สธ.19 ก.ค.-กรมควบคุมโรค เผย 4 ผลการศึกษาการใช้วัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกาในพื้นที่จริง ระบุฉีดซิโนแวค 2 เข็มสามารถป้องกันโควิดได้ร้อยละ90 และป้องกันปอดอักเสบรุนแรงได้ร้อยละ 85
นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค เปิดเผยผลการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีการนำมาใช้จริงในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งหมด 4 การศึกษาหลัก โดยเป็นการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนในกลุ่มผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อและมีความเสี่ยงสูง และกลุ่มของบุคลาการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ที่มีการระบาด และที่มีการติดเชื้อโควิดในช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน ทั้งในพื้นที่ภูเก็ต สมุทรสาคร เชียงราย และในพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งมาจากฐานข้อมูลของกรมควบคุมโรคดำเนินการ
ในการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนในพื้นที่จริงที่ภูเก็ต ซึ่งเริ่มมีการฉีดวัคซีนตั้งแต่เดือนเมษายน และยังพบผู้ติดเชื้ออยู่ ได้มีการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ทั้งหมดกว่า 1,500 ราย พบมีคนที่ติดเชื้อ 124 ราย พบว่าประสิทธิผลของวัคซีน อยู่ที่ระดับร้อยละ 90.7
ส่วนที่ สมุทรสาคร ที่มีการออกแบบการศึกษาในลักษณะเดียวกันกับที่ภูเก็ต ในผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกว่า 500 ราย พบติดเชื้อ 116 ราย เมื่อเปรียบเทียบคนที่รับวัคซีน 2 เข็ม ในกลุ่มผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูง เปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ในกลุ่มผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูง พบว่า ประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อ อยู่ที่ระดับร้อยละ 90.5
ถ้าดูการศึกษาวัคซีนของทั้ง2จังหวัดนี้ ซึ่งทำการศึกษาในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม ซึ่งส่วนใหญ่ในขณะนั้นจะเป็นการระบาดของสายพันธุ์อัลฟาแทบทั้งหมด พบว่าประสิทธิผลของวัคซีนซิโนแวค ก็มีประสิทธิผลดีพอสมควร ในสนามจริงอยู่ที่ร้อยละ90 ซึ่งผลการศึกษานี้ดีกว่าผลการศึกษาจริงในประเทศอื่น อย่างเช่น ที่บราซิล และตุรกี ซึ่งพบประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 50-70 ซึ่งตอนนี้ก็เป็นคนละสายพันธุ์กับในไทย
อีก 2 ผลการศึกษา ของที่เชียงราย พบเหตุการณ์การระบาดในกลุ่มบุคลากรด้านสุขภาพ ตอนนี้มีการติดเชื้อ และตรวจบุคลากรที่มีความเสี่ยงไปเกือบ 500 ราย พบติดเชื้อ 40 ราย และจากการสอบสวนการระบาดที่เชียงราย ที่เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ช่วงนั้นยังเป็นการระบาดของสายพันธ์อัลฟา ผลการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างคนที่ติดเชื้อในกลุ่มคนที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มครบ ประสิทธิผลอยู่ที่ร้อยละ 88.8 ประสิทธิผลในการป้องกันปอดอักเสบอยู่ที่ร้อยละ 85 ซึ่งค่าในการป้องกันก็ไม่ได้แตกต่างจากการศึกษาที่ภูเก็ตและสมุทรสาคร แต่ที่เชียงราย มีบุคลากร 50 ราย ที่ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา 1 เข็ม ครบ 14 วันด้วย ในกลุ่มนี้พบว่า สามารถป้องกันการติดเชื้อได้เช่นกัน ประสิทธิผลอยู่ที่ร้อยละ 83.8 เป็นเครื่องยืนยันว่า วัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม และแอสตราเซเนกา 1 เข็ม ก็สามารถช่วยลดการติดเชื้อและการอาการปอดอักเสบได้
ขณะที่ผลการศึกษาที่นำมาจากฐานข้อมูลของทั้งประเทศ จากกลุ่มบุคลากรด้านสุขภาพที่ติดเชื้อโควิด พบว่าจากฐาน ข้อมูลการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยเปรียบเทียบกับข้อมูลการฉีดวัคซีนของประเทศ พบว่าในเดือนพฤษภาคม ซึ่งสายพันธุ์ที่ระบาดทั้งประเทศยังเป็นสายพันธุ์อัลฟา พบว่า ประสิทธิผลของการฉีดซีนซิโนแวค 2 เข็ม อยู่ที่ร้อยละ 71 ส่วนช่วงเดือนมิถุนายน ที่เริ่มมีการระบาดของเชื้อเดลตาแต่ยังอยู่ที่ร้อยละ 20-30 จนถึงร้อยละ40 ของภาพรวมทั้งประเทศ พบว่าประสิทธิผลของวัคซีนในภาพรวมก็อยู่ที่น้อยละ 75 ไม่ได้ลดลงไป
ประสิทธิผลของวัคซีนวิโนแวคจากในสนามจริง ยังคงที่อยู่ วัคซีนทุกตัวมีความปลอดภัย แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสที่ระบาด และความเสี่ยง ว่ามีความเสี่ยงสูงมากหรือน้อย แต่ในแง่ของประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 90 ส่วนเรื่องปอดบวดอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ระดับร้อยละ85 ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจว่า วันซีน CoronaVac ไม่ใช่ไม่มีประสิทธิภาพ และแม้ขณะนี้ไทยจะมีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา ซึ่งก็มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง สาเหตุที่ขณะนี้ต้องคาดการณ์ล่วงหน้าและปรับวิธีการฉีดวัคซีนล่วงหน้า เนื่องจากผลทางห้องปฏิบัติการในการที่ติดตาม ดูแล้วถ้าใช้วัคซีนแบบเชื้อตายอย่างเดียว ประสิทธิผลอาจจะได้ไม่สูงมากนัก แม้ว่าข้อมูลที่ใช้ในสนามจริงยังไม่บ่งบอก ฉะนั้นนโยบายของการฉีดวัคซีน จึงต้องใช้วัคซีนที่มีอยู่ ทั้งซิโนแวค แอสตราเซเนกา และวัคซีนอื่นๆ ที่กำลังจัดหาเพิ่ม มาช่วยเพิ่มประสิทธิผลของวัคซีนให้ได้ดีที่สุด ขอให้มั่นใจว่าการใช้วัคซีนเชื้อตายในขณะนี้ก็ยังได้ผลดีอยู่จากผลการศึกษาที่ได้มาจากพื้นที่จริง.-สำนักข่าวไทย