ปี 68 พลังงานทางเลือกมีบทบาทมากขึ้นทั่วโลก

กรุงเทพฯ 2 ม.ค. – สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเผย ปี 2568 พลังงานทางเลือกจะมีบทบาทมากขึ้นทั่วโลก โดยแนวโน้มในการใช้รถ EV และพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ได้รับความนิยมเพิ่มจากความตื่นตัวเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า ทั่วโลกหันมาให้ตระหนักและให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยได้บูรณาการประเด็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเรื่องการค้าและการลงทุน โดยสิ่งที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ประการสำคัญคือ การผลิตและการบริโภคที่ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานสะอาด ความตื่นตัวมากขึ้นในปัจจุบัน โดยพบแนวโน้มในการใช้รถ EV และพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยม

สำหรับในประเทศไทยสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือ ความมั่นคงทางพลังงานด้วยการบริหารจัดการการจัดเก็บพลังงานเพื่อให้เกิดความเสถียรมากพอและการรักษาสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม สถานการณ์พลังงานทางเลือกที่ประเทศต่าง ๆ เห็นว่าจะเป็นทางออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) หรือ Small Modular Reactor เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็ก ซึ่งหลายประเทศ เช่น อังกฤษ และแถบยุโรป เริ่มมีการศึกษาแล้ว ขณะที่ประเทศไทยก็ต้องศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมในหลายมิติ เพื่อให้การวางแผนระยะยาวและให้เกิดการสมดุลทั้งในเรื่องการลดพลังงานจากน้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ขณะเดียวกันพลังงานทดแทนก็ต้องเข้ามาช่วยเสริมในสิ่งที่ถูกลดลงไป


ในขณะเดียวกันทั่วโลกก็มีการพูดถึงและตื่นตัวในเรื่องคาร์บอนเครดิต เพื่อให้การซื้อขายอย่างมีกฎระเบียบที่ชัดเจน เราจะมีการดำเนินการให้เหมาะสม ขณะที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการออกระเบียบ เพื่อให้มีความชัดเจน รวมทั้งการซื้อ-ขาย มีการแลกเปลี่ยนอย่างไร ทั้งในและต่างประเทศ ทำอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรม และสร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อลดความกังวลของฝ่ายที่เข้าใจว่าเป็นกระบวนการฟอกเขียวของผู้ประกอบการ

สำหรับเป้าหมายของประเทศไทยในตอนนี้ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 แม้จะเป็นเวลาอีกราว 20 – 30 ปี แต่จำเป็นต้องมีการกำหนดทิศทางที่ชัดเจน เพื่อมีเป้าหมายและการดำเนินงานความเป็นกลางไปสู่เป้าหมายโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยส่วนหนึ่งต้องมีพื้นที่สีเขียวเพื่อมาดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ตามยุทธศาสตร์ชาติจะมีพื้นที่สีเขียวของประเทศไทยประมาณ 55% ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งหากสามารถสร้างได้ทั้ง ป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ และป่าในเมือง จะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาได้กว่า 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า รวมทั้งการดำเนินงานในการลดการปล่อย โดยนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการลด และหากได้รับความร่วมมือกับภาคภาคเอกชนจะสามารถขับเคลื่อนให้ถึงเป้าหมายตามกรอบเวลาได้ เพื่อให้ประเทศไทยมุ่งสู่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

ทั้งนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยในปี 2567 พบว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแปรปรวนสภาพอากาศ ส่งผลต่อความแห้งแล้งในช่วงต้นปี และน้ำท่วมช่วงปลายปีในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย และพื้นที่ภาคใต้ วิกฤตที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นทั้งความถี่ และความรุนแรง โดยน้ำท่วมที่เชียงรายได้นำพาตะกอนมาจำนวนมาก จะต้องใช้ทรัพยากรและงบประมาณในการฟื้นฟูจำนวนมาก


ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยตามความตกลงปารีสเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ที่มีเป้าหมายหลักในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฎิวัติอุตสาหกรรม โดยสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งน้ำแข็งขั้วโลกละลายส่งผลสู่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และในอนาคตอาจเกิดเป็นวิกฤตต่างๆ ที่ตามมาได้ รวมถึงยังมีผลกระทบต่อการแปรปรวนสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว อย่าง เอลนีโญ หรือลานีญา เป็นต้น

ขณะเดียวกันทั่วโลกยังให้ความสำคัญในเรื่องความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเปรียบเทียบกับช่วงก่อนพัฒนาอุตสาหกรรม ประมาณ 280 ppm ซึ่งตอนนี้พบในปริมาณ 420 ppm ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก สำหรับประเทศไทยพบว่าปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ถึง 1% ของทั่วโลก แต่กลับอยู่ในอันดับ 9 ของโลกที่จะได้รับผลกระทบเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งหมดนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไทยต้องให้ความสําคัญในการจัดการเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย. -512-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์

PEA ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา 5 จุด

เริ่มแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับนโยบาย สมช.สั่งตัดไฟฟ้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในฝั่งเมียนมา 5 จุด เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้

บุกจับกำนันหญิงแหนบทองคำ ฉ้อโกง 41 ล้าน

ตำรวจพิษณุโลกเปิดปฏิบัติการ “หักขาไก่” นำ 10 หมายจับ รวบตัว “กำนันหญิงแหนบทองคำ” ประธานกองทุนหมู่บ้าน กับคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมฉ้อโกงประชาชน หลังชาวบ้าน 140 ราย แจ้งความ มูลค่าความเสียหาย 41 ล้านบาท

ชาวเมียวดีหวั่นถูกตัดไฟฟ้า เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์

ชาวบ้านเมียวดี ฝั่งเมียนมา ตรงข้ามชายแดนแม่สอด จ.ตาก หวั่นไทยตัดไฟฟ้า กระทบวงกว้าง เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์-เครื่องปั่นไฟ รับมือ ด้าน PEA ชี้ตัดไฟเมียนมาอาจสูญเปล่า หากไม่พิจารณาให้ครบถ้วน

ข่าวแนะนำ

รวบแล้วนักโทษหนีเรือนจำนนทบุรี จนมุมที่ จ.ชลบุรี

จับได้แล้วนักโทษชายหนีเรือนจำจังหวัดนนทบุรี ระหว่างออกกองงานภายนอก จนมุมที่หน้าโรงแรมแห่งหนึ่งย่านบางแสน จ.ชลบุรี ก่อนนำตัวมาสอบสวนและดำเนินคดีที่ สภ.เมืองนนทบุรี

ตัดไฟ 5 จุดชายแดนเมียนมา วันแรก กระทบชาวบ้านหลายหมื่นคน

หลังทางการไทยตัดไฟฟ้าที่เชื่อมโยงไปยังเมืองเมียวดี ฝั่งเมียนมา ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ส่งผลชาวบ้านแห่กักตุนน้ำมัน โรงพยาบาลเมียวดีได้รับผลกระทบในการเก็บเวชภัณฑ์ที่ต้องใช้ตู้แช่

ตร.ปัตตานีเร่งล่า 6 คนร้ายควงปืนปล้นร้านสะดวกซื้อ

อุกอาจ 6 คนร้าย พร้อมอาวุธมีด-ปืน ยกพวกปล้นร้านสะดวกซื้อใน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ได้เงินไป 4,492 บาท ตำรวจเร่งไล่กล้องวงจรปิดตามจุดต่างๆ ที่คนร้ายใช้เป็นเส้นทางหลบหนี

นายกฯ​ ยกคณะเยือนจีน หารือความร่วมมือรอบด้าน

นายกรัฐมนตรี​ ยกคณะเยือนจีนอย่างเป็นทางการ หารือความร่วมมือรอบด้าน แก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์-อาชญากรรมข้ามชาติ ย้ำไทยปลอดภัย พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนตลอดปี สานต่อ​รถไฟความเร็วสูง-แลนด์บริดจ์ ขณะที่เตรียมรับแพนด้ายักษ์คู่ใหม่​ และจะไปให้กำลังใจนักกีฬาไทยแข่งเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว