ปัญหาอุ้มซ้อมทรมานเกิดซ้ำซาก-ไม่มีหลักฐาน

กรุงเทพฯ 28 ส.ค. – องค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือด้านคดีแก่เหยื่อที่ถูกอุ้มซ้อมทรมาน เปิดเผยข้อมูลว่าตลอดระยะเวลา 17 ปี เข้าไปช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกซ้อมทรมานแล้วประมาณ 500 กว่ากรณี ซึ่งมากที่สุดคือที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่มักไม่มีพยานหลักฐาน ทำให้เหยื่อไม่กล้าร้องเรียน ดังนั้น การมีกฎหมายเอาผิดผู้ซ้อมทรมาน จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยป้องปรามเจ้าหน้าที่ที่คิดจะซ้อมทรมาน


นี่คือผู้ถูกซ้อมทรมานจนเสียชีวิตและทุพพลภาพ ที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เข้าช่วยเหลือทางคดี อันเป็นเพียงส่วนหนึ่งในจำนวนผู้ถูกซ้อมทรมาน 500 กว่ากรณี ที่มูลนิธิแห่งนี้ให้การช่วยเหลือนับจากปี 47 เป็นต้นมา

พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เล่าว่า เหยื่อซ้อมทรมานที่เข้าช่วยเหลือ ส่วนใหญ่เป็นคดีความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คดียาเสพติด นอกนั้นเป็นคดีอาชญากรรมที่โด่งดัง แรงงานข้ามชาติที่ตกเป็นผู้ต้องหา และพลทหารถูกซ้อม


แต่การซ้อมทรมานมักไม่มีพยานหลักฐาน ถ้าไม่รุนแรง เหยื่อมักไม่กล้าร้องเรียน อีกทั้งระยะหลังร่องรอยจากการซ้อมทรมานแทบไม่มีให้เห็น เพราะผู้ซ้อมทรมานมีวิธีไม่ให้เกิดร่องรอย เคยมีผู้เสียหายบอกว่าถูกทรมานโดยใช้ถุงพลาสติกคลุมหัว 3-4 ใบ แต่ไม่เคยเห็นภาพ เหตุการณ์ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรนครสวรรค์ ซ้อมทรมาน จึงเป็นครั้งแรกที่มีภาพปรากฏให้สังคมได้เห็น

จากประสบการณ์ช่วยเหลือเหยื่อซ้อมทรมาน พบว่ากรณีเหยื่อเสียชีวิต การปกปิดการตาย อาจทำได้ยาก แต่กรณีเหยื่อรอดชีวิตมักถูกเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีอื่นอีก การร้องเรียนยิ่งทำให้ถูกข่มขู่ คุกคาม

ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม บอกว่า การมีกฎหมายป้องกันการซ้อมทรมาน อุ้มหาย จะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยปฏิรูปตำรวจ กระบวนยุติธรรม เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้หลายร่างที่ค้างคาอยู่นานหลายปีแล้ว กำหนดให้การอุ้มหาย ทรมาน เป็นความผิดทางอาญา การสืบสวนสอบสวนเป็นอิสระ ไม่มีอายุความ และผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดด้วย


ในมุมมองของผู้ที่ต่อต้านการอุ้มซ้อมทรมาน จึงเห็นว่ากฎหมายอุ้มซ้อมทรมานที่สอดคล้องหลักสากล น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แม้ไม่สามารถยุติการอุ้มซ้อมทรมานได้ แต่อย่างน้อยจะมีกรอบกฎหมายที่เข้มแข็งมากขึ้นว่าหากใครใช้วิธีอุ้มซ้อมทรมาน จากเจ้าหน้าที่จะกลายเป็นอาชญากร และผู้บังคับบัญชาไม่อาจหลีกหนีความรับผิดชอบต่อการอุ้มซ้อมทรมานได้เหมือนในปัจจุบัน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่ม 31 ซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับคาที่ หลังมีปากเสียงเรื่องขับเฉี่ยวชน

หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย ลูกเจ้าของร้านขายผ้าซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับ ริมถนนสุขุมวิท หลังมีปากเสียงเรื่องขับรถเฉี่ยวไม่ลงมาเจรจา

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ขับรถชนไรเดอร์ดับ

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ที่หัวร้อนขับรถชนไรเดอร์ดับคาที่กลางสุขุมวิท เมื่อวานนี้ พร้อมไหว้ขอสื่อ อย่ามายุ่งกับครอบครัว

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ศาลให้ประกันหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนไรเดอร์ดับ

ครอบครัวไรเดอร์ที่ถูกหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนเสียชีวิต กอดกันร้องไห้รับร่างและรดน้ำศพ ด้านศาลให้ประกันตัวผู้ต้องหา วงเงิน 600,000 บาท ติดกำไล EM-ห้ามออกนอกประเทศ

ข่าวแนะนำ

วันประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียมวันแรก

วันนี้เป็นวันแรกที่กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ ใน กทม. มีการจัดงานวันสมรสเท่าเทียมอย่างยิ่งใหญ่ เฉลิมฉลองให้กับเส้นทางการต่อสู้อันยาวนานกว่าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ไม่ว่าเพศใดก็จะได้รับสิทธิการสมรสอย่างเท่าเทียมกัน

นาทีประวัติศาสตร์! นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา

นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาลแพทองธาร สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน ทำเงินเข้าประเทศ

ตำรวจ ปปป.ซ้อนแผนบุกจับนายช่างโยธา เรียกรับเงิน 4 แสน

ตำรวจ ปปป. บุกจับนายช่างโยธาปฏิบัติงาน ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตพระโขนง เรียกรับเงินค่าออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร 400,000 บาท

สมรสเท่าเทียม

นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้

“แพทองธาร” นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมแสดงความยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้ ขอบคุณทุกภาคส่วนผ่านการต่อสู้กับอคติกว่า 2 ทศวรรษ ทำให้ ทุกตารางนิ้วของประเทศไทยโอบรับความหลากหลาย และเท่าเทียม