ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : BURNOUT ? — โรคใหม่ในยุคปัจจุบัน

15 กรกฎาคม 2566 สิ่งนี้… มักเกิดขึ้นในช่วง learn and work from home สิ่งนี้…องค์การอนามัยโลก ได้ขึ้นทะเบียนรับรองให้เป็นโรคใหม่ในยุคปัจจุบัน และ สิ่งนี้… เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั่วโลก คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล BURNOUT คืออะไร ? คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียด จนบางครั้งรู้สึกมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย ไม่หยิบจับทำอะไร รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองงานที่กำลังอยู่ในเชิงลบ ขาดความสุข สนุกในเนื้องาน หมดแรงจูงใจประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง บางรายอาจรู้สึกเหินห่างจากเพื่อนร่วมงาน จนทำให้ความมีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน เบิร์นเอาต์ไม่ใช่แค่เรื่องของวัยทำงาน ในปัจจุบันภาวะ BURNOUT ส่งผลมาถึงเด็กและเยาวชน เกิดจากเร่งเรียน เรียนเร็ว เรียนหนัก และภาวะ BURNOUT ในเด็ก ส่งผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้เด็กขาดการออกกำลังกาย ขาดแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เบื่อเรื่องการเรียนไปเลย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยื่นจอเมื่อเด็กงอแง ใช้ได้จริงหรือ ?

🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า ยื่นจอเมื่อเด็กงอแง ใช้ได้จริงหรือ ? 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การทำให้เด็กหยุดร้องไห้ด้วยการยื่นจอให้เด็ก เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอารมณ์ขุ่นมัว เป็นวิธีแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ระยะยาวแก้ไม่ได้ ซ้ำร้ายอาจส่งผลทำให้เด็กคนนั้นไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ปัจจุบัน เวลาเห็นเด็กร้องไห้งอแงไม่พอใจ พ่อแม่จำนวนมากจะหยิบยื่นสื่อหน้าจอให้ มีส่วนหนึ่งยื่นให้แล้วเปิดทันทีเด็กก็จะหยุดร้อง นั่นคือเรากำลังเบี่ยงเบนความสนใจจากอารมณ์ขุ่นมัวของเด็กไปอยู่ที่หน้าจอ ทำให้พ่อแม่เห็นว่าสื่อหน้าจอมีข้อดี จึงใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ 👉 การยื่นจอ เกิดผลเฉพาะหน้า แต่ระยะยาวเด็กควบคุมตัวเองไม่ได้ การยื่นจอให้เด็กจะใช้ได้ผลในระยะสั้น แต่เป็นการบ่มเพาะทำให้เด็กควบคุมตัวเองไม่ได้ระยะยาว ปัจจุบัน เริ่มมีข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าถ้าพ่อแม่ใช้สื่อหน้าจอเพื่อจะทำให้เด็กสงบ กลับกลายเป็นว่าลูกมีโอกาสที่จะควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้สูงมากขึ้น จากข้อมูลนี้ สรุปว่าการใช้สื่อหน้าจอเพื่อให้เด็กสงบอาจทำให้เด็กขาดโอกาสเรียนรู้วิธีที่จะทำอย่างไรให้ตัวเองสงบได้ 👉 ทำอย่างไร พ่อแม่ไม่ต้องยื่นจอให้เด็ก ถ้าไม่มีจอ พ่อแม่ต้องเบี่ยงเบนความรู้สึกไม่พอใจ เช่น พาลูกนับ 1-10 หรือประเด็นที่พบบ่อยคือใช้วิธีสะท้อนอารมณ์เด็ก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หลายผลเสียจากการติดจอ จริงหรือ ?

🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า หลายผลเสียจากการติดจอ จริงหรือ ? 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีที่สื่อสังคมออนไลน์มีการเตือนความเสี่ยงหลายอย่างจากการติดจอ เช่น โมโหร้าย สมาธิสั้น ไปจนถึงเจ้าอารมณ์ พัฒนาการช้านั้น มีความจริงในบางส่วน เรื่องพฤติกรรม เช่น ซน สมาธิสั้น การควบคุมตัวเองไม่ได้ โมโห หงุดหงิด มีข้อมูลว่าความสัมพันธ์เหล่านี้เกิดขึ้นร่วมด้วย การใช้สื่อที่ไม่เหมาะสมอาจจะส่งผลต่อการเรียนได้ เด็กใช้สื่อหน้าจอไม่สามารถกำกับควบคุมตัวเองได้ และทำงานที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนไม่สำเร็จ นอกจากนี้ ส่งผลด้านร่างกายด้วย ข้อมูลการศึกษาช่วงล็อกดาวน์พบว่ามีผลต่อการใช้สื่อหน้าจอมาก เรื่องภาวะสายตาสั้น ส่วนคนที่สายตาสั้นอยู่แล้วแนวโน้มสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น โรคทางกายอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน มีข้อมูลมานานแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะพฤติกรรมเนือยนิ่ง ทำให้เด็กขาดโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย รวมไปถึงปัญหาการนอน ถ้าใช้สื่อหน้าจอที่ไม่เหมาะสม จะสัมพันธ์กับปัญหาการนอนมากขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แค่เปิด “จอ” ทิ้งไว้ ก็เป็นภัยกับลูกแล้ว จริงหรือ ?

🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า “แค่เปิด ‘จอ’ ทิ้งไว้ ก็เป็นภัยกับลูกแล้ว จริงหรือ ?” 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องนี้จริง โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย ก่อนอายุ 2-3 ขวบลงมา ปัจจุบันมีข้อมูลงานวิจัยมากพอสมควร ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การเปิดจอทิ้งไว้ ทางการแพทย์เรียกว่า “Background media” หมายความว่า เป็นสื่อที่ผลิตขึ้นมาสำหรับผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะเปิดไว้และดู เพียงแต่เด็กถูกเลี้ยงดูอยู่ในห้องนั้นด้วย ซึ่งเด็กอาจจะไม่ได้รับประโยชน์จากสื่อที่เปิดทิ้งไว้เหล่านี้ ปัจจุบัน งานวิจัยยังไม่สามารถแยกออกมาแต่ละส่วนได้ คือทั้งภาพและเสียง หรือจะรวมหมดทั้งภาพและเสียง การเปิดเฉพาะภาพ หรือเฉพาะเสียง ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอขนาดนั้น แต่ถ้ายิ่งเปิดก็จะมีการรับทางประสาทสัมผัสทางเดียว เช่น ทางตา หรือทางหู ก็จะส่งผลได้เหมือนกัน แต่อาจจะไม่ได้มากเท่า 👉 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ติดจอ ทำให้เด็กเป็นออทิสติก จริงหรือ ?

🎯 ชัวร์ก่อนแชร์ : ติดจอ ทำให้เด็กเป็นออทิสติก จริงหรือ ? 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 👉 เรื่องเด็กติดจอเสี่ยงเป็นออทิสติก มีความสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ จากข้อมูลงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กที่ใช้สื่อหน้าจอจำนวนมากและใช้เร็ว มีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัยพฤติกรรมคล้ายออทิสติก ขณะเดียวกัน เด็กออทิสติกก็สัมพันธ์กับการใช้สื่อหน้าจอเพิ่มขึ้น 👉 “ออทิสติก” เป็นโรคของระบบประสาทและพัฒนาการ อาการค่อย ๆ ปรากฏให้เห็นในภายหลัง อาการหลัก ๆ ของเด็กออทิสติกคืออยู่ในโลกส่วนตัว มีพฤติกรรมไม่ค่อยมองหน้า ไม่สบตา เรียกชื่อไม่ค่อยหัน ใช้ภาษาท่าทางไม่มาก สิ่งสำคัญคือเด็กกลุ่มนี้พูดสื่อสารล่าช้าและมีภาษาของตัวเอง นอกจากนี้ มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ ชอบเล่นอะไรที่มีลักษณะหมกมุ่น เด็กบางคนมีพฤติกรรมชอบสะบัดมือหรือหมุนตัว กรณีที่เป็นมากอาจจะทำร้ายตัวเอง 👉 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนงดจอ! ก่อน 2 ขวบ จริงหรือ ?

🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า “งดจอ! ก่อน 2 ขวบ” พร้อมแสดงภาพเปรียบเทียบสมองเด็กที่อ่านหนังสือ ใยประสาทเรียงเป็นระเบียบ เด็กที่ดูจอ ใยประสาทกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 👉 ช่วงปฐมวัย (ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ) สมองของเด็กมีความสำคัญมาก พ่อแม่จำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น มีการอ่านหนังสือนิทาน การเล่น การร้องเพลง จะเป็นการช่วยให้เซลล์ประสาทและโครงสร้างสมองมีการจัดเรียงตัวอย่างเหมาะสม เป็นรากฐานการเรียนรู้ขั้นต่อ ๆ ไป 👉 ถ้าการจัดเรียงตัวของใยประสาท “เป็นระเบียบ” และเด็กได้เรียนรู้ในชั้นที่สูงขึ้น ก็สามารถได้รับข้อมูลต่าง ๆ และเชื่อมโยงส่งผ่านสัญญาณประสาทและประมวลผลออกมา ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่า 👉 การจัดเรียงตัวของใยประสาท […]

อธิปไตยไซเบอร์ (Cyber Sovereignty) | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

15 กรกฎาคม 2566 ในยุคที่โลกไร้พรมแดน การใช้อินเทอร์เน็ต ก็ต้องมีอธิปไตยไซเบอร์ เพื่อปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของเรา แล้วอธิปไตยไซเบอร์คืออะไร ถ้าเราโดนลุกล้ำหรือสูญเสียจะมีผลเสียมากน้อยแค่ไหน และจะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร ติดตามได้ในได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS

16 กรกฎาคม 2566 – โรค MS หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีวิธีการรักษาอย่างไร ผู้ป่วยสามารถหาซื้อยากินเองได้หรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โรค MS เป็นโรคที่ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด มีอาการกำเริบแบบเฉียบพลัน ได้แก่ ตามัว ไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น วิธีรักษาอาการกำเริบของโรคโดยการใช้ยา 1. การให้ยาสเตียรอยด์ เป็นการรักษาในระยะที่มีการกำเริบของโรค โดยสเตียรอยด์จะออกฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบที่กำลังเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ 2. การให้ยารักษาโรคซึมเศร้า ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีภาวะโรคซึมเศร้า หรือแพทย์อาจจะพิจารณาเป็นยาเสริมแก้อาการปวดจากระบบประสาทส่วนกลาง จึงควรสั่งใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น 3. การรักษาตามอาการ เช่น การใช้กัญชา ยังไม่มีข้อมูลว่ารักษาโรคได้ แต่ก็มีข้อมูลว่าสามารถรักษาอาการเกร็ง มีผลข้างเคียงคือ ทำให้ง่วงนอน การใช้กัญชาแนะนำให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม คนไข้ควรดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ดี ลดความวิตกกังวล หมั่นออกกำลังกาย งดอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทุกชนิด เน้นอาหารสุกสะอาด และไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ หากมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรรีบไปพบแพทย์ก่อน เพื่อรีบทำการรักษา หรือทำกายภาพบำบัด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : รู้ทัน 5 อุบายหลักหลอกสมัครงาน

เตือนภัยระวังมิจฉาชีพหลอกสมัครงาน กิจกรรมต่าง ๆ ที่นำมาหลอกลวงเหยื่ออาศัยความไม่รู้ และความโลภของประชาชนเป็นเครื่องมือ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ไม่เลือกอายุ หรือเพศของเหยื่อ ทุกคนทุกอาชีพสามารถตกเป็นเหยื่อได้หมด เพราะฉะนั้นการทำกิจกรรม หรือธุรกรรมใดๆ บนโลกออนไลน์ต้องรู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพและมีสติอยู่เสมอ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) 5 อุบายหลักที่มิจฉาชีพมักหลอกเหยื่อ มีดังนี้ 1. หลอกเปิดรับสมัครงาน 👉 มักเป็นการรับสมัครงานที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้ทักษะ เช่น รับจ้างกดไลก์ หรือรับจ้างแชร์ข้อมูล บอกให้ผู้ที่จะสมัครงาน โอนเงินก่อน โดยที่อ้างว่าเป็นค่าธรรมเนียม มัดจำ หรืออื่น ๆ อาจอ้างว่ามีคนสมัครเยอะอยากจ้างคนที่มีความประสงค์จะทำงานจริง ๆ พิสูจน์ด้วยการวางเงินมัดจำ 2. หลอกให้คิดว่าจะได้เงินก้อนใหญ่ 👉 เมื่อให้วางเงินมัดจำแล้ว และให้ทำงาน ใช้เงินตอบแทนเล็กน้อยหลอกให้คิดว่ายิ่งลงทุนเยอะ จะยิ่งได้เงินก้อนใหญ่ เมื่อเหยื่อเห็นว่าได้เงินจริง ก็เพิ่มจำนวนเงินวางมัดจำ สุดท้ายพอเป็นเงินก้อนโต ก็จะตัดการติดต่อ 3. หลอกล้วงข้อมูลส่วนตัว 👉 อาจขอข้อมูลอ่อนไหว เช่น บัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: “โจ ไบเดน” สั่งเลื่อนข่าวยานดำน้ำ Titan ระเบิด จริงหรือ?

เจ้าหน้าที่ได้ยินเสียงระเบิดตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน แต่ตอนนั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเสียงระเบิดของยาน Titan และไม่ได้ระบุว่า โจ ไบเดน ได้รับข้อมูลเรื่องเสียงระเบิดแต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET รู้จักโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS

13 กรกฎาคม 2566 – โรค MS หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร เกิดขึ้นได้ยังไงและอาการเป็นอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  โรค MS หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร ? โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า MS เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังทางระบบประสาทที่พบได้ในคนวัยหนุ่มสาว ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการสำรวจพบว่าพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักพบในคนอายุน้อยมากกว่าคนอายุมาก อาการของโรค ได้แก่ ตามัว มองภาพเห็นไม่ชัด มีอาการชาร่วมด้วย โดยจะชาจากขาขึ้นมาถึงลำตัว หรืออาจชาครึ่งซีก หรือชาที่หน้าอย่างเดียว เวียนศีรษะ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะมีโรคอื่นที่อาการคล้ายกัน จึงต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อคัดแยกโรค วิธีการรักษา แพทย์จะวินิจฉัยและให้ยารักษาโรคหรือกดโรคให้อยู่ในภาวะสงบอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป ทั้งนี้ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ หรืออาจเป็น ๆ หาย ๆ หากอาการกำเริบขึ้นมาควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อรับยาโดยการฉีดหรือการกินตามพิจารณาของแพทย์ อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถรักษาอาการให้อยู่ในภาวะสงบได้ หากได้รับการวินิจฉัยถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ […]

1 86 87 88 89 90 278
...