บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความ อาหารกับผู้ป่วยแพนิก เช่น 4 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะทำให้อาการกำเริบ และ 6 อาหารที่ควรเลือกกิน เพื่อช่วยลดการเกิดโรคแพนิก
🎯 ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ในภาพรวมมีบางส่วนที่เป็นความจริง นั่นคือการหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น แอลกอฮอล์ และกาเฟอีน นั่นคือเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นทั้งหลาย แต่กรณีอาหารอย่างอื่นยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน
1. หลีกเลี่ยง “กาเฟอีน”
ช่วงที่กำลังมีอาการแพนิก และให้การรักษาอยู่ก็จะแนะนำให้งดกาเฟอีนเลย แต่ในผู้ป่วยหลาย ๆ คน มีอาการดีขึ้นกลับสู่ปกติ กินยาคงอาการอยู่ก็ดื่มกาเฟอีนได้ ซึ่งมีหลายคนดื่มแล้วปกติแต่ก็บอกว่ามีความเสี่ยงเหมือนกัน แต่ควรดื่มกาแฟชนิดที่ไม่มีกาเฟอีน
2. หลีกเลี่ยง “แอลกอฮอล์”
เรื่องแอลกอฮอล์ ถ้าดื่มเล็กน้อย นิดหน่อยผ่อนคลาย แต่ถ้าดื่มมาก ๆ อันตราย
ในช่วงที่ระดับแอลกอฮอล์ตก จะมีภาวะเหมือนกับตื่นตัว หรือบางคนก็เหมือนภาวะขาดแอลกอฮอล์
ช่วงที่อยู่ในภาวะตื่นตัวกระตุ้นอาการแพนิกได้ หรืออยู่ในลักษณะเมามากเกินไปก็กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติให้ทำงานมากเกินไปได้
3. หลีกเลี่ยง “ผงชูรส”
เรื่องนี้ไม่จริง ถ้าจะมีอาการก็เป็นอาการข้างเคียงของแต่ละคน เช่น ปากแห้ง คอแห้ง แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับแพนิก
4. หลีกเลี่ยง “อาหารน้ำตาลสูง”
ไม่จริง อาหารน้ำตาลสูงอาจทำให้เกิดอาการเพลียได้ แต่ไม่ได้กระตุ้นแพนิก
กินอาหารให้ “สมดุล”
การกินอาหารสมดุลเป็นคำแนะนำทั่วไปทำให้สุขภาพดี ไม่ได้มีลักษณะจำเพาะในการป้องกันแพนิก
ไม่มีอาหารอะไรพิเศษ ถึงแม้จะกินอาหารอย่างสมดุล ครบถ้วน ก็ไม่ได้ป้องกันโรคแพนิก
กินอาหารที่อุดมด้วย “สังกะสี”
ไม่จริง เรื่องนี้ไม่มีการศึกษายืนยันว่าได้ผล
กินอาหารที่อุดมด้วย “แมกนีเซียม”
เรื่องนี้ก็ไม่มีการศึกษา
กินอาหารที่อุดมด้วย “วิตามินบี”
อาการที่มีวิตามินบี ช่วยส่งเสริมสุขภาพ แต่ไม่ได้ป้องกันโรคแพนิก
กินอาหารที่อุดมด้วย “กรดไขมันโอเมกา 3”
ไม่จริง ไม่มีผลป้องกันแพนิก
กินอาหารที่อุดมด้วย “โพรไบโอติก”
โพรไบโอติกทำให้สุขภาพดี แต่ไม่ได้ป้องกันโรคแพนิก
โดยภาพรวมแล้ว ไม่มีอาหารที่ป้องกันโรคแพนิกได้
ส่วนใหญ่มีการพูดอาหารที่ทำให้ร่างกายสมดุล ลดความเครียด ลดความกังวล ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไป ไม่มีลักษณะจำเพาะเจาะจงต่อโรคแพนิก
สารซีโรโทนินกับผู้ป่วยแพนิก
ยากลุ่ม “ซีโรโทนิน” แพทย์เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับโรคแพนิก ที่ไปทำให้วงจรการตื่นตัวทำงานลดลง
ปริมาณซีโรโทนินในอาหารมีน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับยา เสมือนหนึ่งต้องกินกล้วยวันละ 10 หวี
ความกังวลเรื่องอาหารอาจเกี่ยวข้องกับจริตของผู้ป่วยแพนิก กลายเป็นส่งเสริมให้หมกมุ่นกับเรื่องสุขภาพ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มมากเกินไปอยู่แล้ว แต่แพทย์ต้องการให้ผ่อนคลาย สบาย ๆ
ดังนั้น ขอให้ผู้ป่วยแพนิกใช้ชีวิตตามปกติ ที่ต้องระวังคือ อย่าให้หิวเกินไป อย่าให้ตื่นตัวเร่งรีบเกินไป และการทำ IF (Intermittent Fasting) ก็ไม่แนะนำ โดยเฉพาะช่วงที่มีอาการแพนิก แต่ควรทำอะไรก็ได้ สบาย ๆ และผ่อนคลายเป็นหลัก
เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่ดี เหล่านี้เป็นลักษณะเสริมเท่านั้น ไม่ได้ป้องกันโรคแพนิกได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรค
สรุปแล้วบทความเรื่องอาหารกับโรคแพนิกนี่ ไม่ควรแชร์ต่อ เพราะคิดว่าส่วนที่ไม่จริงมากเกินไป ก็จะเน้นเฉพาะเรื่องกาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก็เพียงพอแล้ว
เข้าใจข้อเท็จจริง สาเหตุ และกลไก ช่วยให้เลือกป้องกันและแก้ไขได้ตรงจุด
สัมภาษณ์โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์
เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารที่ผู้ป่วยโรคแพนิกควรเลือก-ควรเลี่ยง จริงหรือ ?
ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 สัญญาณเตือนโรคแพนิก จริงหรือ ?
ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 วิธีแก้ปัญหา อาการแพนิก จริงหรือ ?
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter