ชิลีเผยผลฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
ชิลีเผยผลการศึกษาการฉีดวัคซีนกระตุ้นทำให้จำนวนผู้ป่วยโควิดในโรงพยาบาลลดลง โดยประชากรมากกว่า 3.6 ล้านคน ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น
ชิลีเผยผลการศึกษาการฉีดวัคซีนกระตุ้นทำให้จำนวนผู้ป่วยโควิดในโรงพยาบาลลดลง โดยประชากรมากกว่า 3.6 ล้านคน ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น
วัคซีนบริจาค 415,000 โดสของออกซฟอร์ด-แอสตราเซเนกา เดินทางจากสหราชอาณาจักร ถึงประเทศไทยแล้ว เมื่อคืนนี้ (3 ส.ค.) เวลา 21.00 น.
สธ.19 ก.ค.-กรมควบคุมโรค เผย 4 ผลการศึกษาการใช้วัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกาในพื้นที่จริง ระบุฉีดซิโนแวค 2 เข็มสามารถป้องกันโควิดได้ร้อยละ90 และป้องกันปอดอักเสบรุนแรงได้ร้อยละ 85 นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค เปิดเผยผลการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีการนำมาใช้จริงในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งหมด 4 การศึกษาหลัก โดยเป็นการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนในกลุ่มผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อและมีความเสี่ยงสูง และกลุ่มของบุคลาการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ที่มีการระบาด และที่มีการติดเชื้อโควิดในช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน ทั้งในพื้นที่ภูเก็ต สมุทรสาคร เชียงราย และในพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งมาจากฐานข้อมูลของกรมควบคุมโรคดำเนินการ ในการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนในพื้นที่จริงที่ภูเก็ต ซึ่งเริ่มมีการฉีดวัคซีนตั้งแต่เดือนเมษายน และยังพบผู้ติดเชื้ออยู่ ได้มีการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ทั้งหมดกว่า 1,500 ราย พบมีคนที่ติดเชื้อ 124 ราย พบว่าประสิทธิผลของวัคซีน อยู่ที่ระดับร้อยละ 90.7 ส่วนที่ สมุทรสาคร ที่มีการออกแบบการศึกษาในลักษณะเดียวกันกับที่ภูเก็ต ในผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกว่า 500 ราย พบติดเชื้อ 116 ราย เมื่อเปรียบเทียบคนที่รับวัคซีน 2 เข็ม ในกลุ่มผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูง เปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้รับวัคซีน […]
สำนักข่าวไทย 16 ก.ค.-ปลัด สธ.เร่งทำหนังสือแจ้งสถานพยาบาล ให้สามารถดำเนินการฉีดวัคซีนชนิดซิโนแวค เข็ม 1 แอสตราฯ เข็ม 2 ได้ทันที พร้อมบูสเตอร์โดสเข็ม 3 ให้หมอพยาบาล นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ปลัด สธ.) กล่าวถึงกรณีการใช้วัคซีนสลับชนิด ว่า ขณะนี้กำลังเร่งออกหนังสือจากกระทรวงสาธารณสุข ส่งไปยังสถานพยาบาลต่างๆ ให้รับทราบแนวทางการใช้อย่างชัดเจน โดยหลักการคือ จะให้ใช้ใน 2 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย 1.วัคซีนซิโนแวคเข็มที่ 1 และตามด้วยวัคซีนแอสตราเซเนกาเข็มที่ 2 ห่างกันประมาณ 3-4 สัปดาห์2.วัคซีนแอสตราเซเนกา เข็มที่ 1 และแอสตราฯเข็มที่ 2 ส่วนกรณีการฉีดวัคซีนซิโนแวคและซิโนแวคนั้น ขึ้นอยู่กับกรณีไป เช่น ผู้มารับบริการฉีดอาจขอฉีดซิโนแวค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดสามารถดำเนินการฉีดได้ในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป การดำเนินการนี้ ทำตามข้อมูลทางหลักวิชาการเพื่อนำมารองรับกรณีสายพันธุ์เดลตา แต่หากมีสายพันธุ์อื่นๆ หรือมีวัคซีนชนิดอื่นๆมาก็ต้องปรับเปลี่ยนอีก ส่วนกรณีบูสเตอร์โดส ทางกระทรวงสาธารณสุขจะมีหนังสือแจ้งการฉีดดังกล่าว […]
ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ มีมติให้ฉีดวัคซีนเข็ม 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์เป็นวัคชีนแอสตราเซเนกา ซึ่งปลัดกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่ามีผลการศึกษาจากหลายหน่วยงานที่เริ่มใช้สูตรผสมแล้วมีประสิทธิภาพ
“นพ.ยง”เผยสายพันธุ์เดลตาลดประสิทธิภาพวัคซีน การศึกษาของศูนย์ฯ พบการให้วัคซีนซิโนแวคเข็มแรก และเข็ม 2 เป็นแอสตราฯ ภูมิต้านทานสูงขึ้นกว่าการให้ซิโนแวค 2เข็มประมาณ 8 เท่า และมีเปอร์เซนต์การขัดขวางไวรัสสูงถึง 95% INHIBITION มากกว่า95% และถ้าให้ซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วยกระตุ้นแอสตราฯ ผลภูมิต้านทานทานจะสูงขึ้นไปอีกมาก (มากกว่า 30 เท่า)
กรุงเทพฯ 9 ก.ค.- “นพ.ธีระวัฒน์” เปิดข้อมูลการศึกษาเบื้องต้นของทีมนักวิจัยไวรัสวิทยาไบโอเทค , ศูนย์ฯโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์จุฬาฯ และสถาบันโรคทรวงอก แม้ยังไม่มีวัคซีน mRNA แต่สำหรับบุคลากรด่านหน้า ซึ่งได้รับซิโนแวคเป็นส่วนมาก แต่ระดับการป้องกันขณะนี้คงไม่เพียงพอต่อไวรัสกลายพันธุ์เดลตา การใช้แอสตราฯ เป็นเข็มกระตุ้นน่าจะเพียงพอให้ปลอดภัย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เรื่อง เปิดผลการศึกษาขั้นต้น วัคซีนที่มีในไทย สูตรไหนใช้ต่อกร Covid สายพันธุ์เดลตาได้ โดยมีรายละเอียดว่า “ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยไวรัสวิทยา BIOTEC , ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ สถาบันโรคทรวงอก ในขณะที่วัคซีนชนิดอื่นๆเช่น mRNA ,Protein subunit ยังไม่มีการบริหารวัคซีนที่มี2 ชนิด คือ Sinovac […]
สธ. 6ก.ค.-“นพ.อุดม”รับพิจารณาวัคซีนเข็ม 3ให้หมอพยาบาลก่อน ทั้งไฟเซอร์ แอสตราฯ เล็งใช้วัคซีนบริจาคไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส เนื่องจากเด็กติดเชื้อน้อย ขณะที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องแห่จองเข็ม3 วัคซีน m-RNA เพราะอาจได้วัคซีนรุ่นเก่า อดใจรอของใหม่พัฒนาปลายปี ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร รองประธานที่ปรึกษา ศบค.กล่าวถึงวัคซีนบริจาคไฟเซอร์ ที่จะได้รับจากสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส ว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะมาถึงเมื่อไหร่และจำนวนเท่าใดแต่ที่แน่ชัดว่าวัคซีนดังกล่าวจะไม่ได้นำมาฉีดให้กับกลุ่มเด็กอายุ12-17 ปีอีกต่อไป แต่จะนำมาฉีดให้กับบุคลากรทางแพทย์ก่อน อาจเป็นวัคซีนเข็ม 3 (บูสเตอร์โดส)แทน อีกทั้งข้อมูลอัตราการป่วยและติดเชื้อในเด็กมีน้อยกว่าผู้ใหญ่ และป่วยไม่รุนแรง จึงจะนำมาฉีดให้กับบุคลากรทางแพทย์ด่านแทน เพื่อลดอัตรการป่วยและเสียชีวิต แต่ก็ยอมรับในทั่วโลกขณะนี้มีปัญหาเรื่องวัคซีนชนิด m-RNA มี ผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งทาง CDC สหรัฐอเมริกา ออกมาเผยรายงานว่ามีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 1,000 คน ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าวว่า ในการพิจารณาวัคซีนเข็ม 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์จะใช้ข้อมูลจาก การศึกษาวิจัยของศิริราชพยาบาล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะมีการศึกษาต้องการฉีดวัคซีนสลับชนิดกับระหว่างเชื้อตายและไวรัลเวกเตอร์ เพื่อพิจารณาว่า การชนิดวัคซีนสลับชนิด แบบไหนสร้างภูมิคุ้มกันมากที่สุด […]
รพ.ศิริราช ประกาศเลื่อนฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เร็วขึ้นเป็น 12 สัปดาห์ตามประกาศ คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ