ศึกษาผลกระทบอุปสรรคการเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป

รัฐสภา ​27 มี.ค.- “กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ” หารือ กต.-พาณิชย์ ศึกษาผลกระทบจากอุปสรรคการเจรจา FTA ไทย – สหภาพยุโรป หลังไทยโดนประณามส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ด้านตัวแทนหอการค้ายืนยันไทยได้เดินตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ ปกป้องมนุษยชน จึงไม่ควรนำประเด็นนี้มาอยู่ในกรอบของ FTA


นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) พัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวก่อนการประชุมเรื่อง “ผลกระทบจากอุปสรรคในการเจรจา FTA ไทย – สหภาพยุโรป การยกระดับมาตรการกีดกันทางการค้า และสงครามการค้า ต่อเศรษฐกิจไทย” ว่า การเชิญกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งหอการค้าและสมาพันธ์เอสเอ็มอี มาสอบถาม และรับทราบมุมมองว่าเหตุการณ์ส่งอุยกูร์กับประเทศจีนผลกระทบอย่างไรบ้าง เพราะเบื้องต้นคาดว่ามีผลกระทบไม่มากก็น้อยในมิติการค้าระหว่างประเทศที่สหภาพยุโรปมีมติประณามไทย ซึ่งจะมีการสอบถามถึงผลกระทบต่อการทำข้อตกลงทั้ง เอฟทีเอไทย-อียู ที่เดิมรัฐบาลบอกว่าจะเสร็จในสิ้นปีนี้ จะมีการชะลอการลงนามหรือไม่ และยังมีประเด็นที่ไทยกำลังอยู่ในกระบวนการเข้าเป็นประเทศสมาชิก OECD ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบด้วยหรือไม่ รวมถึงจะส่งผลกระทบต่อกรณีที่ทางสหรัฐฯเตรียมออกบัญชีรายชื่อประเทศ ที่จะขึ้นภาษีอากรนำเข้าสินค้า และจะมีผลกระทบกับ การค้าระหว่างไทยกับประเทศมุสลิมต่างๆด้วยหรือไม่

เมื่อถามว่ารัฐบาลระบุว่าได้เชิญทูตยุโรปมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วสามารถช่วยได้หรือไม่ นายสิทธิพลกล่าวว่า รัฐบาลพยายามทำให้ผลกระทบเกิดขึ้นน้อยที่สุด แต่การที่เราเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาในวันนี้ ก็จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้นและมองเห็นว่าปัจจุบันถึงขั้นตอนไหนแล้ว


ส่วนกลุ่มประเทศ OECD ไทย อาจจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ยากเพราะติดในเรื่องปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น นั้น ตนมองว่าทางประเทศกลุ่มยุโรปให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพต่างๆก็คงต้องหารือกันว่า กลุ่มประเทศOECDมองว่าการส่งชาวอุยกูร์กลับประเทศจีนมีผลกระทบกับด้านสวัสดิภาพเขามากน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำให้ทั่วโลกมั่นใจว่าไม่กระทบกับสิทธิเสรีภาพของชาวอุยกูร์

เมื่อถามว่าเรื่องการส่งชาวอุยกูร์กับประเทศควรจะต้องมีหน่วยงานไหนรับผิดชอบเป็นหลักหรือไม่ นายสิทธิพล กล่าวว่า สมควรอย่างยิ่งแม้รัฐบาลจะพยายามย้ำว่าการส่งกลับชาวอุยกูร์ในครั้งนี้พิจารณาอย่างรอบด้านแล้วและเป็นประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย แต่ในอนาคตผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในมิติเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมควรที่รัฐบาลจะต้องเอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะในสงครามการค้าที่จะเกิดขึ้น แม้ว่าไม่มีเรื่องนี้สงครามการค้าก็จะกระทบเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรงเพราะเราเป็นคู่ค้ากับสหรัฐฯในลำดับที่ 10 เราเกินดุลมาตลอดเราอยู่ในลิสต์อยู่แล้ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มมีแนวโน้มซ้ำเติมสงครามการค้าให้รุนแรงขึ้น

พร้อมกันนี้ นายสิทธิพล ให้ข้อเสนอแนะกับเรื่องนี้ว่ารัฐบาลจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์อย่างจริงจังทั้งในมิติของสงครามการค้าและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากเอฟทีเอ-ไทยสหภาพยุโรป ไม่สามารถเซ็นข้อตกลงได้ภายในปีนี้ตามที่รัฐบาลคาดหวัง


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุม
ตัวแทนหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูล เกี่ยวกับข้อกังวลและสัญญาณจากกรณีที่เกิดขึ้น จากการค้าต่างประเทศ ประเทศไทยได้ รับการยอมรับว่ามีความมุ่งมั่น ในการปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในกลุ่มเอกชน ตั้งแต่มีปัญหาเรื่อง IUU เทียร์3 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเมื่อ2 สัปดาห์ก่อนได้จัดวงเสวนามีตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจเข้ามาร่วมไม่ได้มีการพูดถึงประเด็น “อุยกูร์“ จึงขอเป็นเรื่องการเมือง
เศรษฐกิจ

และจากที่ทราบหน่วยงานเอกชนต่างๆของต่างประเทศไม่ได้มีข้อห่วงกังวลแนะนำในเรื่องดังกล่าว ในการทำธุรกิจ และยืนยันว่าได้ทำตามแนวทางของยูเอ็นมาโดยตลอด ซึ่งทางหัวหน้าส่วนของ IUU เอง เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบของอาเซียนได้ และทางหอการค้ามั่นใจว่าสามารถตอบคำถามได้ทุกประเด็นได้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ทั้งอเมริกาและยุโรป หรือผู้ค้าด้วยกันเองก็ไม่ได้มีข้อสงสัยในประเด็นดังกล่าว

”หลักการหอการค้าเรื่องอุยกูร์ ทำตามยูเอ็นแนะนำ ในการปกป้องสิทธิมนุษยชนทุกประเทศ ก็มีสิทธิในการส่งชาวต่างด้าวกับประเทศ เป็นปกติ ไม่ว่าที่อเมริกาหรือยุโรป เพราะในอเมริกาในวันนี้ก็มีหลายเคส ที่ต่างชาติมีปัญหาเรื่องออริจิ้น เป็นเรื่องปกติ ปัจจุบันทางยุโรปโดยเฉพาะฝรั่งเศสเป็นประเทศต้นแบบของสิทธิมนุษยชนก็มีปัญหากับประเทศอัลจีเรีย“ ตัวแทนหอการค้ากล่าว

ตัวแทนหอการค้ากล่าว ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าหากยืนยันในกรอบกฎหมายระหว่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งภาคเอกชนได้มีการอธิบายซึ่งมีคำถามเกิดเกิดขึ้นน้อยมากในเรื่องนี้ และได้อธิบายว่าไทยได้เดินตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ ในการปกป้องมนุษยชน และส่วนตัวเห็นว่าไม่ควรนำประเด็นนี้มาอยู่ในกรอบของ ข้อตกลงเสรีทางการค้า FTA เพราะยุโรปและไทยมีความต้องการในฐานเดียวกันใน ข้อตกลงเสรีทางการค้า 2 ฝ่าย โดยเฉพาะภาคเอก และสถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อคืนเพิ่งประกาศภาษี 25% กระทบหนักมากโดยเฉพาะเยอรมนี.-319 -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ทยอยนำ 3 ร่างผู้เสียชีวิตออกจากใต้ซากตึกถล่ม ส่งสถาบันนิติเวช

นำร่างผู้เสียชีวิต 3 ราย ออกจากใต้ซากอาคารถล่ม ทยอยเคลื่อนออกจากพื้นที่ ส่งสถาบันนิติเวชวิทยา ด้านตำรวจเตรียมดำเนินคดีชาวจีน 4 คน ขนเอกสารอ้างเคลมประกัน

ระดมทีมค้นหาสุดกำลัง ช่วยผู้ที่ติดค้างใต้ซากตึกถล่ม

ระดมทีมค้นหาสุดกำลัง ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างใต้ซากอาคาร สตง. ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว ทุกภาคส่วนยังทำงานแข่งกับเวลาและสภาพอากาศที่ร้อนจัด ล่าสุดมีรายงานพบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 4 ราย

“อนุทิน” เซ็นตั้ง คกก.สอบอาคาร สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว

“อนุทิน” เซ็นตั้ง คกก.สอบ หลังตึก สตง.ถล่มจากเหตุแผ่นดิน​ไหว​เพียงตึกเดียว​ คาดรู้ผลใน 7 วัน ยันไล่บี้ตั้งแต่แบบอาคารและการก่อสร้าง ชี้ทั้งบริษัทไทย-จีน​ ต้องรับผิดชอบเต็มร้อย ​ขณะทูตจีนพาผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวพบ

บกปภ.ช. รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหว เสียหาย 18 จังหวัด

บกปภ.ช. รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหว เสียหายเพิ่มขึ้นเป็น 18 จังหวัด เฉพาะกรุงเทพฯ เสียชีวิต 9 ราย สูญหาย 79 ราย ยังคงเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตจากอาคารถล่ม ขณะที่กรมบัญชีกลางขยายวงเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 200 ล้านบาท