ชัวร์ก่อนแชร์: “อาชญากรรม-อุบัติเหตุ” เพิ่มขึ้นในคืนพระจันทร์เต็มดวง จริงหรือ?

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในคืนพระจันทร์เต็มดวงมาจากตัวแปรต่าง ๆ เช่น ความสว่างของแสงจันทร์และผู้คนจำนวนมากที่ออกมาทำกิจกรรมในยามค่ำคืน

ชัวร์ก่อนแชร์: พระจันทร์เต็มดวงทำให้ป่วยทางจิต จริงหรือ?

คาบการโคจรของดวงจันทร์ไม่ส่งผลต่อจำนวนผู้ป่วยทางจิต แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ไม่ส่งผลต่อน้ำในร่างกายหรือสมองของมนุษย์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : เตือนภัย ! เว็บปลอม หลอกขายของเล่น อ้าง POP MART

3 ตุลาคม 2566 กระแสข่าวการเปิดตัวร้านขายของเล่นชื่อดังจากประเทศจีน อย่าง “POPMART” ได้สร้างเสียงฮือฮาให้กับเหล่าบรรดานักสะสมชาวไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการเปิดตัวสาขาแรกในประเทศไทย และในร้านยังได้จำหน่ายสินค้าตัวพิเศษที่มีขายแค่ในประเทศไทยเท่านั้นและมีจำนวนจำกัด ทำให้นักสะสมและคนที่สนใจแห่ไปรอกันตั้งแต่คืนก่อนเปิดร้าน และในวันเปิดร้าน ได้เกิดเหตุความชุลมุนระหว่างการต่อคิวเข้าร้าน มีทั้งคนเป็นลมและล้ม  จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มิจฉาชีพได้ฉวยโอกาสนำมาสร้างเป็นมุกหลอกขายของเล่นอ้างชื่อ “POPMART” ผ่านเพจเฟซบุ๊กปลอม ซึ่งมีผู้เสียหายจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า เพจปลอมหลอกขายสินค้ามีรูปแบบและกลวิธีการหลอกอย่างไรบ้าง สร้างเพจปลอม เล่าเรื่องราวให้น่าสนใจและยิงโฆษณา ขั้นแรก มิจฉาชีพจะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมา โดยใช้ชื่อ “Frances Cannon” อ้างตัวเป็นเพจขายสินค้าออนไลน์หลายประเภท ทั้ง เครื่องใช้ภายในบ้าน ลำโพงและของเล่น และเพจนี้ได้จ่ายเงินซื้อโฆษณาเพื่อทำให้คนเห็นโพสต์อย่างกว้างขวาง  จากนั้นมิจฉาชีพจะสร้างเรื่องราวให้น่าติดตามและเป็นเหตุเป็นผล เพื่อหลอกล่อให้คนหลงเชื่อ จากฐานข้อมูลของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า เพจปลอมหลอกขายสินค้า จะเปลี่ยนสถานการณ์ไปตามความสนใจของสังคม ณ ตอนนั้น เช่น ช่วงสถานการณ์โควิด-19 จะอ้างว่า ต้องปิดร้านด่วน เนื่องจากขาดทุน จึงต้องนำสินค้ามาล้างสต็อก จัดโปรโมชันลดราคาที่ถูกกว่าปกติ และนำภาพสินค้าจริง มาแอบอ้าง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า สินค้าเป็นของแท้ รวมถึงกรณีล่าสุด ที่อ้างว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: แสงจันทร์วันเพ็ญส่งผลต่อการนอนหลับ จริงหรือ?

ผลวิจัยพบว่าแสงจันทร์คืนวันเพ็ญทำให้นอนหลับยากกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้คนในพื้นที่ชนบท ส่วนแสงจากอุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันก็ส่งผลต่อการนอนเช่นเดียวกัน

ชัวร์ก่อนแชร์ : 4 วิธี นอนหลับไวขึ้น จริงหรือ ?

1 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 4 วิธีที่ทำให้นอนหลับได้ไวขึ้น มีตั้งแต่ อย่าบังคับให้ตัวเองหลับ อาบน้ำอุ่น ฟังดนตรี และ ไม่เล่นมือถือก่อนนอนนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แชร์ว่า 4 วิธีที่ทำให้นอนหลับได้ไวขึ้น ✅ 1.อย่าบังคับให้ตัวเองหลับ อย่ากดดันสมอง ❌ 2.ห้ามอาบน้ำเย็นแต่ให้อาบน้ำอุ่นวันละ 10-20 นาที ก่อนนอน 1-2 ชั่วโมง จะช่วยกระตุ้นร่างกายให้หลั่งสารเมลาโทนิน✅ 3.ฟังดนตรีก่อนเข้านอน ช่วยให้เข้านอนได้ไวขึ้น✅ 4.ไม่เล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน จะช่วยให้เข้านอนไวขึ้นได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CYBER EMPATHY ? — ทักษะสำคัญสำหรับคนในยุคดิจิทัล

30 กันยายน 2566 – สิ่งนี้… เป็นพื้นฐานการแสดงออกบนโลกออนไลน์ ที่ทุกคนควรตระหนัก และหากขาด สิ่งนี้…ไป อาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมใกล้ตัวอย่าง Fake News หรือ Cyberbullying ได้ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ระบุตำแหน่งอย่างไรให้ปลอดภัย| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

2 ตุลาคม 2566 บริการระบุตำแหน่งบนโทรศัพท์มือถือมอบความสะดวกให้กับเรามากมาย ไม่ว่าจะเป็น การนำทาง หรือการค้นหาตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ แต่หารู้ไม่ว่า อาจมีสิ่งที่คุณไม่คาดคิดจากเหล่าแฮกเกอร์แอบแฝงอยู่ก็ได้ มาร่วมหาวิธีป้องกัน และตั้งค่าการระบุตำแหน่งเพื่อทำให้เราปลอดภัยมากขึ้นได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน * สำหรับผู้ใช้งานในระบบปฏิบัติการ iOS **ในขณะรับฟัง สามารถตั้งค่าตามที่ระบุไว้ใน Podcast ได้เลย #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์: น้ำทริเทียมจากญี่ปุ่นอันตรายกว่าน้ำจากโรงงานนิวเคลียร์ทั่วโลก?

ปริมาณน้ำทริเทียมที่ปล่อยจากญี่ปุ่นถือว่าน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับปริมาณต่อปีที่ปล่อยจากโรงงานนิวเคลียร์อื่น ๆ ทั่วโลก

ชัวร์ก่อนแชร์: น้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะมีกัมมันตรังสีสูงกว่ามาตรฐาน 66% จริงหรือ?

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะมีน้ำที่ปริมาณกัมมันตรังสีน้อยกว่าระดับมาตรฐาน 34% ส่วนน้ำอีก 66% ที่ปริมาณกัมมันตรังสีสูงกว่ามาตรฐานจะเข้ารับการบำบัดอีกครั้ง

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตากระตุก สัญญาณเตือนของโรคร้าย จริงหรือ ?

มีคำอธิบายจาก ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย 📌 สรุป : ✅ แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม อาจจะจริงและไม่จริง เนื่องจากภาวะตากระตุกจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่โรคที่ไม่มีอันตรายอะไรไปจนถึงอาจจะเป็นโรคที่มีความรุนแรงได้ ตากระตุกข้างซ้ายหรือข้างขวา มีอะไรต่างกัน หรือไม่ ตากระตุกอาจจะเกิดข้างเดียว หรือเกิดพร้อมกัน 2 ข้างก็ได้ ขึ้นกับว่าสาเหตุที่เป็นเกิดจากอะไร ถ้าเกิดจากการระคายเคืองที่เป็นพร้อมกัน เช่น คนเป็นภูมิแพ้ก็อาจจะมีการกระตุกทั้ง 2 ข้างได้ ถ้าเกิดจากการใช้งานหนัก ข้างที่มีความต้านทานหรือมีความแข็งแรงน้อยกว่าก็อาจเกิดการล้าก่อนได้ ในขณะเดียวกันเกิดจากโรคของตัวกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท ขึ้นกับว่าเกิดข้างซ้ายหรือข้างขวา ก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติที่ข้างนั้นได้ ความเชื่อที่ว่า กระตุกขวาร้าย ซ้ายดี ก็คงเป็นความเชื่อของคนสมัยก่อน แต่ว่าไม่ได้มีหลักฐานทางการแพทย์ในปัจจุบันว่าการกระตุกข้างซ้ายข้างขวามีผลกับโชคชะตาอย่างไรบ้าง ถ้าตากระตุก 2 สัปดาห์ขึ้นไปควรพบแพทย์ กรณีที่เป็นเรื้อรังค่อนข้างนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือเป็นรุนแรงจนกระทบการดำเนินชีวิตประจำวันเช่น เปลือกตาบางจังหวะหลับตาจนกระทั่งไม่มั่นใจที่จะทำอะไร ถือว่าเป็นอาการรุนแรงที่ต้องไปพบแพทย์​เพื่อจะแก้ปัญหานี้ รวมทั้งกรณีที่มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การบวมหรือการอักเสบบริเวณเปลือกตา ก็อาจบ่งบอกว่ามีโรคร้ายบริเวณดวงตา ควรไปพบแพทย์เพื่อความสบายใจ และหาสาเหตุที่ถูกต้องเพื่อให้การรักษาต่อไป […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดตา

“ปวดตา” เป็นเพราะอะไร ป้องกัน บรรเทา หรือ รักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ดวงตา” เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณสำคัญของร่างกาย อาการปวดที่ดวงตาอาจจะเกิดจากโรคของดวงตาเอง หรือเป็นอาการที่สะท้อนมาจากอาการผิดปกติของบริเวณรอบ ๆ ดวงตาได้ อาการปวดตาที่เกิดจากสาเหตุในดวงตาเองก็เป็นตัวที่บอกถึงโรคตาต่าง ๆ ได้มากมาย ปัจจุบันที่พบได้บ่อย ๆ เช่น การใช้สายตามาก ๆ เล่นคอมพิวเตอร์หรือมือถือเป็นเวลานาน เกิดการเพ่งตาใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดหรือล้าที่บริเวณรอบ ๆ ดวงตา หรือในดวงตาได้ นอกจากนั้น ภาวะที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ ก็จะทำให้มีอาการปวด ถ้ามีอาการของโรคตากุ้งยิงก็จะปวดที่บริเวณเปลือกตา ถ้ามีอาการติดเชื้ออยู่ข้างในดวงตา เช่น เป็นโรคตาแดง หรือมีการติดเชื้อบริเวณในลูกตา ก็จะมีอาการปวดที่บริเวณดวงตา อาการปวดตาที่มีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ ทางร่างกายมีอะไรบ้าง กรณีที่เป็นโรคของอวัยวะอื่น ๆ ทำให้อาการปวดตาเข้ามาที่ดวงตา พบได้บ่อย ๆ เช่น คนที่เป็นไซนัสอักเสบ หรือในคนที่เป็นโรคไมเกรนก็อาจจะทำให้อาการปวดร้าวมาที่ดวงตาได้ หรือในคนที่ติดเชื้อ เช่นเป็นงูสวัดที่บริเวณผิวหนัง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS มีวิธีการรักษาอย่างไร ผู้ป่วยสามารถหาซื้อยากินเองได้หรือไม่ มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล อาจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  “MS” เป็นชื่อย่อของ “โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง” ที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจและสื่อสารกันง่าย ย่อมาจากคำว่า Multiple Sclerosis โรค MS เป็นโรคที่พบน้อย ประเทศไทยมีประมาณ 0.7 รายต่อประชากรแสนราย ปกติแล้ว เซลล์ประสาทของคนเราจะมีการนำกระแสประสาท จากเซลล์หนึ่งต่อไปที่เซลล์ถัดไป ระหว่างการเดินทางของกระแสประสาท จะผ่านปลอกประสาท ทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ได้เร็ว อย่างเช่นเวลาเราคิด แล้วเราจะขยับมือ จะเร็วมาก เราจะไม่รู้ตัว ปลอกประสาทเป็นตัวที่ช่วยนำความเร็วของกระแสประสาท  ในภาวะของโรค MS คือมีการอักเสบ การนำกระแสประสาทของผู้ป่วยก็จะช้าลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ประชากรกลุ่มที่พบโรค MS มีหลายวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยกลางคน ผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็นผู้สูงอายุได้ ผู้ป่วยกลุ่มที่พบมากที่สุดอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุประมาณ 10 กว่าปี ไปจนถึง 20-30 ปี และพบในผู้หญิงได้บ่อยกว่าผู้ชาย ในประเทศไทยพบได้ทั้งสองเพศ […]

1 60 61 62 63 64 120
...