ชัวร์ก่อนแชร์: รวมข่าวบิดเบือน “การเผา” ในเหตุประท้วงฝรั่งเศส 2023
เหตุประท้วงในประเทศฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2023 กลายเป็นการจลาจลที่สร้างความเสียหายในวงกว้าง มีอาคารร้านค้าได้รับความเสียหายจากการถูกวางเพลิงจำนวนมาก
เหตุประท้วงในประเทศฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2023 กลายเป็นการจลาจลที่สร้างความเสียหายในวงกว้าง มีอาคารร้านค้าได้รับความเสียหายจากการถูกวางเพลิงจำนวนมาก
กระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศสและกระทรวงกิจการยุโรปและการต่างประเทศฝรั่งเศสยืนยันว่าไม่มีการจำกัดการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อควบคุมการประท้วงแต่อย่างใด
15 กรกฎาคม 2566 สิ่งนี้… มักเกิดขึ้นในช่วง learn and work from home สิ่งนี้…องค์การอนามัยโลก ได้ขึ้นทะเบียนรับรองให้เป็นโรคใหม่ในยุคปัจจุบัน และ สิ่งนี้… เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั่วโลก คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล BURNOUT คืออะไร ? คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียด จนบางครั้งรู้สึกมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย ไม่หยิบจับทำอะไร รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองงานที่กำลังอยู่ในเชิงลบ ขาดความสุข สนุกในเนื้องาน หมดแรงจูงใจประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง บางรายอาจรู้สึกเหินห่างจากเพื่อนร่วมงาน จนทำให้ความมีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน เบิร์นเอาต์ไม่ใช่แค่เรื่องของวัยทำงาน ในปัจจุบันภาวะ BURNOUT ส่งผลมาถึงเด็กและเยาวชน เกิดจากเร่งเรียน เรียนเร็ว เรียนหนัก และภาวะ BURNOUT ในเด็ก ส่งผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้เด็กขาดการออกกำลังกาย ขาดแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เบื่อเรื่องการเรียนไปเลย […]
🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า ยื่นจอเมื่อเด็กงอแง ใช้ได้จริงหรือ ? 📌 บทสรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การทำให้เด็กหยุดร้องไห้ด้วยการยื่นจอให้เด็ก เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอารมณ์ขุ่นมัว เป็นวิธีแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ระยะยาวแก้ไม่ได้ ซ้ำร้ายอาจส่งผลทำให้เด็กคนนั้นไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ปัจจุบัน เวลาเห็นเด็กร้องไห้งอแงไม่พอใจ พ่อแม่จำนวนมากจะหยิบยื่นสื่อหน้าจอให้ มีส่วนหนึ่งยื่นให้แล้วเปิดทันทีเด็กก็จะหยุดร้อง นั่นคือเรากำลังเบี่ยงเบนความสนใจจากอารมณ์ขุ่นมัวของเด็กไปอยู่ที่หน้าจอ ทำให้พ่อแม่เห็นว่าสื่อหน้าจอมีข้อดี จึงใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ 👉 การยื่นจอ เกิดผลเฉพาะหน้า แต่ระยะยาวเด็กควบคุมตัวเองไม่ได้ การยื่นจอให้เด็กจะใช้ได้ผลในระยะสั้น แต่เป็นการบ่มเพาะทำให้เด็กควบคุมตัวเองไม่ได้ระยะยาว ปัจจุบัน เริ่มมีข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าถ้าพ่อแม่ใช้สื่อหน้าจอเพื่อจะทำให้เด็กสงบ กลับกลายเป็นว่าลูกมีโอกาสที่จะควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้สูงมากขึ้น จากข้อมูลนี้ สรุปว่าการใช้สื่อหน้าจอเพื่อให้เด็กสงบอาจทำให้เด็กขาดโอกาสเรียนรู้วิธีที่จะทำอย่างไรให้ตัวเองสงบได้ 👉 ทำอย่างไร พ่อแม่ไม่ต้องยื่นจอให้เด็ก ถ้าไม่มีจอ พ่อแม่ต้องเบี่ยงเบนความรู้สึกไม่พอใจ เช่น พาลูกนับ 1-10 หรือประเด็นที่พบบ่อยคือใช้วิธีสะท้อนอารมณ์เด็ก […]
🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า หลายผลเสียจากการติดจอ จริงหรือ ? 📌 บทสรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีที่สื่อสังคมออนไลน์มีการเตือนความเสี่ยงหลายอย่างจากการติดจอ เช่น โมโหร้าย สมาธิสั้น ไปจนถึงเจ้าอารมณ์ พัฒนาการช้านั้น มีความจริงในบางส่วน เรื่องพฤติกรรม เช่น ซน สมาธิสั้น การควบคุมตัวเองไม่ได้ โมโห หงุดหงิด มีข้อมูลว่าความสัมพันธ์เหล่านี้เกิดขึ้นร่วมด้วย การใช้สื่อที่ไม่เหมาะสมอาจจะส่งผลต่อการเรียนได้ เด็กใช้สื่อหน้าจอไม่สามารถกำกับควบคุมตัวเองได้ และทำงานที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนไม่สำเร็จ นอกจากนี้ ส่งผลด้านร่างกายด้วย ข้อมูลการศึกษาช่วงล็อกดาวน์พบว่ามีผลต่อการใช้สื่อหน้าจอมาก เรื่องภาวะสายตาสั้น ส่วนคนที่สายตาสั้นอยู่แล้วแนวโน้มสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น โรคทางกายอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน มีข้อมูลมานานแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะพฤติกรรมเนือยนิ่ง ทำให้เด็กขาดโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย รวมไปถึงปัญหาการนอน ถ้าใช้สื่อหน้าจอที่ไม่เหมาะสม จะสัมพันธ์กับปัญหาการนอนมากขึ้น […]
🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า “แค่เปิด ‘จอ’ ทิ้งไว้ ก็เป็นภัยกับลูกแล้ว จริงหรือ ?” 📌 บทสรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องนี้จริง โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย ก่อนอายุ 2-3 ขวบลงมา ปัจจุบันมีข้อมูลงานวิจัยมากพอสมควร ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การเปิดจอทิ้งไว้ ทางการแพทย์เรียกว่า “Background media” หมายความว่า เป็นสื่อที่ผลิตขึ้นมาสำหรับผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะเปิดไว้และดู เพียงแต่เด็กถูกเลี้ยงดูอยู่ในห้องนั้นด้วย ซึ่งเด็กอาจจะไม่ได้รับประโยชน์จากสื่อที่เปิดทิ้งไว้เหล่านี้ ปัจจุบัน งานวิจัยยังไม่สามารถแยกออกมาแต่ละส่วนได้ คือทั้งภาพและเสียง หรือจะรวมหมดทั้งภาพและเสียง การเปิดเฉพาะภาพ หรือเฉพาะเสียง ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอขนาดนั้น แต่ถ้ายิ่งเปิดก็จะมีการรับทางประสาทสัมผัสทางเดียว เช่น ทางตา หรือทางหู ก็จะส่งผลได้เหมือนกัน แต่อาจจะไม่ได้มากเท่า 👉 […]
🎯 ชัวร์ก่อนแชร์ : ติดจอ ทำให้เด็กเป็นออทิสติก จริงหรือ ? 📌 บทสรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 👉 เรื่องเด็กติดจอเสี่ยงเป็นออทิสติก มีความสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ จากข้อมูลงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กที่ใช้สื่อหน้าจอจำนวนมากและใช้เร็ว มีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัยพฤติกรรมคล้ายออทิสติก ขณะเดียวกัน เด็กออทิสติกก็สัมพันธ์กับการใช้สื่อหน้าจอเพิ่มขึ้น 👉 “ออทิสติก” เป็นโรคของระบบประสาทและพัฒนาการ อาการค่อย ๆ ปรากฏให้เห็นในภายหลัง อาการหลัก ๆ ของเด็กออทิสติกคืออยู่ในโลกส่วนตัว มีพฤติกรรมไม่ค่อยมองหน้า ไม่สบตา เรียกชื่อไม่ค่อยหัน ใช้ภาษาท่าทางไม่มาก สิ่งสำคัญคือเด็กกลุ่มนี้พูดสื่อสารล่าช้าและมีภาษาของตัวเอง นอกจากนี้ มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ ชอบเล่นอะไรที่มีลักษณะหมกมุ่น เด็กบางคนมีพฤติกรรมชอบสะบัดมือหรือหมุนตัว กรณีที่เป็นมากอาจจะทำร้ายตัวเอง 👉 […]
🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า “งดจอ! ก่อน 2 ขวบ” พร้อมแสดงภาพเปรียบเทียบสมองเด็กที่อ่านหนังสือ ใยประสาทเรียงเป็นระเบียบ เด็กที่ดูจอ ใยประสาทกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ 📌 บทสรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 👉 ช่วงปฐมวัย (ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ) สมองของเด็กมีความสำคัญมาก พ่อแม่จำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น มีการอ่านหนังสือนิทาน การเล่น การร้องเพลง จะเป็นการช่วยให้เซลล์ประสาทและโครงสร้างสมองมีการจัดเรียงตัวอย่างเหมาะสม เป็นรากฐานการเรียนรู้ขั้นต่อ ๆ ไป 👉 ถ้าการจัดเรียงตัวของใยประสาท “เป็นระเบียบ” และเด็กได้เรียนรู้ในชั้นที่สูงขึ้น ก็สามารถได้รับข้อมูลต่าง ๆ และเชื่อมโยงส่งผ่านสัญญาณประสาทและประมวลผลออกมา ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่า 👉 การจัดเรียงตัวของใยประสาท […]
15 กรกฎาคม 2566 ในยุคที่โลกไร้พรมแดน การใช้อินเทอร์เน็ต ก็ต้องมีอธิปไตยไซเบอร์ เพื่อปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของเรา แล้วอธิปไตยไซเบอร์คืออะไร ถ้าเราโดนลุกล้ำหรือสูญเสียจะมีผลเสียมากน้อยแค่ไหน และจะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร ติดตามได้ในได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท
16 กรกฎาคม 2566 – โรค MS หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีวิธีการรักษาอย่างไร ผู้ป่วยสามารถหาซื้อยากินเองได้หรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โรค MS เป็นโรคที่ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด มีอาการกำเริบแบบเฉียบพลัน ได้แก่ ตามัว ไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น วิธีรักษาอาการกำเริบของโรคโดยการใช้ยา 1. การให้ยาสเตียรอยด์ เป็นการรักษาในระยะที่มีการกำเริบของโรค โดยสเตียรอยด์จะออกฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบที่กำลังเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ 2. การให้ยารักษาโรคซึมเศร้า ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีภาวะโรคซึมเศร้า หรือแพทย์อาจจะพิจารณาเป็นยาเสริมแก้อาการปวดจากระบบประสาทส่วนกลาง จึงควรสั่งใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น 3. การรักษาตามอาการ เช่น การใช้กัญชา ยังไม่มีข้อมูลว่ารักษาโรคได้ แต่ก็มีข้อมูลว่าสามารถรักษาอาการเกร็ง มีผลข้างเคียงคือ ทำให้ง่วงนอน การใช้กัญชาแนะนำให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม คนไข้ควรดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ดี ลดความวิตกกังวล หมั่นออกกำลังกาย งดอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทุกชนิด เน้นอาหารสุกสะอาด และไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ หากมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรรีบไปพบแพทย์ก่อน เพื่อรีบทำการรักษา หรือทำกายภาพบำบัด […]
เตือนภัยระวังมิจฉาชีพหลอกสมัครงาน กิจกรรมต่าง ๆ ที่นำมาหลอกลวงเหยื่ออาศัยความไม่รู้ และความโลภของประชาชนเป็นเครื่องมือ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ไม่เลือกอายุ หรือเพศของเหยื่อ ทุกคนทุกอาชีพสามารถตกเป็นเหยื่อได้หมด เพราะฉะนั้นการทำกิจกรรม หรือธุรกรรมใดๆ บนโลกออนไลน์ต้องรู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพและมีสติอยู่เสมอ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) 5 อุบายหลักที่มิจฉาชีพมักหลอกเหยื่อ มีดังนี้ 1. หลอกเปิดรับสมัครงาน 👉 มักเป็นการรับสมัครงานที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้ทักษะ เช่น รับจ้างกดไลก์ หรือรับจ้างแชร์ข้อมูล บอกให้ผู้ที่จะสมัครงาน โอนเงินก่อน โดยที่อ้างว่าเป็นค่าธรรมเนียม มัดจำ หรืออื่น ๆ อาจอ้างว่ามีคนสมัครเยอะอยากจ้างคนที่มีความประสงค์จะทำงานจริง ๆ พิสูจน์ด้วยการวางเงินมัดจำ 2. หลอกให้คิดว่าจะได้เงินก้อนใหญ่ 👉 เมื่อให้วางเงินมัดจำแล้ว และให้ทำงาน ใช้เงินตอบแทนเล็กน้อยหลอกให้คิดว่ายิ่งลงทุนเยอะ จะยิ่งได้เงินก้อนใหญ่ เมื่อเหยื่อเห็นว่าได้เงินจริง ก็เพิ่มจำนวนเงินวางมัดจำ สุดท้ายพอเป็นเงินก้อนโต ก็จะตัดการติดต่อ 3. หลอกล้วงข้อมูลส่วนตัว 👉 อาจขอข้อมูลอ่อนไหว เช่น บัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด […]
World Economic Forum ยืนยันว่า ชาห์ซาดา ดาวูด ไม่ได้เป็นรองประธานหรือทำงานให้กับ World Economic Forum