ชัวร์ก่อนแชร์: “เงามนุษย์” ที่ฮิโรชิมะ คือร่างเหยื่อที่ระเหิดเพราะนิวเคลียร์ จริงหรือ?

เงามนุษย์จากระเบิดนิวเคลียร์ ไม่ใช่ซากของเหยื่อจากระเบิด เหตุผลที่พื้นคอนกรีตมีสีเข้ม เพราะไม่ได้สัมผัสรังสีจากนิวเคลียร์โดยตรง ต่างจากบริเวณโดยรอบที่สีซีดจางลงเพราะสัมผัสรังสีโดยตรง

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต อันตรายของน้ำอัดลม จริงหรือ ?

16 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับน้ำอัดลมเอาไว้มากมาย บ้างก็ว่าอันตราย ดื่มแล้วจะกัดกระเพาะ บ้างก็ว่า ดื่มน้ำอัดลมผสมกับนม กลายเป็นหินปูนเกาะลำไส้ ?!  เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ห้ามดื่มน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลัง จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปเตือนว่าห้ามดื่มน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังเพราะอาจมีอันตรายถึงชีวิต โดยมีคลิปการทดลองผสมเครื่องดื่มทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน แล้วเกิดเป็นฟองสีขาวฟูขึ้นมาอย่างน่าตกใจ เมื่อทิ้งไว้สักครู่ฟองสีขาวนั้นจะเกิดการแข็งตัว ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “การกินน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังสามารถทำได้ ไม่เป็นอันตราย ส่วนประกอบของเครื่องดื่มทั้งสองชนิด ไม่มีส่วนประกอบใดที่ทำให้เกิดลักษณะดังกล่าว ส่วนภาพในคลิปนั้นอาจจะเป็นการทดลองทำ Polyurethane Foam ซึ่งใช้สารที่มีสีน้ำตาลคล้ายกันกับน้ำอัดลม ในความเป็นจริงผลเสียที่จะเกิดขึ้นเมื่อกินน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังก็คือ การที่ร่างกายของเราจะได้รับน้ำตาลมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคอ้วนนั่นเอง” อันดับที่ 2 : น้ำอัดลมอันตราย จริงหรือ ? มีการแชร์อินโฟกราฟิกเตือนให้ระวังภัยหลายอย่างจากการดื่มน้ำอัดลม เช่น ฟันผุ กระดูกบาง ตับถูกทำลาย เบาหวาน รวมไปถึงมะเร็ง ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ดร.สืบพงษ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เด็กชายเมืองนางาซากิ คือที่มาประโยค “ตัวเขาไม่หนัก เขาคือน้องชายผม” จริงหรือ?

ไม่มีหลักฐานว่าช่างภาพที่ถ่ายภาพเด็กชายเมืองนางาซากิได้สนทนากับเด็กชาย และมีหลักฐานว่าประโยค He’s not heavy; He’s my brother ถูกใช้มาตั้งแต่ปลายศวรรษที่ 19

The Future : อนาคตทางไซเบอร์ที่ควรต้องรู้ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

16 สิงหาคม 2023 มาต่อกันใน บทที่ 5 ของหนังสือ The Cyber Mindset ว่า ในอนาคต โลกไซเบอร์จะมีภัยอะไรที่เราควรต้องระวัง และเราควรจะต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างไร ติดตามได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

กว่าจะมาเป็นหนังสือ The Cyber Mindset | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

15 สิงหาคม 2023 เจาะลึก! เบื้องหลังว่า กว่าจะมาเป็นหนังสือ The Cyber Mindset นั้น มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร และเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ น่าสนใจแค่ไหน มาร่วมเจาะลึกเนื้อหาแบบ Exclusive ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

สภาวะเสี่ยงบนโลกไซเบอร์| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

14 สิงหาคม 2023 DCASTบนโลกไซเบอร์ที่คุณเล่นอยู่ทุกวันนั้น อาจมีภัยบางอย่างที่คุณไม่รู้ และพร้อมจะโจมตีคุณอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงต้องเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ตกอยู่ใน สภาวะเสี่ยงทางไซเบอร์ มาร่วมฟังแนวคิดการป้องกันภัยร้ายบนโลกไซเบอร์ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : ก้มหน้าดูมือถือมากไป ทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ จริงหรือ ?

7 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เรื่องเล่าเตือนว่า ผู้สูงวัยรายหนึ่ง ปวดศีรษะรุนแรง หมอสอบประวัติ พบสาเหตุว่าเป็นเพราะนั่งก้มหน้าเล่นมือถือมากเกินไป จนกดทับกระดูกต้นคอ ยิ่งก้มมาก ก้มนาน เสี่ยงอัมพฤกษ์อัมพาตได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ -การปวดศีรษะรุนแรง เป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง-การก้มหน้าเล่นมือถือทำให้ปวดต้นคอ เป็นอาการของกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม ดังนั้น อาการดังกล่าวข้างต้นไม่ใช่โรคเดียวกัน จึงไม่ควรแชร์ต่อให้เกิดความเข้าใจผิด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ประจักษ์ ศรีรพีพัฒน์ หัวหน้าสาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จากเรื่องราวที่แชร์มามีสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กัน อาการกระดูกคอเสื่อม หรือกล้ามเนื้อหลังไม่ดี ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดหัวรุนแรง และหมดสติเฉียบพลัน แต่อาการปวดคอ มึนศีรษะนั้นมีความเป็นไปได้ Q : ตามที่แชร์กัน ผู้สูงอายุมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แพทย์ต้องตรวจ MRI เพื่อสแกนหาผลผิดปกติ ?A : อาการแบบนี้จะไม่ใช่อาการกลุ่มออฟฟิศซินโดรม แพทย์ต้องทำ MRI เพื่อหาตำแหน่งเลือดออกในสมองหรือบริเวณที่สมองว่าได้รับความเสียหายหรือไม่ หากมีเลือดออกแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและแยกโรคเพื่อเป็นแนวทางในการหาสาเหตุของภาวะเลือดออกในสมองได้ทันท่วงที Q : […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพเด็กหญิงตาบอด เพราะจ้องมองระเบิดนิวเคลียร์ฮิโรชิมะ จริงหรือ?

ภาพเด็กหญิงตาบอด ถ่ายขึ้นที่เมืองฮิโรชิมะในปี 1963 หรือ 18 ปีหลังการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองฮิโรชิมะ

ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพระเบิดนิวเคลียร์เป็นของปลอม เพราะกล้องทนแรงระเบิดไม่ได้ จริงหรือ?

กล้องสำหรับถ่ายการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากรัศมีการระเบิด และได้รับการปกป้องจากกล่องป้องกันรังสี

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เวย์โปรตีน คืออะไร ? ทำไมต้องกิน ?

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวย์โปรตีนคืออะไร เวย์คือโปรตีนในน้ำนมชนิดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของเหลวที่เหลือจากการตกตะกอนโปรตีนเคซีนในการผลิตชีส โดยปกติชีสมักผลิตจากนมวัวซึ่งมีปริมาณโปรตีนอยู่ 3.5% ประกอบไปด้วยโปรตีน 2 ชนิด ได้แก่ casein 2.8% และ whey 0.7% หรือคิดเป็น casein 80% และ whey 20% โดยประมาณ ประโยชน์ของเวย์โปรตีน เวย์เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เร็ว ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ มีกรดอะมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) อยู่ครบ และมีกรดอะมิโนชนิด branched-chain amino acid (BCAA) (ได้แก่ leucine, isoleucine และ valine) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือสร้างเนื้อเยื่อเพิ่มเติม เวย์โปรตีนมี 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แพ้กลูเตน

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลูเตน คืออะไร ? กลูเตน (gluten) คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในธัญพืช (cereal) จำพวกข้าวสาลี (wheat) ข้าวไรน์ (rye) ข้าวบาร์เลย์ (barley) ข้าวโอ๊ต (oat) ซึ่งแป้งที่ทำจากข้าวสาลีถูกใช้เป็นวัตถุดิบอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารหลากหลายประเภท โดยเฉพาะในอาหารประเภทเบเกอรี่ เมื่อกินเข้าไปแล้วก่อให้เกิดอาการแพ้ในบางคนที่ร่างกายไวต่อกลูเตน (แพ้กลูเตน) อาจมีอาการท้องเสีย แก๊สในกระเพาะ ท้องอืด รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเซลิแอค (Celiac Disease) อาหารประเภทธัญพืชมักมีโปรตีนกลูเตนเป็นส่วนประกอบ ยกตัวอย่างเช่น ซีเรียล ขนมปัง ขนมเค้กที่อบจากแป้งสาลี แพนเค้ก วาฟเฟิ้ล เพรสเซล คุ้กกี้ แครกเกอร์ พิซซ่า ซาลาเปา รวมไปถึงเส้นพาสต้า หรือเส้นสปาเกตตี้ เส้นมักกะโรนี เป็นต้น นอกจากแป้งที่มีกลูเตนแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่พบกลูเตน ? […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 7 สัญญาณบ่งบอกโรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง จริงหรือ ?

🎯 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีการแชร์ 7 สัญญาณบ่งบอกโรค SLE บนสื่อสังคมออนไลน์ ข้อ 1 มีไข้เรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ จริง… ผู้ป่วยโรค SLE สามารถพบอาการไข้ได้บ่อย แต่สามารถพบผู้ป่วยโรคอื่นที่มีไข้อ่อนเพลียได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโรคมะเร็ง ก็มีอาการไข้อ่อนเพลียเรื้อรังนำมาได้เหมือนกัน ข้อ 2 เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นอาการแสดงของผู้ป่วยโรค SLE ได้ แต่พบในโรคอื่นได้เหมือนกัน ข้อ 3 มีผื่นขึ้นที่หน้าและร่างกาย โดยไม่ได้เกิดจากอาการแพ้ เรื่องนี้ถูก เพราะอาการผื่นขึ้นเป็นอาการที่พบบ่อยอย่างหนึ่งในผู้ป่วยโรค SLE โดยเฉพาะผื่นไวแสง อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดผื่นไวแสง ยังมีโรคอื่น ๆ อีกที่ไม่ใช่โรค SLE ข้อ 4 มีอาการปวดบวมตามข้อ โดยเฉพาะตอนเช้าหรือตอนตื่นนอน อาการปวดตามข้อ อาจจะเกิดจากการใช้งานก็ได้ แต่ลักษณะที่บอกว่าเป็นตอนเช้า […]

1 81 82 83 84 85 278
...