สธ.6 พ.ย.-อธิบดีกรมควบคุมโรค แจงลดกักตัว 10 วัน ทำในกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำกว่าไทยหรือเทียบเท่า หากพบป่วยเกิน 50 คนต้องปรับกลับมา 14 วัน พร้อมแจงเกณฑ์เทียบเคียงประเทศเสี่ยงต่ำ เสี่ยงสูง ขณะที่ผลสอบสวนโรค หญิงฝรั่งเศสคาดติดจากพื้นที่ส่วนกลาง
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาการอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มาตรการลดการกักตัว 10วัน ขณะนี้เตรียมเสนอให้ ศบค. ชุดใหญ่พิจารณา โดยการลดการกักตัวนี้จะทำในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือมีความเสี่ยงใกล้เคียงกับไทย ซึ่งต้องมีการพิจารณาประเมินประเทศต่ำ เป็นรายสัปดาห์ เบื้องต้น พิจาณาลดการกักตัวใน 4 ประเทศก่อน ได้แก่ จีน มาเก๊า ไต้หวันและเวียดนาม พร้อมเปลี่ยนการตรวจหาเชื้อจากเดิม 2 ครั้ง เป็นการตรวจหาเชื้อด้วย วิธี RT-PCR 3 ครั้ง และตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกัน 2 ครั้ง โดยเป็นการตรวจเลือดหาระบบภูมิคุ้มกัน ทั้ง IgM และIgG จากนั้นในวันที่ 11-14 ต้องมีการติดตามด้วยระบบแอปพลิเคชัน ของกระทรวงดิจิทัลฯ
พร้อมย้ำว่าในกระบวนการลดการกักตัวนี้ จะต้องมีการประเมินผล เพื่อให้เกิดการรองรับกับสถานพยาบาล โดยหากพบว่า มีอัตราผู้ป่วยใหม่รายวันเพิ่มขึ้นวันละ 50 คนก็จะต้องกลับทบทวนและกลับมากักตัว14วันตามเดิม
นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 10เดือนที่ผ่านมาเชื่อว่าคนส่วนใหญ่เริ่มรู้จักเชื้อโควิด -19 พอสมควร โดยการลดการกักตัวผู้ที่เดินทางเข้าประเทศจากเดิม 14 เหลือ10 วัน ใช้อ้างอิงตามหลักวิชาการประกอบ พบว่าเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการในช่วงวันที่ 5-7ซึ่งการลดการกักตัวนี้ไม่ใช่จะทำในทุกประเทศเหมือนกันหมด แต่จะทำให้กลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยข้อมูลจากจากการประเมินความเสี่ยงของประเทศที่เดินทางเข้าไทย พบว่ากลุ่มประเทศที่มีอัตราเสี่ยงต่ำน้อยว่าไทย มีอัตราการติดเชื้อน้อยกว่า 60 คน ต่อ 1 ล้านประชากร ได้แก่ ไต้หวันและเวียดนาม
ส่วนประเทศที่มีอัตราเสี่ยงเท่ากับไทย มีอัตราป่วย 60 คน ต่อ1ล้านประชากร ได้แก่ จีน มาเก๊า ส่วนกลุ่มประเทศที่มีอัตราติดเชื้อมากกว่าไทย แบบ +1พบผู้ป่วยได้ 1,000 คนต่อ 1 ล้านประชากรได้แก่ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ขณะที่กลุ่มประเทศ ที่มีอัตราการติดเชื้อมากกว่าไทยแบบ +2 และมีอัตราป่วย 10,000 คนต่อ 1 ล้านประชากร ได้แก่ รัสเซีย อิตาลี และสิงคโปร์ ส่วนประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อมากกว่าไทย แบบ+3 และมีอัตราป่วยติดเชื้อมากกว่า 20,000 คนต่อ1 ล้านประชากรได้แก่ สหรัฐ บราซิล และฝรั่งเศส
นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับการตรวจหาเชื้อ ในกรณีกักตัว 10 วัน ด้วย วิธี RT-PCR จะตรวจ 3 ครั้ง ในวันแรกรับ ,วันที่ 5 และวันที่9 ส่วนก่อนเข้าไทย ยังเหมือนเดิม ทั้งมีการตรวจวัดไข้ และตรวจเอกสาร มีการทำประกันสุขภาพ ไว้ ส่วนการออกนอกพื้นที่กักตัวหลังครบ 10 วัน ต้องมีการติดตามด้วยระบบแอปพลิเคชัน และมีการสวมหน้ากาอนามัย หมั่นล้างมือ เลี่ยงการเดินทางสถานที่แออัด
นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับการตรวจหาเชื้อ ในกรณีกักตัว 10 วัน ด้วย วิธี RT-PCR จะตรวจ 3 ครั้ง ในวันแรกรับ ,วันที่ 5 และวันที่9 ส่วนก่อนเข้าไทย ยังเหมือนเดิม ทั้งมีการตรวจวัดไข้ และตรวจเอกสาร มีการทำประกันสุขภาพ ไว้ ส่วนการออกนอกพื้นที่กักตัวหลังครบ 10 วัน ต้องมีการติดตามด้วยระบบแอปพลิเคชัน และมีการสวมหน้ากาอนามัย หมั่นล้างมือ เลี่ยงการเดินทางสถานที่แออัด
พญ.วลัยรัตน์ ไชยฟู ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการสอบสวนโรคในรายหญิงฝรั่งเศส พบว่ามีความเชื่อมโยงกับ ผู้ป่วยอีก 2 คนที่รับการกักตัวใน ASQ ที่ จ.สมุทรปราการ โดยทั้ง 3 คน พักอยู่ในชั้น 6 ของโรงแรมด้วยกัน และมีห้องพักติดกัน ได้แก่ ห้อง 607,609 และ 631 โดยช่วงเวลาที่จะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน คือในช่วงวันที่ 12-15 ต.ค.63 และผลการตรวจในห้องปฏิบัติการณ์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า เป็นสายพันธุ์เดียวกัน และมีลักษณะส่วนใหญ่เหมือนกัน ส่วนเชื้อที่พบในฟิตเนสนั้น เป็นซากเชื้อที่ไม่สามารถแพร่โรคได้ ถือว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
สำหรับการตรวจหาจุดเชื่อมโยงของการติดตาม ทั้งระบบแอร์ ปรับอาการ และน้ำทิ้งในโรงแรมไม่เกี่ยวข้อง แต่มีจุดเดียวที่สันนิษฐานคาดว่า น่าจะเกี่ยวข้องได้แก่ การใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน ที่เปิดประตูห้องออกมาก ทำให้ลมในห้องพัดจากด้านในออกมาด้านนอก ซึ่งมีพื้นที่ส่วนกลาง ระยะ ห่างแค่ 1.8 เมตร หน้าห้องมีโต๊ะอาหารวางอยู่ จึงอาจเกี่ยวข้องได้ เพราะเมื่ออากาศนิ่งเชื้อโควิดสามารถลอยอยู่ในอากาศได้ 3 ชั่วโมง โดยหญิงฝรั่งเศสพักในห้อง 607 ส่วนผู้ป่วยรายแรกที่เข้าพัก อยู่ห้อง 631 อย่างไรก็ตาม ต้องมีการสอบสวนโรคเพิ่มอีกครั้งและสถานที่กักตัวต้องเข้มเรื่องการทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลาง .-สำนักข่าวไทย