ไม่ลงชื่อแต่พร้อมอภิปรายด้วย

รัฐสภา 15 ม.ค.-“สว.วันชัย” มองเรื่องล็อบบี้ล่ารายชื่อเปิดอภิปรายเป็นเรื่องปกติ กั๊กไม่ลงชื่อแต่ถ้ายื่นญัตติได้ก็จะร่วมอภิปรายด้วย มองกลุ่มค้าน แต่ก็มองว่าตั้งกระทู้ถามดีกว่า


นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา(สว.) กล่าวถึงการล่ารายชื่อส.ว. เพื่อยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 153 ว่า เท่าที่ติดตามมีการล็อบบี้ที่จะให้ สว.มาร่วมลงชื่อ ให้ครบตามจำนวน ถือเป็นเรื่องปกติ แม้แต่ในวันนี้ก็ยังมีติดต่อเชิญชวนให้มาลงชื่อ แต่ต้องยอมรับว่ามีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยให้อภิปราย รวมถึงกลุ่มที่รอดูท่าทีก็ยังมีอยู่ เพราะเห็นว่ายังมีระยะเวลาการยื่นอภิปรายฯ

“กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยก็ประเมินว่าการล่ารายชื่อครั้งนี้เสียงคงไม่ถึง 84 เสียง จนมาถึงวันนี้จึงไม่ได้เคลื่อนไหว เท่าที่ติดตามมีตัวเลขสว.ที่ลงชื่อแล้ว 77-78 คน ซึ่งขาดอีกเพียงไม่กี่เสียงก็จะพอ แต่ไม่ได้หมายความว่าเสียงจะพอ เพราะต้องล่ารายชื่อให้เกิน 84 เสียง เนื่องจากเมื่อถึงเวลาใกล้ยื่น อาจจะมีสมาชิกถอนตัว ทำให้ไม่ครบ 84 เสียง” นายวันชัย กล่าว  


นายวันชัย กล่าวว่า กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยอาจจะล็อบบี้สมาชิกไม่ให้ลงชื่อ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้มีเหตุขัดแย้งกัน โดยกลุ่มนี้มองว่ารัฐบาลเพิ่งทำงานได้เพียง 3-4 เดือน งบประมาณยังไม่ได้ใช้และเป็นกลุ่มหนึ่งที่สนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ จึงควรเปิดโอกาสให้แสดงฝีมือบริหารราชการแผ่นดิน จึงไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่จะเร่งเครื่องตรวจสอบ

“ผมประเมินว่าการลงชื่อของสว.ครั้งนี้อยู่ระหว่างก้ำกึ่งกัน ซึ่งสว.กลุ่มใหญ่ที่เป็นส่วนราชการ ทหารตำรวจ ถ้ายังไม่มีความเคลื่อนไหว การดำเนินการเรื่องใด ๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก กลุ่มนี้มีท่าทีเป็นกลางและไม่เห็นด้วย แต่กลุ่มที่เคลื่อนไหวกลับเป็น สว. ฝ่ายพลเรือนและอิสระ” นายวันชัย กล่าว

ส่วนหากสามารถเปิดอภิปรายทั่วไปได้แล้วจะส่งผลกระเทือนต่อรัฐบาลหรือไม่ นายวันชัย กล่าวว่า  การอภิปรายทั่วไปไม่ลงมติเป็นการสอบถาม ซักไซ้ ไล่เรียงรัฐบาลเท่านั้น เพราะวุฒิสภาไม่ได้เปิดโอกาสให้ลงมติไม่ไว้วางใจเหมือนสส. แต่เป็นโอกาสให้รัฐบาลชี้แจงข้อสงสัย ถือเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าจะมองอีกมุมหนึ่งว่าสว.กำลังจะถล่มรัฐบาล หรือมองรัฐบาลเป็นฝ่ายตรงข้ามก็มองได้  


นายวันชัย กล่าวว่า ในการเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 153  กำหนดชัดเจนต้องการให้รัฐบาลชี้แจงแถลงข้อเท็จจริงในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน แต่กลุ่มสว.ที่เสนอประเด็นอภิปรายดูดาษดื่นเกินไป แต่ควรจะนำประเด็นใหญ่สำคัญมาอภิปราย จึงทำให้กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการที่จะเปิดอภิปรายมองว่าประเด็นยังไม่ใช่ จึงยังไม่มีอารมณ์ร่วม

“ขณะที่กรณีชั้น 14 อาจเป็นประเด็นหนึ่ง ที่เชื่อว่ากว่าเราจะอภิปรายก็เดือนกุมภาพันธ์ และในช่วงปลายเดือนมีนาคม นายทักษิณ  ชินวัตร ก็อาจจะจากชั้น 14 ไปแล้วเพราะได้รับการพักโทษ เหตุการณ์จะผ่านไปแล้ว ควรใช้วิธีการตั้งกระทู้ถามดีกว่า ส่วนตัว ผมไม่ได้ลงชื่อร่วมอภิปรายในครั้งนี้ ยังเป็นสว.กลาง ๆ ไม่ได้เห็นด้วย แต่ถ้าหากสามารถเปิดอภิปรายฯ ได้ก็จะร่วมอภิปรายด้วย” นายวันชัย กล่าว เมื่อถามว่า กลุ่มที่คัดค้านการอภิปรายฯ คือกลุ่มที่ลงมติโหวตนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี

ส่วนกลุ่มที่งดออกเสียงคือกลุ่มที่สนับสนุนการอภิปรายฯ ใช่หรือไม่ นายวันชัย กล่าวว่า บางคนเป็นกลุ่มงดออกเสียง และกลุ่มที่ไม่โหวตให้นายเศรษฐาก็เป็นไปได้ รวมถึงกลุ่มที่เห็นปัญหาจริง ๆ ซึ่งสว.บางคน เห็นว่าควรนำเรื่องที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์มาอภิปราย และบางคนถือว่าเป็นอาวุธที่สว.ไม่เคยใช้มาก่อน ก็เลยมาใช้ในรัฐบาลชุดนี้  ทั้งหมดถือเป็นข้อโต้เถียง แต่ตนมองว่าอะไรก็ได้ ไม่ถึงขนาดว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย  หากทำมาแล้วดี เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นการตรวจสอบที่เข้มข้นและมี เนื้อหาสาระจริง ๆ ก็ทำไป.-314.-สำนักข่าวไทย    

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว

ช้างพลายขุนเดช

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” ไปสถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” สู่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง จบดราม่า หลังฝากเลี้ยงที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่