ชัวร์ก่อนแชร์: Nearer, My God, to Thee คือเพลงสุดท้ายที่บรรเลงบนเรือ Titanic จริงหรือ?

ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าเพลงใดคือเพลงสุดท้ายที่บรรเลงบนเรือ Titanic แม้ผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่จะเล่าว่าเป็นเพลง Nearer, My God, to Thee ก็ตาม

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต เรื่องปิ้งย่างและหมูกระทะ จริงหรือ ?

5 กรกฎาคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับเมนูฮิตอย่างปิ้งย่างหรือหมูกระทะเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าก่อนกินหมูกระทะตองถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อน และยังมีวิธีกินปิ้งย่างที่ห่างไกลมะเร็งอีกด้วย ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : มันหมูเป็นอาหารสุขภาพอันดับ 8 ของโลก จริงหรือ ? มีการแชร์แนะนำว่าไขมันหมูคืออาหารสุขภาพที่ได้รับการจัดเป็นอันดับ 8 ของอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในโลก ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลSeunghyeon Kim ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัย Hong Kong BaptistPan-Jun Kim ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัย Hong Kong Baptist บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌  “แม้งานวิจัยระบุว่ามันหมูมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายก็จริง แต่ไม่ควรกินมากเกินไปจนลืมนึกถึงโทษที่ตามมา” อันดับที่ 2 : อะลูมิเนียมฟอยล์ย่างหมู อันตรายจริงหรือ ? มีการแชร์คลิปการทำหม้อชาบู-ย่างหมูกระทะ โดยใช้กระดาษอะลูมิเนียมฟอยล์กับเทียนไข ต่อมาก็มีการแชร์กันว่าวิธีดังกล่าวเป็นอันตราย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck : รถยนต์ EV ระเบิดง่ายกว่ารถอื่น แม้ขณะจอด จริงหรือ ?

4 กรกฎาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คำเตือนว่า รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ระเบิดง่ายกว่ารถอื่น ๆ แม้ขณะจอด หรือขณะชาร์จไฟ นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับนายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ระบุว่า จากสถิติกลุ่มรถยนต์ที่เกิดไฟไหม้มากที่สุดไม่ใช่รถยนต์ไฟฟ้า แต่เป็นรถยนต์ Hybrid เพราะ มี 2 ระบบ ทั้งน้ำมัน และ ไฟฟ้า  มีทั้งการรั่วไหลของเชื้อเพลิงกับไฟฟ้าแบตเตอรี่ สาเหตุของการเกิดไฟไหม้ของรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ เรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ รถไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ ยังต้องมีการทดสอบความปลอดภัยค่อนข้างมากทั้ง รถไฟฟ้า แบตเตอรี่ และสถานีชาร์จที่มีกำลังไฟฟ้าสูง ในประเทศไทยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มีแผนกำหนดมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้ประชาชนมีความมั่นใจที่จะเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต ปัญหาสุขภาพฟัน จริงหรือ ?

28 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพฟันเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าเกลือช่วยรักษาฟันผุ และมีวิธีขจัดหินปูนแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องรักษากับแพทย์นั้น เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : จะผ่าฟันคุดต้องรอให้เห็นฟันขึ้นก่อน  จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อสงสัยว่า คนที่มีฟันคุดจะต้องรอให้ฟันขึ้นมาจนหมดค่อยผ่าออกนั้น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ทพ.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ ประธานราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย  บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “หากอายุระหว่าง 17-21 ปี สามารถผ่าฟันคุดออกได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ฟันคุดขึ้นทะลุเหงือกออกมา และหากยิ่งทำเร็วการผ่าตัดก็ยิ่งง่าย ทั้งยังช่วยลดอาการบอบช้ำของเหงือกได้ด้วย” อันดับที่ 2 : วิธีขจัดคราบหินปูนที่ฟันด้วยวิธีธรรมชาติ จริงหรือ ? มีการแชร์ 10 วิธีขจัดคราบหินปูนที่ฟันด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น การทำออยล์พูลลิ่ง การใช้น้ำมันดูดสารพิษ การใช้เบกกิ้งโซดา ไปจนถึงการใช้พืชหรือสมุนไพรต่าง ๆ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  อ.ทพ.ดร.อรรถวุฒิ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Titanic อับปางเพราะอาถรรพ์ Unlucky Mummy จริงหรือ?

ข้อมูลจากบัญชีสินค้าของเรือ Titanic ยืนยันว่าไม่มีการบรรทุกหีบศพมัมมี่ขึ้นเรือ ส่วนหีบศพ Unlucky Mummy ก็ยังถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ British Museum

ชัวร์ก่อนแชร์ : แชร์คลิปหนังสั้นมูลนิธิเวชดุสิต 1 วิว = 1 บาท จริงหรือ ?

4 กรกฎาคม 2566 ตามที่มีการส่งต่อข้อความขอให้ช่วยแชร์คลิปหนังสั้น ที่อ้างว่าสร้างขึ้นโดย “มูลนิธิเวชดุสิต” เพื่อหาทุนช่วยเหลือการศึกษาให้เด็ก โดย 1 ยอดวิว = 1 บาท และมีเป้าหมายที่ 2 ล้านบาท นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า คลิปที่แชร์พร้อมข้อความนั้น เป็นคลิปให้กำลังใจของศิลปินคนตาบอด S2S ซึ่งทางวงดนตรีก็ได้ชี้แจงไว้แล้วว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อความที่แชร์กัน [Official MV] กำลังใจ by ศิลปิน S2S ด้านมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอดและมูลนิธิเวชดุสิต ต่างยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อความและขอรับบริจาคตามที่แชร์กันแต่อย่างใด โดยที่ผ่านมาในปี 2558 ทางมูลนิธิเวชดุสิตเคยจัดทำคลิป Unlimited Dreams เพราะความฝันไม่มีวันพิการ ปีที่ 1 2558 โดย 1 วิวที่เข้าชม มูลนิธิได้ร่วมสมทบทุน 1 บาทผ่านโครงการความฝันไม่มีวันพิการ และโครงการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้วเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ปลายปี 2558 ดังนั้น จึงแนะนำว่า ❌ ข้อความที่แชร์กันไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ หากท่านใดมีความประสงค์ต้องการจะบริจาคสมทบทุนให้แก่มูลนิธิเวชดุสิตฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ไมยราบ หญ้าวิเศษ รักษาสารพัดโรค จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำ สมุนไพร “ไมยราบ”เป็น “หญ้าวิเศษ” แก้ลมพิษทันใจ แก้ได้หลายโรคนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระบุว่า ในตำราสมุนไพรมีการกล่าวถึงสรรพคุณของไมยราบว่าสามารถเอาไปตำละเอียดมาโปะทาแก้ลมพิษใช้ในการขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวง รักษาการตกขาว ช่วยเรื่องการนอนหลับได้ สามารถนำมากินเพื่อบรรเทาอาการชั่วคราวได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกินทุกวันหรือระยะยาว เพราะอาจมีทำให้เซลล์ผิดปกติได้หรือมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : เทคนิคสังเกต ขบวนการหลอกสมัครงาน 

เทคนิคสังเกต ขบวนการหลอกสมัครงาน ระวังไว้ …หางานผ่านออนไลน์ ได้งานง่ายเงินดี ชวนลงทุนเพิ่ม เสริมกำไรแต่สุดท้าย อาจเงินหาย ได้หนี้เพียบ สังเกตไว้ก่อนปัจจุบันคนร้ายมีวิธีใหม่ๆ ที่เข้าถึงเราได้ง่ายดายยิ่งขึ้นแค่พิมพ์ผลการค้นคำว่า “สมัครงานออนไลน์”ก็สามารถนำไปสู่คนร้ายที่วางกับดักไว้รออยู่แล้วต้องตั้งสติและลองมองหาจุดน่าสงสัยเหล่านี้ บริษัทน่าเชื่อถือไหม ?ทำไมรับเข้าทำงานง่ายจัง ?ทำไมประกาศรับสมัครงานดูไม่เป็นทางการ ?ทำไมค่าตอบแทนถึงเยอะผิดปกติ ? เตือนใจไว้เสมอโลกออนไลน์มีหลายภัยที่ปลอมตัวมาอย่างแนบเนียนอย่าลืมตระหนักความเสี่ยง และระวังตัวไว้เสมอหากจะสมัครงานต้องอย่าลืมคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ไม่มีงานไหนให้โอนเงินก่อนการทำงานทั่ว ๆ ไป จะไม่มีการให้คนสมัครงานโอนเงินเข้าไปก่อนและเสียเงินจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆเช่น จ่ายค่าประกันสินค้าก่อน หรือยิ่งทำไปยิ่งเริ่มให้ไปเล่นคล้าย ๆ เล่นการพนันแทงสูงแทงต่ำ ลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆให้ระวังไว้ก่อนว่า อาจจะถูกมิจฉาชีพหลอกได้ เช็กความน่าเชื่อถือของบริษัททุกครั้งเช็กความน่าเชื่อถือของบริษัทควรโทรสอบถามว่าบริษัทมีการให้บริการในลักษณะนี้จริงไหมมีงานในลักษณะนี้หรือไม่ ลงทุนต่ำค่าตอบแทนสูงยิ่งเสี่ยงถูกหลอกงานลงทุนน้อยแต่ได้เงินมาก ๆ มีอยู่น้อยมากลงทุนต่ำ ๆ แต่ได้ผลตอบแทนสูงมากผิดปกติลักษณะนี้อาจจะเป็นการถูกหลอกได้ ต้องไม่โอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวเด็ดขาดส่วนใหญ่การหลอกให้โอนเงิน จะให้โอนเงินเข้าสู่บัญชีของบุคคลธรรมดา ซึ่งบริษัทใหญ่ ๆ ทั่ว ๆ ไปจะไม่มีการให้โอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวของพนักงานเด็ดขาดถ้ามีให้สงสัยไว้ก่อนว่า ไม่ปกติ ทางออกไว้แก้หากเริ่มไม่แน่ใจว่าถูกหลอกแบบนี้อยู่หรือไม่หรือโดนหลอกไปแล้วขอแนะนำให้เก็บหลักฐานไว้โดยด่วน ตั้งแต่เริ่มการคุยแชทครั้งแรกไปจนถึงการโอนเงิน แคปภาพเก็บหลักฐานโอนไปที่บัญชีใครจำนวนกี่ครั้งแต่ละครั้งจำนวนเท่าไรและพิมพ์บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วไปแจ้งความ

ชัวร์ก่อนแชร์ : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ?

3 กรกฎาคม 2566 ตามที่มีการแชร์ข้อความ “ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก” นั้น สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า เพจเฟซบุ๊กของ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน ได้ออกประกาศยืนยันว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับโฆษณาชวนเชื่อและไม่มีนโยบายชวนลงทุนใด ๆ ทั้งการเทรดหุ้นระยะสั้น ระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนสูง ผ่านสื่อออนไลน์หรือโทรศัพท์ ทั้งสิ้น 🎯 บริษัทอมตะ มีเพจเฟซบุ๊กเดียว คือ “AMATA” เท่านั้น เพจอื่น ล้วนเป็นเพจปลอมที่ถูกสร้างขึ้นโดยมิจฉาชีพ มีทั้งการแอบอ้างใช้รูปคุณวิกรม กรมดิษฐ์ สัญลักษณ์ของบริษัทอมตะ รวมถึงมีการสร้างจดหมายปลอมขึ้น ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ เกิดการเสียทรัพย์จำนวนมาก ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนทุกครั้ง 🎯 ทั้งนี้บริษัทอมตะได้รวบรวมรายชื่อเพจปลอมได้ตามลิงก์ด้านล่างรวมเพจปลอมแอบอ้างบริษัทอมตะหมายเหตุ: รายชื่อที่เพจปลอมข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น มิจฉาชีพอาจมีการปรับเปลี่ยนชื่อไปเรื่อย ๆ 3 กรกฎาคม 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีการตรวจสอบตาเหล่หรือตาเข ใช้ได้จริงหรือ ?

2 กรกฎาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์วิธีการตรวจสอบดวงตาว่ามีภาวะตาเหล่หรือตาเขหรือไม่ สำหรับเด็กต้องวิ่งเล่นจนเหนื่อยจึงจะตรวจสอบได้และ ในผู้ใหญ่ตรวจสอบได้โดยการยืนส่องกระจกห่างออกมา 1 เมตรนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย Q : เด็กต้องวิ่งเล่นจนเหนื่อย จึงจะตรวจสอบตาเขได้ จริงหรือ ?A : วิธีนี้ใช้ได้กับเด็กที่มีปัญหาตาเขออกนอกบางเวลาเท่านั้น การให้เด็กเล่นจนเหนื่อยหรือเพลียมาก เขาอาจจะแสดงออกให้คนรอบข้างเห็น เพราะเด็กจะหมดแรง ในการเพ่งกล้ามเนื้อตา หรือควบคุมกล้ามเนื้อตาทั้งสองข้างให้อยู่ตรงกัน Q : ผู้ใหญ่ตรวจสอบได้โดยการยืนส่องกระจกห่างออกมา 1 เมตร จริงหรือ ?A : เป็นวิธีสังเกตตัวเองสำหรับคนที่ตาเขมาก ๆ แต่สำหรับคนที่มีอาการน้อย ก็จะสังเกตไม่แน่ชัด Q : วิธีดูตาเขหรือตาเหล่ เบื้องต้นทำอย่างไร ?A : แพทย์จะดูตำแหน่งของตาดำจากภายนอก ดูปฏิกิริยาจากการส่องไฟฉาย ดูการโฟกัสของสายตาและการมองเห็น โดยแพทย์จะสังเกตเงาไฟฉาย […]

1 83 84 85 86 87 127
...