ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck : สาเหตุที่ทำให้แอร์รถยนต์ไม่เย็น จริงหรือ ?

13 กุมภาพันธ์ 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์สาเหตุที่ทำให้แอร์ของรถยนต์ไม่เย็น เช่น น้ำยาแอร์ขาด และ คอมเพรสเซอร์แอร์พัง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 18 มกราคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

SureVac : COVID-19 ก้าวสู่ปีที่ 5 เชื้อไวรัสยังไม่หมดไปจากโลก

องค์การอนามัยโลกยืนยัน “วัคซีนโควิด” ใช้ได้ผล ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้ ตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันนี้ พ.ศ. 2567 ขึ้นปีที่ 5 แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) มีการรายงานข้อมูล COVID-19 ไว้ว่าตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อแล้วทั้งสิ้น 774 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มากกว่า 7 ล้านคน ถึงแม้ทั่วโลกจะผ่านระยะการระบาดหนักของ COVID-19 ไปแล้ว และก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 ที่มียอดผู้ติดเชื้อสะสมรวมกว่า 5 แสนคน แต่ COVID-19 ยังไม่หมดไปจากโลกนี้ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและมีอาการรุนแรง เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 1 เข็ม และรับเข็มต่อไปห่างจากเข็มแรก 6-12 เดือน ประเทศไทยยังคงมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 และยังมีผู้ป่วยจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงผู้เสียชีวิตเพิ่มจำนวนขึ้น ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ JN.1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นิวซีแลนด์อนุมัติการการุณยฆาตผู้ป่วยโควิด-19 จริงหรือ?

กฎหมายการุณยฆาตนิวซีแลนด์มีไว้สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องการยุติชีวิตให้พ้นจากความเจ็บปวดทรมาน ไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 เท่านั้น

ชัวร์ก่อนแชร์: ออสเตรเลียบังคับฉีดวัคซีนโควิด-19 ระหว่างดมยาสลบ จริงหรือ?

ออสเตรเลียอนุญาตการวางยาสลบก่อนการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้มีอาการกลัวเข็มฉีดยา แต่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้รับวัคซีนก่อนทุกครั้ง ห้ามใช้เพื่อบังคับฉีดวัคซีนทุกกรณี

ชัวร์ก่อนแชร์: ออสเตรเลียห้ามคนไม่ฉีดวัคซีนเข้ารับการผ่าตัด จริงหรือ?

ออสเตรเลียกำหนดให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อน เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ไม่ฉุกเฉิน และผู้ป่วยมีความเสี่ยงป่วยหนักหากติดเชื้อโควิด-19

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ฝุ่น PM 2.5 ทำร้ายดวงตา

8 กุมภาพันธ์ 2567 ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อดวงตาแค่ไหน และจะมีวิธีการดูแล และป้องกันอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ในสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่มีค่าสูงเกินมาตรฐานก็ส่งผลต่อดวงตาได้ เช่น อาการตาแดง ผู้ที่ภูมิแพ้ที่ตาจะมีอาการรุนแรงได้มาก และในผู้ใช้คอนแทคเลนส์ก็จะมีภาวะตาแห้ง ระคายเคืองตา และแสบตาได้มากขึ้น ส่วนในคนที่เป็นภูมิแพ้บริเวณดวงตา เมื่อต้องอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่น PM 2.5 ควรหาแว่นตาชนิดพิเศษที่มีขอบด้านข้างและด้านบนมาใส่เพื่อลดปริมาณ PM 2.5 ที่จะเข้ามาสัมผัสที่ดวงตา วิธีป้องกันดวงตาจากฝุ่น PM 2.5 สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงกิจกรรมในช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 หลีกเลี่ยงการขยี้ตาถ้ามีอาการระคายเคืองตา หรือหยอดน้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและชำระล้างสารระคายเคืองออกไปบางส่วนหากเกิดอาการระคายเคืองตามากจากการแพ้ฝุ่นหรือตาแดงอักเสบมากควรมาพบจักษุแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 23 มกราคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์: โรงพยาบาลโคโลราโดไม่รักษาผู้ป่วยโควิดที่ไม่ฉีดวัคซีน จริงหรือ?

สหรัฐอเมริกามีกฏหมายห้ามไม่ให้โรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาจากสถานะทางการเงินของคนไข้ เช่นเดียวกับสถานะการฉีดวัคซีน

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 วิธีแก้ปัญหา อาการแพนิก จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์แนะนำ 5 วิธีแก้ปัญหา อาการแพนิก คือ หาถุงมาครอบปากกับจมูกแล้วหายใจเข้าออกลึก ๆ ประคบท้องด้วยน้ำอุ่น ข้ามมื้อเย็น หลัก 5 อ. และกลั้นหายใจ 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาพรวมไม่จริง เป็นเพียงบรรเทาอาการเท่านั้น ช่วยให้ผ่อนคลายแต่ไม่ได้รักษา โรคแพนิก คอนเซ็ปต์หลักก็คือภาวะระบบประสาทอัตโนมัติทำงานแปรปรวน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเป็นพัก ๆ สั้น ๆก็หายเป็นปกติ แล้วเป็นขึ้นมาใหม่ ผู้ป่วยก็จะหมกมุ่นกลัวว่าจะเป็นโรคนี้ วิธีที่ 1 แก้อาการแพนิก : นำถุงสะอาดครอบและปากกับจมูกไว้ สูดหายใจเข้าลึก ๆ สูดหายใจออกยาว ๆ ทำไปเรื่อย ๆ จะรู้สึกดีขึ้น ไม่จริง และห้ามทำ ในอดีต ทำวิธีนี้กับผู้ป่วยที่เป็นภาวะหายใจเกิน (Hyperventilation Syndrome) ผู้ป่วยมีเรื่องเครียด เรื่องกดดัน แล้วก็หายใจหอบ มีการแนะนำให้นำถุงกระดาษครอบ และปัจจุบันก็ไม่แนะนำแล้ว ในผู้ป่วยโรคแพนิกไม่แนะนำให้ทำเลย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 สัญญาณเตือนโรคแพนิก จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือน 10 สัญญาณอาการโรคแพนิกที่คุณอาจไม่รู้ เช่น เสียขวัญกะทันหัน ใจสั่น หายใจถี่ คลื่นไส้หรือปวดท้อง 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อาการ 10 อย่างที่แชร์กัน เป็นอาการของภาวะวิตกกังวลสูงเท่านั้นเอง “แพนิก” (panic) ภาษาไทยคือภาวะวิตกกังวลสูงแบบเฉียบพลัน อาการวิตกกังวลสูงแบบเฉียบพลัน จะมีความสำคัญต่อเมื่อเกิดแต่ละครั้งหลาย ๆ อาการ คือต้องมีอาการอย่างน้อย 4-5 อาการขึ้นไป แล้วก็เป็นรุนแรงภายใน 10-15 นาทีแล้วก็เบาลง สัญญาณเตือน “แพนิก” สัญญาณเตือนคือถ้ามีอาการแล้วกังวลมากกว่าปกติ เป็นแล้วหมกมุ่นกับเรื่องนี้หรือไม่ เป็นแล้วกลัวว่าเดี๋ยวจะเป็นโรคนี้หรือเปล่า ต้องไปหาหมอแล้วไปหาหมออีก จะไปไหนก็กลัวว่าจะเป็นอีก อย่างนี้คือสัญญาณเตือนแล้วว่าไม่ใช่แค่วิตกกังวลสูง อย่างนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าน่าจะเป็นโรคแพนิกแล้ว สัญญาณ 1 : เสียขวัญกะทันหัน กลัวอย่างรุนแรง กลัวรุนแรง ไม่สบายใจโดยไม่คาดคิด อาจจะเป็นอาการเตือนของแพนิกได้ ซึ่งโดยมากผู้ป่วยจะไม่มีอาการเดียว มักจะเกิดร่วมกับใจสั่น แน่นหน้าอก มาเป็นชุด คำว่า “เสียขวัญ” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารที่ผู้ป่วยโรคแพนิกควรเลือก-ควรเลี่ยง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความ อาหารกับผู้ป่วยแพนิก เช่น 4 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะทำให้อาการกำเริบ และ 6 อาหารที่ควรเลือกกิน เพื่อช่วยลดการเกิดโรคแพนิก 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมมีบางส่วนที่เป็นความจริง นั่นคือการหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น แอลกอฮอล์ และกาเฟอีน นั่นคือเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นทั้งหลาย แต่กรณีอาหารอย่างอื่นยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน 1. หลีกเลี่ยง “กาเฟอีน” ช่วงที่กำลังมีอาการแพนิก และให้การรักษาอยู่ก็จะแนะนำให้งดกาเฟอีนเลย แต่ในผู้ป่วยหลาย ๆ คน มีอาการดีขึ้นกลับสู่ปกติ กินยาคงอาการอยู่ก็ดื่มกาเฟอีนได้ ซึ่งมีหลายคนดื่มแล้วปกติแต่ก็บอกว่ามีความเสี่ยงเหมือนกัน แต่ควรดื่มกาแฟชนิดที่ไม่มีกาเฟอีน 2. หลีกเลี่ยง “แอลกอฮอล์” เรื่องแอลกอฮอล์ ถ้าดื่มเล็กน้อย นิดหน่อยผ่อนคลาย แต่ถ้าดื่มมาก ๆ อันตราย ในช่วงที่ระดับแอลกอฮอล์ตก จะมีภาวะเหมือนกับตื่นตัว หรือบางคนก็เหมือนภาวะขาดแอลกอฮอล์ ช่วงที่อยู่ในภาวะตื่นตัวกระตุ้นอาการแพนิกได้ หรืออยู่ในลักษณะเมามากเกินไปก็กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติให้ทำงานมากเกินไปได้ 3. หลีกเลี่ยง “ผงชูรส” เรื่องนี้ไม่จริง ถ้าจะมีอาการก็เป็นอาการข้างเคียงของแต่ละคน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สัญญาณและการป้องกันมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ อาการเป็นอย่างไร มีสัญญาณเตือนหรือไม่ และจะมีวิธีการป้องกันได้อย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ สาขาวิชามะเร็งวิทยานรีเวชภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล “รังไข่” ถ้าไม่ปกติก็จะเป็นเนื้องอก “มะเร็งรังไข่” ก็คือ รังไข่กลายเป็นเนื้องอกชนิดร้าย จากประสบการณ์ตรงที่ผ่านมาเคยผ่าตัดเด็กอายุน้อยที่สุด 2 ขวบเป็นมะเร็งรังไข่แล้ว และอายุมากที่สุด 100 ปี จะเห็นได้ว่าช่วงของการเป็นมะเร็งรังไข่กว้างมาก สำหรับช่วงอายุที่พบมะเร็งรังไข่มากที่สุด คือประมาณ 50 ปีขึ้นไป ระยะของโรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งรังไข่มี 4 ระยะ ตั้งแต่ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 เสียดายมากว่ามะเร็งรังไข่ไม่มี “ระยะก่อนมะเร็ง” ซึ่งในมะเร็งบางชนิดมีระยะก่อนมะเร็งด้วย สำหรับมะเร็งรังไข่ ถ้าพบระยะที่ 1 เรียกว่าแทบจะรักษาหายได้ ในทางการแพทย์ ไม่ต้องการจะใช้คำว่า “หายขาด 100 เปอร์เซ็นต์” ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งดี ไม่มีการกลับเป็นซ้ำ หรือกลับเป็นซ้ำแล้วตรวจพบได้ตั้งแต่แรก ขึ้นกับการ “ตรวจ-ติดตาม” อย่างรอบคอบ ไม่ประมาท และสม่ำเสมอ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต พยาธิในเมนูดิบ อันตรายถึงชีวิต จริงหรือ ?

7 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับอันตรายจากเมนูดิบ ทั้งเตือนกินกุ้งดิบเสี่ยงตาบอดจากพยาธิปอดหนู และห้ามกินผักสดที่ล้างไม่สะอาด เพราะมีพยาธิ อาจไปฝังในลิ้นได้นั้น เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : คลิปดึงหนอนพยาธิจากแขน เพราะกินปลาดิบ จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปเตือนการกินปลาดิบ เนื้อดิบ จะทำให้มีหนอนพยาธิฝังอยู่ในร่างกาย ในคลิปเห็นเป็นการดึงตัวหนอนออกมาจากแขนของผู้ป่วย บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาพที่แชร์ในคลิปไม่ใช่พยาธิจากการกินปลาดิบ แต่เป็น “หนอนแมลงวัน” หรือ bot fly พบมากที่ทวีปอเมริกาใต้ มีลักษณะพิเศษคือ ไม่มีปาก ไม่กินอาหาร ได้รับโปรตีนช่วงที่เป็นหนอน วงจรชีวิต 3-4 วัน ผสมพันธุ์-วางไข่ โดยจะฝากไข่ไว้บนแมลงตัวอื่น เช่น แมลงวันตัวเล็ก ๆ แมลงวันบ้าน หรือยุง เมื่อแมลงที่ถูกฝากไข่ไปเกาะบนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อุณหภูมิบนผิวหนังจะกระตุ้นให้ไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอนและไชเข้าไปในผิวหนัง  ผู้เชี่ยวชาญกล่าวต่อว่า ไม่เคยพบแมลงชนิดนี้ในไทย […]

1 48 49 50 51 52 277
...