แนะเร่งจัดตั้งผู้จัดการภัยพิบัติ ทำหน้าที่สื่อสารสังคม-ประชาชน

กทม.1 เม.ย. – นักวิชาการธรรมศาสตร์ แนะรัฐบาลเร่งจัดตั้งผู้จัดการภัยพิบัติ ทำหน้าที่สื่อสารสังคม-ประชาชน สร้างความชัดเจนข้อมูลแผ่นดินไหว ป้องกันประชาชนตระหนก เสนอผนึก Google ใช้ ‘แอนดรอยด์’ กว่า 2,000 ล้านเครื่อง ทำหน้าที่เป็น sensor ตรวจจับแรงสั่นสะเทือนขนาดเล็ก


รศ.อัจฉรา ชลายนนาวิน คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ในสถานการณ์วิกฤตและภัยพิบัติมักจะพบการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลที่ขาดความน่าเชื่อถือจนทำให้เกิดความตื่นตระหนัก รวมถึงพบการสื่อสารที่กระจัดกระจายของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งจะให้ข้อมูลหรือข่าวสารตามภารกิจส่วนงานของตัวเองเท่านั้น ทั้งหมดสะท้อนถึงการขาดเอกภาพในการบริหารจัดการข้อมูล ทั้งที่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการจัดการภัยพิบัติคือการสื่อสาร ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก และไม่ทำให้เกิดการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสารอย่างไร้ทิศทาง

รศ.อัจฉรา กล่าวว่า ในสถานการณ์หรือภาวะวิกฤต ภาครัฐควรมีการกำหนดหรือจัดตั้ง “ผู้จัดการภัยพิบัติ” ทำหน้าที่สื่อสารกับสังคมและประชาชน ใช้วิธีการสื่อสารระบบทางเดียว (One-way Communication) เพื่อป้องกันความสับสน โดยผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการภัยพิบัตินั้นอาจจะแปรผันไปตามความรุนแรงของเหตุการณ์หรือผลกระทบ หากอยู่ในระดับจังหวัดก็ควรให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น หากผลกระทบกว้างขวางในระดับประเทศก็ควรเป็นนายกรัฐมนตรีเป็น ส่วนในสถานการณ์ฟื้นฟูเยียวยารวมถึงช่วงเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติ ควรใช้วิธีการสื่อสารระบบสองทาง (Two-way Communication) แทน


สำหรับวิธีการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่กระจัดกระจายผ่านทางออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย รัฐซึ่งเป็นผู้จัดการภัยพิบัติควรเชิญสื่อมวลชนประชุมทำความเข้าใจว่าให้เผยแพร่ข่าวอย่างเป็นทางการผ่านช่องทางของผู้จัดการภัยพิบัติเท่านั้น เช่น กรณีผู้ว่าฯ หมูป่า ท่านบอกกับสื่อเลยว่าห้ามไปฟังข่าวจากที่ไหน ต้องฟังข้อมูลจากศูนย์บัญชาการเหตุการณ์เท่านั้น ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

นอกจากนี้ รัฐต้องทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ รวมถึงอาสาสมัครต่างๆ ด้วย เพราะบ่อยครั้งเราจะเห็นว่าคลิปวิดีโอเหตุการณ์ต่างๆ มักได้รับการถ่ายทอดจากเจ้าหน้าที่ หรืออาสาสมัครจนอาจทำให้คนเกิดความเข้าใจผิด และมีผู้ไม่หวังดีอาจนำรูปหรือคลิปไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องจนก่อให้เกิดการตื่นตระหนกในท้ายที่สุด

“เมื่อรัฐจัดตั้งช่องทางการสื่อสารผ่านผู้จัดการภัยพิบัติอย่างชัดเจนแล้ว ก็ควรจะมีการเพิ่มความถี่ในการสื่อสารให้มากขึ้น เพื่อป้องกันและต่อสู่กับเฟคนิวส์ที่แพร่กระจายอยู่ในโซเชียลมีเดียอย่างไม่ขาดสาย เพราะสถานการณ์ในรอบหนึ่งวันอาจเกิดเหตุการณ์ได้ต่างๆ มากมาย การรวบรวมสถานการณ์ตลอดทั้งวัน แล้วเผยแพร่เพียงครั้งเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชน ที่ติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา” รศ.อัจฉรา กล่าว


รศ.อัจฉรา ยกตัวอย่างกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้ข้อตกลงความช่วยเหลือด้านการจัดการภาวะฉุกเฉิน (EMAC) เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ EMAC จะทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการแจ้งเตือนและส่งข่าว รวมไปถึงการมีอำนาจเต็มเพื่อบริหารจัดการเรื่องภัยพิบัติในมิติต่างๆ การมีองค์กรหลักเพียงองค์เดียว ที่ทำหน้าที่ทั้งบริหารจัดการภัยพิบัติ และทำหน้าที่สื่อสารให้กับประชาชนได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีความเป็นเอกภาพในการทำงาน

รศ.อัจฉรา กล่าวอีกว่า เพื่อความรวดเร็วในการแจ้งเตือนแผ่นดินไหว รัฐบาลควรจะขอความร่วมมือไปยังบริษัทกูเกิล (Google) เพื่อขอเปิดการใช้งานระบบการแจ้งเตือนแผ่นดินไหวผ่านระบบแอนดรอยด์ (Android Earthquake Alerts) อย่างเป็นทางการเพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับข้อมูลแผ่นดินไหวที่ทันเวลา เพราะระบบมีศักยภาพในการแจ้งเตือนล่วงหน้าหลายวินาทีก่อนเกิดแรงสั่นสะเทือน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถหนีไปยังที่ปลอดภัยได้ในที่สุด นั่นเพราะ Google สามารถใช้มือถือของผู้ใช้เองเป็นเซ็นเซอร์ โดยใช้วิธีการตรวจจับแบบ crowdsourcing ซึ่งอาศัยข้อมูลจากโทรศัพท์ที่ใช้ระบบแอนดรอยด์ (Android) ทุกเครื่องทั่วโลก โดยภายในมีเซ็นเซอร์วัดความเร่ง (accelerometers) ที่สามารถตรวจจับแรงสั่นสะเทือนได้ ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าแผ่นดินไหวกำลังเกิดขึ้น การใช้โทรศัพท์ Android มากกว่า 2,000 ล้านเครื่องทั่วโลก ให้ทำหน้าที่เป็น sensor หรือ เครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวขนาดเล็ก (mini-seismometers) เพื่อสร้างเครือข่ายตรวจจับแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดในโลก โทรศัพท์จะตรวจจับแรงสั่นและความเร็วของแรงสั่น แล้วแจ้งเตือนผู้ใช้ Android ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างถูกต้อง

นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าวต่ออีกว่า หลังจากผ่านพ้นภัยพิบัติในครั้งนี้ผ่านพ้นไป สิ่งที่ทุกภาคส่วนควรตระหนักและถอดบทเรียนร่วมกันคือการบริหารจัดการก่อนเกิดภัยพิบัติ ซึ่งจะเป็นการวางแผนล่วงหน้า เพื่อทำให้ทุกคนรับรู้ว่าตนเองควรจะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติ รวมไปถึงความเข้าใจในการเลือกรับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้.-319​ -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจ ลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร ด้านบริษัท 9PK นำเอกสารชี้แจง พร้อมขอให้บริษัทจีนช่วยอนุมัติเงินมาจ่ายให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อน

จับแล้วโจรบุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่

จับแล้วโจรมาเลย์บุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่ จนมุมสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เผยมาหาลูกชายที่ จ.นนทบุรี แต่ลูกไม่ให้เข้าบ้าน

ปิดล้อมจับชายวัย 43 ยิงเพื่อนบ้าน-ตร.เจ็บ 4

ตำรวจปิดล้อมนานถึง 11 ชั่วโมง จับชายวัย 43 ปี ใช้ปืนยิงเพื่อนบ้านและตำรวจที่เข้าระงับเหตุ บาดเจ็บรวม 4 ราย หลังโมโหเพื่อนบ้านติดกล้องวงจรปิดหันส่องไปทางบ้านผู้ก่อเหตุ ยิงแก๊สน้ำตา-ญาติเกลี้ยกล่อม ยังไม่เป็นผล

แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในไต้หวัน-ไม่มีรายงานความเสียหาย

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานวันนี้ว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดด 5.8 ที่เทศมณฑลอี้หลาน (Yilan) ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลทางตจะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ข่าวแนะนำ

บขส.เสริมรถอีก 1,000 คัน รองรับผู้โดยสารขาออกวันนี้

การเดินทางขาออกในเทศกาลสงกรานต์ 2568 ถือว่ารถโดยสารของ บขส. ยังมีบทบาทสำคัญ เพราะเป็นวันหยุด มีผู้โดยสารเดินทางแน่นตลอดวัน วันนี้ บขส.เสริมรถอีก 1,000 คัน รองรับผู้โดยสาร

นายกฯ เปิดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2025”

นายกรัฐมนตรี เปิดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2025” ณ ท้องสนามหลวง ฉลองปีใหม่ไทย จัดเต็มปรากฏการณ์สาดความสุขครั้งยิ่งใหญ่ หนุนมรดกไทยสู่ World Event ระดับโลก

สงกรานต์หาดใหญ่ คาดเงินสะพัด 780 ล้านบาท

สงกรานต์หาดใหญ่ จ.สงขลา ปีนี้คึกคัก ททท. คาดมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาร่วมกิจกรรมกว่า 7 หมื่นคน เงินสะพัดทั่วจังหวัดกว่า 780 ล้านบาท

สงกรานต์เชียงใหม่วันแรกชุ่มฉ่ำทั่วทั้งเมือง

สงกรานต์ จ.เชียงใหม่ วันแรกคึกคัก ชาวเชียงใหม่-นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ แห่ร่วมกิจกรรม เล่นสาดน้ำชุ่มฉ่ำทั่วทั้งเมืองตลอดวันจนถึงช่วงค่ำ