ปิดฉากการประชุม BIMSTEC

ทำเนียบ 5 เม.ย.-ปิดฉากการประชุม BIMSTEC 7 ชาติ สะท้อนการขับเคลื่อนความร่วมมือในภูมิภาคอย่างเข้มแข็ง ทั้งการค้าการลงทุน การคมนาคมสำคัญระหว่างอ่าวเบงกอลสู่ไทย รวมทั้งการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติระหว่างประเทศบรรลุผล

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปภาพรวมผลสำเร็จของประเทศไทย ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 6 หรือประเทศอนุภูมิภาคอ่าวเบงกอล7ประเทศ ตั้งแต่วันที่ 3 -4 เม.ย. 68 โดยที่ ประชุมเปิดเวทีให้ผู้นำจาก 7 ประเทศสมาชิกร่วมถกประเด็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ดิจิทัล การบริหารจัดการภัยพิบัติ และปัญหาเร่งด่วนของภูมิภาค พร้อมทั้งรณรงค์วิสัยทัศน์ “PRO BIMSTEC” ที่มุ่งสู่ความมั่งคั่ง ยั่งยืน ฟื้นคืน และเปิดกว้าง


ทั้งนี้การเป็นประธานการประชุมของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทเชิงรุกของไทยในฐานะเจ้าภาพ ได้นำประเทศสมาชิกมารวมตัวกันเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค ทั้งยังเป็นการพบปะระหว่างผู้นำ 7 ชาติ จากทั้งบังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล และศรีลังกา ประชุมเต็มคณะและการประชุมพบกันแบบตัวต่อตัวครั้งแรกในรอบ 7 ปี

นายจิรายุ กล่าวต่อไปว่าสำหรับความสำเร็จของการประชุมฯ ครั้งนี้ ผู้นำบิมสเทคได้รับรองเอกสารผลลัพธ์สำคัญถึง 6 ฉบับ ประกอบไปด้วย วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030 ที่เป็นแผนยุทธศาสตร์ในการสร้าง “PRO BIMSTEC” ภายในปี 2573 ปฏิญญาการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 กฎระเบียบสำหรับกลไกการดำเนินงานภายใต้กรอบบิมสเทค รายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิทิศทางอนาคตของบิมสเทค ความตกลงความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเล รวมถึงแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในเมียนมา สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกในการขับเคลื่อนความร่วมมือและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภูมิภาค


สำหรับประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการประชุม BIMSTEC ครั้งนี้ จะนำมาซึ่งประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมต่อประชาชนไทย ทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก ช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดและการลงทุนใหม่ ๆ รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจผ่านเครือข่ายการขนส่งและโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น จะช่วยกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวและส่งเสริมการจ้างงานภายในประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้ ในช่วงก่อนการประชุมฯ นายกรัฐมนตรียังได้ให้การต้อนรับผู้นำเนปาลและอินเดียในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ยกระดับความสัมพันธ์และมีการลงนามความร่วมมือระหว่างกันในทุกมิติ พร้อมยังได้หารือทวิภาคีกับผู้นำระหว่างการประชุม ได้แก่ ผู้นำบังกลาเทศ ศรีลังกา ภูฏาน และเมียนมา ที่ได้มีการหารือการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ call center และยาเสพติด รวมทั้งข้อสรุปการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติระหว่างพรมแดนของทั้งสองประเทศ รวมทั้งการติดตามการคมนาคมที่เคยมีข้อตกลงในอดีตที่จะเป็นเส้นทางจากไทยไปยังประเทศเมียนมาและเข้าสู่ประเทศอินเดียเพื่อเป็นช่องทางการค้าขายในตลาดมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นต้น

“ภารกิจครั้งนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของไทยในฐานะเจ้าภาพและผู้นำเวทีภูมิภาคที่เข้มแข็ง ทั้งในด้านการเจรจา การบริหารจัดการ และการสร้างความร่วมมืออันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนไทยและประเทศสมาชิก BIMSTEC ทั่วภูมิภาค” นายจิรายุ กล่าว.-315.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

Trump signs order on new tariffs

สหรัฐเริ่มแล้วเก็บภาษี 10% สินค้านำเข้าจากทั่วโลก

วอชิงตัน 6 เม.ย.- ศุลกากรสหรัฐเริ่มมาตรการเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 10 กับสินค้านำเข้าทั้งหมดจากทั่วโลกแล้วตั้งแต่วันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ ก่อนที่จะเก็บภาษีเพิ่มกับแต่ละประเทศในสัปดาห์หน้า อัตราภาษีพื้นฐานร้อยละ 10 มีผลกับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้าสหรัฐผ่านด่านทางทะเล ทางอากาศ และโกดังของศุลกากรตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 5 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ตรงกับเวลา 11.01 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย อย่างไรก็ดี สินค้าที่ถูกลำเลียงแล้วหรืออยู่ระหว่างขนส่งเข้าสหรัฐก่อนเวลาดังกล่าวจะได้รับการผ่อนผันไม่ถูกเก็บภาษีร้อยละ 10 โดยต้องมาถึงสหรัฐภายในวันที่ 27 พฤษภาคมหรือภายใน 51 วัน ส่วนภาษีที่สหรัฐจะเรียกเก็บเพิ่มจากแต่ละประเทศในอัตราที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ร้อยละ 11 ไปจนถึงร้อยละ 50 จะเริ่มมีผลตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 9 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ซึ่งขณะนี้ช้ากว่าไทย 11 ชั่วโมงเนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูร้อน โดยไทยจะถูกเรียกเก็บเพิ่มในอัตราร้อยละ 36 สำหรับสินค้าประมาณ 1,000 ประเภทที่ได้รับการยกเว้นจากมาตรการภาษีใหม่ของสหรัฐ เช่น ยา ยูเรเนียม เซมิคอนดักเตอร์ รัฐบาลสหรัฐกำลังพิจารณาเรื่องอัตราภาษีใหม่ที่จะใช้กับสินค้าเหล่านี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ […]

ทีมกู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม

วันที่ 9 ของภารกิจค้นหาผู้ติดค้างใต้ซากตึก สตง. เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นๆ นำกำลังเข้าพื้นที่ค้นหา ล่าสุดสามารถนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม

นายกฯ ส่ง “พิชัย” รองนายกฯ บินด่วนเจรจาสหรัฐ

นายกฯ ออกแถลงการณ์ท่าทีไทยกับนโยบายการค้าของสหรัฐ ส่ง “พิชัย” รองนายกฯ บินด่วนเจรจาสหรัฐ ยันไทยไม่ใช่แค่ผู้ส่งออก แต่คือพันธมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่เชื่อถือได้ในระยะยาว

ไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนระวังพายุฤดูร้อน

กรมอุตุฯ รายงานไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง