ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพระเบิดนิวเคลียร์เป็นของปลอม เพราะกล้องทนแรงระเบิดไม่ได้ จริงหรือ?

กล้องสำหรับถ่ายการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากรัศมีการระเบิด และได้รับการปกป้องจากกล่องป้องกันรังสี

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เวย์โปรตีน คืออะไร ? ทำไมต้องกิน ?

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวย์โปรตีนคืออะไร เวย์คือโปรตีนในน้ำนมชนิดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของเหลวที่เหลือจากการตกตะกอนโปรตีนเคซีนในการผลิตชีส โดยปกติชีสมักผลิตจากนมวัวซึ่งมีปริมาณโปรตีนอยู่ 3.5% ประกอบไปด้วยโปรตีน 2 ชนิด ได้แก่ casein 2.8% และ whey 0.7% หรือคิดเป็น casein 80% และ whey 20% โดยประมาณ ประโยชน์ของเวย์โปรตีน เวย์เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เร็ว ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ มีกรดอะมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) อยู่ครบ และมีกรดอะมิโนชนิด branched-chain amino acid (BCAA) (ได้แก่ leucine, isoleucine และ valine) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือสร้างเนื้อเยื่อเพิ่มเติม เวย์โปรตีนมี 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แพ้กลูเตน

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลูเตน คืออะไร ? กลูเตน (gluten) คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในธัญพืช (cereal) จำพวกข้าวสาลี (wheat) ข้าวไรน์ (rye) ข้าวบาร์เลย์ (barley) ข้าวโอ๊ต (oat) ซึ่งแป้งที่ทำจากข้าวสาลีถูกใช้เป็นวัตถุดิบอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารหลากหลายประเภท โดยเฉพาะในอาหารประเภทเบเกอรี่ เมื่อกินเข้าไปแล้วก่อให้เกิดอาการแพ้ในบางคนที่ร่างกายไวต่อกลูเตน (แพ้กลูเตน) อาจมีอาการท้องเสีย แก๊สในกระเพาะ ท้องอืด รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเซลิแอค (Celiac Disease) อาหารประเภทธัญพืชมักมีโปรตีนกลูเตนเป็นส่วนประกอบ ยกตัวอย่างเช่น ซีเรียล ขนมปัง ขนมเค้กที่อบจากแป้งสาลี แพนเค้ก วาฟเฟิ้ล เพรสเซล คุ้กกี้ แครกเกอร์ พิซซ่า ซาลาเปา รวมไปถึงเส้นพาสต้า หรือเส้นสปาเกตตี้ เส้นมักกะโรนี เป็นต้น นอกจากแป้งที่มีกลูเตนแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่พบกลูเตน ? […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 7 สัญญาณบ่งบอกโรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง จริงหรือ ?

🎯 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีการแชร์ 7 สัญญาณบ่งบอกโรค SLE บนสื่อสังคมออนไลน์ ข้อ 1 มีไข้เรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ จริง… ผู้ป่วยโรค SLE สามารถพบอาการไข้ได้บ่อย แต่สามารถพบผู้ป่วยโรคอื่นที่มีไข้อ่อนเพลียได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโรคมะเร็ง ก็มีอาการไข้อ่อนเพลียเรื้อรังนำมาได้เหมือนกัน ข้อ 2 เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นอาการแสดงของผู้ป่วยโรค SLE ได้ แต่พบในโรคอื่นได้เหมือนกัน ข้อ 3 มีผื่นขึ้นที่หน้าและร่างกาย โดยไม่ได้เกิดจากอาการแพ้ เรื่องนี้ถูก เพราะอาการผื่นขึ้นเป็นอาการที่พบบ่อยอย่างหนึ่งในผู้ป่วยโรค SLE โดยเฉพาะผื่นไวแสง อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดผื่นไวแสง ยังมีโรคอื่น ๆ อีกที่ไม่ใช่โรค SLE ข้อ 4 มีอาการปวดบวมตามข้อ โดยเฉพาะตอนเช้าหรือตอนตื่นนอน อาการปวดตามข้อ อาจจะเกิดจากการใช้งานก็ได้ แต่ลักษณะที่บอกว่าเป็นตอนเช้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ลักษณะของผู้ป่วย SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง

🎯 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ป่วย SLE พบมากมั้ย โดยปกติ พบอุบัติการณ์ของโรค SLE ประมาณ 40-50 คน ในประชากร 1 แสนคน ถ้าดูจำนวนประชากรเฉพาะพื้นที่ จะพบว่า คนเอเชีย แอฟริกา หรือกลุ่มฮิสแปนิก (Hispanic) ที่ใช้ภาษาสเปนในสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนเป็นโรค SLE มากกว่าคนผิวขาว สัดส่วนระหว่างเพศหญิงกับเพศชาย ปรากฏว่าโรค SLE พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 8-9 เท่า กลุ่มโรค SLE ที่พบในเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่สัดส่วนอาจจะน้อยลงมา อยู่ที่ 4 ต่อ 1 โรค SLE ที่ปรากฏเด่นชัดช่วงไหน ส่วนใหญ่พบโรค SLE มากที่สุดช่วงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ส่วนหนึ่งผู้ป่วยอาจจะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของฮอร์โมนเพศ คือในช่วงอายุ 12-40 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรค SLE หรือ โรคแพ้ภูมิตนเอง

🎯 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรค SLE คืออะไร โรค SLE เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดหนึ่ง SLE ย่อมาจาก Systemic Lupus Erythematosus โรค SLE ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง มีกลุ่มภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่เล่นงานเนื้อเยื่อดี ๆ ของตัวเราได้หลาย ๆ ระบบพร้อมกัน อาการที่ปรากฏขึ้น จะเกิดที่อวัยวะใด ๆ ก็ได้ และค่อนข้างหลากหลาย โรค SLE เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ แทนที่ภูมิคุ้มกันจะไปจัดการกับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย แต่กลับเล่นงานเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย โรคแพ้ภูมิตนเอง อาจจะเป็น SLE หรือโรคแพ้ภูมิชนิดอื่น ๆ ก็ได้ อาการแสดงที่ปรากฏของโรค SLE อาการแสดงที่ปรากฏคือการทำลายอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย พบได้บ่อยหลายอวัยวะ เช่น 1. ไขข้อ เกิดอาการข้ออักเสบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : กินหมูกระทะเสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี จริงหรือ ?

ตามที่มีแชร์ว่ากินหมูกระทะที่เกรียมๆ สีดำ เสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดีนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช หน่วยโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  “ถุงน้ำดี” เป็นที่ที่น้ำดีสะสมรวมกันเพื่อขับออกมาย่อยอาหารที่กินเข้าไปแต่ละมื้อ การกินอาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียมอาจได้รับสารทำให้เกิดมะเร็ง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ส่วนอาหารที่มีสีดำหรือไหม้เกรียมจะถูกย่อย ดูดซึมบางส่วนจะถูกขับออกมากับอุจจาระ ไม่ได้ตกตะกอนในถุงน้ำดีกรณีที่ผ่านิ่วในถุงน้ำดีพบว่าเป็นสีดำ ควรตรวจว่าเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่ แม้จะยังไม่มีวิธีป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี แต่ควรไปพบแพทย์หากปวดท้องรุนแรงโดยหาสาเหตุไม่ได้

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินบีรวม วิตามินดี และเอนไซม์ Q10 รักษาอาการชาปลายมือปลายเท้า จริงหรือ ?

10 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์แนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ให้กินวิตามินบีรวม วิตามินดี และเอนไซม์ Q10 เสริม จะช่วยให้อาการชาดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พล.ต. รศ.นพ.สามารถ นิธินันทน์ อายุรแพทย์ สาขาประสาทวิทยา กรรมการสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย ข้อเท็จจริง คือ เส้นประสาทฟื้นตัววันละ 1 มิลลิเมตร ดังนั้นการรับประทานวิตามินบีรวมเพื่อหวังให้เส้นประสาทเร่งฟื้นตัวได้เร็วขึ้นมากกว่า 1 มิลลิเมตรต่อวันนั้นเป็นไปไม่ได้ หากตรวจเลือดพบว่าระดับวิตามินดียังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องรับประทาน สำหรับผู้ที่มีอาการชาปลายมือปลายเท้าควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง เอนไซม์ Q10 วิตามินดี เหมาะกับใคร ? อย่างไรก็ตาม วิตามินที่กล่าวมาข้างต้นแพทย์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าหากมีโรคเฉพาะ วัยเฉพาะ ควรรับประทาน แต่หากเป็นเหน็บชาแล้วจะรับประทานวิตามินทั้ง 3 อย่างตามที่แชร์กันจึงไม่เป็นความจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ปิโตรเลียมเจลช่วยให้ขนตายาว จริงหรือ ?

ตามที่มีคำแนะนำว่าการใช้ปิโตรเลียมเจล ทาที่ขนตาเป็นประจำช่วยให้ขนตายาวขึ้นได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การทาปิโตรเลียมเจลจะช่วยให้ขนตายาวขึ้น หรือหนาขึ้นได้ นอกจากนี้ปิโตรเลียมเป็นของใช้ภายนอก การนำมาทาบริเวณดวงตาอาจก่อให้เกิดอันตราย เกิดการอักเสบและติดเชื้อต่อดวงตาได้ การใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รอบบริเวณดวงตา รวมไปถึงเครื่องสำอาง มีโอกาสที่สิ่งเหล่านี้จะหลุดเข้าไปในดวงตา โดยเฉพาะหากผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้เขียนว่าใช้รอบดวงตาได้ ก็ควรหลีกเลี่ยงจะดีที่สุด

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดวิธีเติมน้ำมันรถ จริงหรือ ?

9 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับน้ำมันรถเอาไว้มากมาย ทั้งเทคนิคประหยัดน้ำมันเกียร์ออโต้ และเติมน้ำมันเต็มถังขาดทุนได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : เติมน้ำมันเต็มถังขาดทุน จริงหรือ ? มีการแชร์เตือนกันเรื่องการเติมน้ำมันว่า ไม่ควรเติมแบบเต็มถัง เพราะจะทำให้เราขาดทุน เนื่องจากน้ำมันที่ค้างสายจะไหลคืนเป็นของปั๊ม ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายนรเศรษฐ จินดานิล ผู้จัดการส่วนซ่อมบำรุงสถานีบริการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “อุปกรณ์จ่ายน้ำมันตามสถานีบริการหรือปั๊มน้ำมันเป็นระบบ Close Loop คือจ่ายน้ำมันออกอย่างเดียว ไม่ไหลย้อนกลับไปสายเติมน้ำมันได้ ดังนั้นการเติมน้ำมันเต็มถังจึงไม่ได้ทำให้ขาดทุน และได้ปริมาณน้ำมันตามที่จ่ายไป ไม่ได้คิดรวมถึงน้ำมันที่ค้างในสายแต่อย่างใด” อันดับที่ 2 : เติมน้ำมันปั๊มไหนก็เหมือนกัน จริงหรือ ? มีการแชร์คำแนะนำ สำหรับผู้ใช้รถว่าเติมน้ำมันปั๊มไหนก็เหมือนกัน ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายสุรมิส […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โรงหนังกีดกัน Sound of Freedom หนังเปิดโปงการค้าประเวณีเด็ก จริงหรือ?

ตัวแทนโรงภาพยนตร์และบริษัทผู้จัดจำหน่าย ยืนยันว่าอุปสรรคในการชมภาพยนตร์ Sound of Freedom เป็นปัญหาทางเทคนิค ไม่ใช่การจงใจกีดกันการฉาย

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 7 วิธีขับรถลุยน้ำท่วม จริงหรือ ?

8 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 7 วิธีการขับรถลุยน้ำท่วมให้ปลอดภัย เช่น ไม่ควรสตาร์ตเครื่องยนต์อีกครั้งเมื่อเครื่องยนต์ดับนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นาย สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ข้อความที่แชร์ : 7 เทคนิค หากต้องขับรถลุยน้ำท่วมให้ปลอดภัย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

1 69 70 71 72 73 120
...