริษัทยา Astrazeneca พร้อมร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในไทย

บริษัทยาระดับโลก Astrazeneca หารือ นายกฯ ยืนยันไทยยังเป็นพันธมิตรที่ดีมายาวนาน พร้อมร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ นายกฯ มั่นใจการแพทย์ของไทยติดระดับในโลก ยืนยันหลายประเทศทั่วโลกบินมารักษาในประเทศไทยจำนวนมาก

ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 60 จังหวัด สูงต่อเนื่องถึง 27 ม.ค.

กรมควบคุมมลพิษ เผยวันนี้ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 60 จังหวัด สูงต่อเนื่องถึง 27 ม.ค. ประสานทุกหน่วยงานยกระดับการแก้ไขปัญหา พร้อมเตือนประชาชนเฝ้าระวังสุขภาพและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข