2 อ่างเก็บน้ำ จ.มหาสารคาม เกินความจุ เร่งระบาย
กรมชลประทาน เร่งระบายน้ำอ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจานและอ่างเก็บน้ำห้วยคะคาง จ.มหาสารคาม หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำเกินความจุ ยืนยันสถานการณ์น้ำใน อ.เมือง ยังไม่อยู่ในภาวะวิกฤติ
กรมชลประทาน เร่งระบายน้ำอ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจานและอ่างเก็บน้ำห้วยคะคาง จ.มหาสารคาม หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำเกินความจุ ยืนยันสถานการณ์น้ำใน อ.เมือง ยังไม่อยู่ในภาวะวิกฤติ
กรุงเทพฯ 18 ก.ค. – GISTDA เผยภาพถ่ายจากดาวเทียม Cosmo SkyMed-2 บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ อ. บรบือ จ. มหาสารคาม พบพื้นที่เสียหายกว่า 12,800 ไร่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA เผยข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียม Cosmo SkyMed-2 บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ของวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 17.50 น. จากภาพจะแสดงให้เห็นถึงพื้นทีที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำซึ่งทำนบดินทรุดตัว โดยพบพื้นที่เสียหายรวมกว่า 12,800 ไร่ ข้อมูลภาพจากดาวเทียมเหล่านี้ GISTDA จะส่งต่อให้กับหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้สนับสนุนการบริหารจัดการตามภารกิจ ทั้งด้านการวางแผน การติดตาม การประเมินสถานการณ์ และการฟื้นฟูความเสียหายต่อไป ทั้งนี้ GISTDA ได้วางแผนและปรับแผนรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถตรวจสอบได้ที่ https://disaster.gistda.or.th/ . […]
กรุงเทพฯ 17 ก.ค. – “ณัฐชา” สส. พรรคก้าวไกล รองประธานกมธ. แก้ปัญหาปลาหมอสีคางดำชื่นชมอธิบดีกรมประมงที่กล้าเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับปลาหมอคางดำ ชี้ชัดแล้วว่า มีผู้นำเข้ารายเดียวและกรมประมงยังไม่เคยได้รับตัวอย่างปลาที่บริษัทขออนุญาตนำเข้า กมธ. ยังคงเรียกร้องให้หาต้นตอที่ทำให้สัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นชนิดนี้แพร่ระบาดให้ได้ ส่วนผู้แทนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังอยากให้กระทรวงเกษตรฯ รับซื้อปลาหมอคางดำ 20 บาทต่อกิโลกรัม นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส. กทม. พรรคก้าวไกล ฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย ในคณะกรรมาธิการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎรเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำของกรมประมง โดยกล่าวชื่นชมนายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงว่า กล้าหาญที่จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าปลาหมอคางดำซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 14 ปีแล้ว รวมถึงความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด จากข้อมูลของกรมประมงชี้ชัดแล้วว่า กรมประมงอนุญาตให้บริษัทแห่งหนึ่งนำเข้าปลาหมอคางดำเพียงรายเดียว อีกทั้งข้อมูลจากการชี้แจงของบริษัทที่ระบุว่า ได้ยุติการวิจัยและส่งตัวอย่างปลาให้กรมประมงแล้ว กรมประมงไม่เคยได้รับ กมธ. ยังคงเรียกร้องให้สืบหาต้นตอที่ทำให้สัตว์น้ำต่างถิ่นชนิดนี้รุกรานระบบนิเวศ รวมถึงสร้างผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของชาวประมงพื้นบ้านและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ ตามที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับว่า จะสืบสาเหตุเพื่อสร้างกระจ่างความกระจ่างแก่สังคมให้ได้ แต่ฟังแล้ว โอกาสที่จะหาต้นตอและเอาผิดตามกฎหมายต่อผู้ก่อผลกระทบนั้น ดูริบหรี่ กมธ. จะยื่นญัตติด่วนต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อเชิญทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาร่วมแก้ไขปัญหานี้ นายคัมภีร์ ทองเปลว […]
อธิบดีกรมประมง ระบุกฎหมายประมงปัจจุบัน ยังเอาผิดหรือเรียกค่าเสียหายต่อผู้นำเข้า “ปลาหมอคางดำ” ไม่ได้ กรณีที่อาจเป็นต้นเหตุให้หลุดเข้าสู่ระบบนิเวศ แต่ได้บรรจุไว้ในร่าง พ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่แล้ว พร้อมติดตามการวิจัย “ปลาเก๋าหยก” ของ CPF ใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอย เปิดใจคิดไม่ต่างจากสังคมเรื่องความรับผิดชอบ แม้ไม่ต้องรับผิดชอบทางกฎหมาย แต่สามารถรับผิดชอบด้วยจิตสำนึก
กรุงเทพฯ 17 ก.ค. – อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยการลดจำนวนปลาหมอคางดำต้องผสมผสานหลายวิธี ย้ำต้องเลือกให้เหมาะสมตามสภาพความรุนแรงของการระบาด เพื่อลดผลกระทบกับสัตว์น้ำชนิดอื่น ส่วนการวิจัยทำหมันปลากว่าจะเห็นผลต้องใช้เวลา นายวีรกิจ จรเกตุ หัวหน้าสถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม คณะประมง มหาวิทยาเกษตรศาสตร์กล่าวว่า มาตรการการกำจัดปลาหมอคางดำจำเป็นต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน อีกทั้งต้องเลือกให้เหมาะสมกับความรุนแรงของการระบาดด้วยการประเมินเป็นรายแหล่งน้ำเพื่อลดผลกระทบข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นต่อสัตว์น้ำชนิดอื่นและระบบนิเวศ พร้อมกันนี้ยกตัวอย่างการใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงจับปลาหมอคางดำเพื่อนำมาทำทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ ย่อมมีปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นติดขึ้นมาด้วย ส่วนการปล่อยปลานักล่าอย่างปลากะพง ปลากะพงไม่ได้เลือกกินเฉพาะปลาหมอคางดำ แต่กินสัตว์น้ำชนิดอื่นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการประเมินสภาพความรุนแรงของการระบาดเป็นรายแหล่งน้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยในแหล่งน้ำเสื่อมโทรมที่ปลาหมอคางดำกินสัตว์น้ำชนิดอื่นกินจนเหลือน้อยมาก กระทั่งปลาหมอคางดำกลายเป็นชนิดพันธุ์หลักในแหล่งน้ำนั้น สามารถใช้เครื่องมือประมงประสิทธิภาพสูงจับเพื่อให้สามารถลดจำนวนได้อย่างรวดเร็ว แล้วจึงฟื้นฟูเพื่อคืนความสมดุลของระบบนิเวศ สำหรับโครงการวิจัยของกรมประมงเพื่อควบคุมการแพร่ขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำด้วยหลักการทางพันธุศาสตร์เพื่อให้ได้ปลาที่เป็นหมันนั้น คาดว่า เป็นการนำวิธีทำหมันปลาเศรษฐกิจซึ่งมาอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้สำหรับลดการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำ การทำหมันปลาที่ทำกันอย่างกว้างขวางเช่น ในปลานิลเพื่อลดการเจริญเพศซึ่งจะทำให้ปลาเติบโตเร็ว งานวิจัยของกรมประมงเพื่อให้ได้ปลาหมอคางดำซึ่งมีชุดโครโมโซมพิเศษที่เป็นหมัน แล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติเพื่อให้ได้ลูกที่เป็นหมันจึงเป็นงานวิจัยที่เป็นไปได้ทางทฤษฎี แต่จะทำให้ประชากรปลาหมอคางดำลดลงในระดับไม่ก่อผลกระทบภายใน 3 ปีได้หรือไม่นั้น ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่เคยมีการใช้เพื่อกำจัดสัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นมาก่อน ดังนั้นจึงต้องทำควบคู่กับวิธีอื่นๆ ในการลดจำนวนด้วย นายวีรกิจกล่าวว่า ปลาหมอคางดำเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกรานระบบนิเวศแหล่งน้ำของไทยที่รุนแรงที่สุด เมื่อเทียบกับสัตว์น้ำต่างถิ่นอื่นที่เคยหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศ โดย Aliean Spicies เมื่อหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศแล้ว เป็นไปได้ยากมากที่จะกำจัดให้หมดไปเช่น ปลาซักเกอร์ที่ยังคงพบในประเทศไทย นายวีรกิจย้ำว่า ในการกำหนดวิธีกำจัดปลาหมอคางดำไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันหมดได้ ต้องศึกษาวิจัยเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ระบบนิเวศเสียสมดุลจนกลายเป็นปัญหาซ้ำซ้อน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงบริบททางสังคม โดยหากมีการปล่อยปลานักล่าเช่น […]
กรุงเทพฯ 16 ก.ค. – รมว. ธรรมนัสเร่งรัดคณะกรรมการแก้ไขปัญหาปลาหมอสีคางดำให้สรุปมาตรการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ kick off ได้เร็วที่สุด มาตรการด่วนที่สุดคือ ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำและประชาชนจับมาขาย โดยจะนำเงินจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมารับซื้อไปทำปุ๋ย รวมถึงของบกลางด้วย รับซื้อกิโลกรัมละ 15 บาท ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้ามาสรุปมาตรการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำในระหว่างที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหมอคางดำ ทั้งระดับกระทรวงและระดับจังหวัดประชุมยืดเยื้อกว่า 4 ชั่วโมง แต่หาข้อสรุปไม่ได้เนื่องจากผู้แทนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและประมงพื้นบ้านไม่เห็นด้วยกับการปล่อยปลาผู้ล่าที่จะปล่อยไปกินปลาหมอสีคางดำเนื่องจากไม่มั่นใจว่า จะได้ผล อยากให้ใช้งบประมาณมารับซื้อในราคากิโลกรัมละ 20 บาทมากกว่า ในที่สุดร้อยเอกธรมนัสสรุปว่า ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีรับซื้อราคากิโลกรัมละ 15 บาท พร้อมย้ำผู้แทนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำว่า อย่าต่อรองเพราะจะทำให้การสรุปแผนดำเนินการไม่จบ kick off ไม่ได้ เบื้องต้นจะใช้เงินจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมารับซื้อไปทำปุ๋ย รวมถึงจะของบกลางมารับซื้อซึ่งหารือนายกรัฐมนตรีแล้ว นอกจากนี้ยังจะประสานกลุ่มเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการรับซื้อไปทำปลาร้า การรับซื้อ จะไม่กำหนดกรอบระยะเวลา โดยซื้อไปจนกว่าปัญหาจะหมด พร้อมย้ำว่า อย่าไปเพาะเลี้ยงเพื่อนำมาขาย จะไม่รับซื้อเด็ดขาด ทั้งยังผิดกฎหมายด้วย ส่วนประเด็นที่สังคมตั้งข้อสงสัยถึงการที่บริษัทใหญ่แห่งหนึ่งขออนุญาตจากกรมประมงนำปลาหมอสีคางดำจากทวีปแอฟริกาเข้ามาวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์เป็นปลาเศรษฐกิจในปี 2553 จะมีการหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติจนเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายทั้งต่อภาคเศรษฐกิจการประมงและระบบนิเวศหรือไม่นั้น ร้อยเอกธรรมนัสได้ให้นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงชี้แจงให้สังคมทราบความจริงซึ่งนายบัญชายืนยันว่า มีการนำเข้าจริง ส่วนที่มีการกล่าวกันว่า บริษัทส่งตัวอย่างปลาด้วยการดองซากส่งให้กรมประมงเก็บไว้นั้น […]
เข้าสู่ฤดูฝน สถานการณ์ปะการังฟอกขาวน่านน้ำทะเลไทยดีขึ้น อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่ก่อนหน้าสูงมากเริ่มลดลง ประกอบกับปรากฏการณ์ “เอนโซ” เปลี่ยนจาก “เอลนีโญ” เป็นสภาวะเป็นกลาง.
นายกสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เสนอให้ยกระดับมาตรการแก้วิกฤติ “ปลาหมอคางดำ” โดยให้รัฐบาลถือเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการแก้ปัญหาได้ รวมถึงให้ผ่อนผันกฎหมายใช้เครื่องมือประสิทธิภาพสูง แล้วจึงค่อยปล่อยปลานักล่า
กรุงเทพฯ 15 ก.ค. – ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประชุมหน่วยงานในสังกัดเกี่ยวกับโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง โดยยังไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ หลังจากที่มีเกษตรกรและบางภาคส่วนไม่เห็นด้วย ขณะที่อธิบดีกรมข้าวยอมรับ อาจต้องเลื่อนออกไปเป็นปีหน้าเพราะถูกวิจารณ์หนักเรื่องเกษตรกรขาดเงินสมทบ อีกทั้งสหกรณ์เข้าร่วมโครงการไม่พร้อม นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ระดับประเทศ ครั้งที่ 2/2567 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเช่น กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเพื่อสรุปผลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในการดำเนินโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง หลังจากมีอุปสรรคทำให้ระยะเวลาดำเนินการล่วงเลยมา ก่อนการประชุมนายประยูรกล่าวว่า วันนี้จะมีข่าวดี เรื่องปุ๋ยคนละครึ่ง โดยให้กรมส่งเสริมการเกษตรรายงานข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรและให้กรมส่งเสริมสหกรณ์รายงานความพร้อมของสหกรณ์ในการเข้าร่วมโครงการ การประชุมเป็นเป็นอย่างเคร่งเครียดและใช้เวลาประมาณ45นาที โดยปลัดกระทรวงเกษตรฯ ยังไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ ทั้งนี้ก่อนเข้าประชุมนายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดี กรมการข้าวบอกว่า โครงการปุ๋ยคนละครึ่งละครึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะต้องเลื่อนโครงการออกไปก่อน ซึ่งอาจจะเป็นฤดูกาลหน้าเนื่องจากขณะนี้ยังมีความเห็นต่างของเกษตร รวมทั้งเกษตรกรบางส่วนไม่มีเงินสมทบซื้อปุุ๋ยคนละครึ่ง และเกษตรกรบางส่วนเริ่มการเพาะปลูกไปแล้วและสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการยังมีน้อยราย หรือเพียง 500 แห่ง จากสหกรณ์ทั่วประเทศกว่า 1,000 แห่ง ทั้งนี้แม้ไม่สามารถดำเนินการได้ตามกำหนดเดิม โดยโครงการนี้อาจจะเลื่อนไปเป็นฤดูกาลเพาะปลูกหน้า ช่วงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งยังอยู่ในกรอบเวลาดำเนินการ 31 พฤษภาคม 2568 ส่วนผู้ผลิตปุ๋ยและชีวภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการข้าวกว่า 180 […]
กรุงเทพฯ 15 ก.ค. – กระทรวงเกษตรฯ อาจต้องถอยการดำเนินโครงการ “ปุ๋ยคนละครึ่ง” ที่ครม. เห็นชอบไปแล้ว เนื่องจากมีทั้งเกษตรกรบางส่วนและพรรคร่วมรัฐบาลไม่เห็นด้วยให้ดำเนินการ งบประมาณโครงการนี้ 2.9 หมื่นล้านบาท ใช้สนับสนุนค่าปุ๋ยตามสูตรที่กำหนดครึ่งหนึ่งและให้ชาวนาออกครึ่งหนึ่ง โดย “ธรรมนัส” ชี้อาจทบทวนรายละเอียดโครงการ แล้วเลื่อนไปทำในฤดูข้าวนาปีปีหน้า ที่ประชุมครม. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 มีมติเห็นชอบโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว (ปุ๋ยคนละครึ่ง) “ปุ๋ยคนละครึ่ง” ประจำฤดูกาลผลิตปี 67/68 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าวเสนอ กรอบวงเงินงบประมาณโครงการ 29,980.1695 ล้านบาท (เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าวให้ชาวนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567- 31 กรกฎาคม 2568 ตั้งเป้าหมายลดต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาได้ 10 % ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 10 % เพื่อให้มีอำนาจในการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเกษตรกรและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งยังได้ปุ๋ยคุณภาพดีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวและยกระดับคุณภาพข้าวให้สนองความต้องการของตลาด สำหรับแนวทางการดำเนินโครงการ จะสนับสนุนค่าปุ๋ยส่วนหนึ่งให้เกษตรกร โดยรัฐบาลช่วยครึ่งหนึ่งและชาวนาจ่ายอีกครึ่งหนึ่ง ในการซื้อปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และชีวภัณฑ์ในราคาไม่เกินไร่ละ […]
กรุงเทพฯ 13 ก.ค. – การเปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน มีผู้ร่วมแสดงความเห็นมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ในการรับฟังความคิดเห็นทางออนไลน์ คะแนนไม่เห็นด้วยมากถึง 95.2% เห็นด้วย 4.8% สวนทางกับการประชุมรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ซึ่งคะแนนเห็นด้วยมากกว่าไม่เห็นด้วย การเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเวลา 24.00 น. ที่ผ่านมา การปรับปรุงแนวเขตดังกล่าว เป็นไปตามมติครม. วันที่ 14 มีนาคม 2566 ซึ่งจะมีการตัดพื้นที่ที่มีสภาพเป็นชุมชนออกจากอุทยานแห่งชาติทับลาน 265,000 ไร่ จากนโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งระบุว่า เป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนประชาชนจากการทับซ้อนของแนวเขตที่ดินของรัฐ โดยให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ก่อนจัดทำแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานฉบับใหม่ ผลของการรับฟังความคิดเห็นทางออนไลน์ซึ่งดำเนินการตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน – 12 กรกฏาคม 2567 จำนวน 15 วัน มีผู้แสดงความคิดเห็น 947,107 คน แบ่งเป็น – ไม่เห็นด้วย 901,892 คน คิดเป็น 95.2% – เห็นด้วย […]
รมว. ธรรมนัส เผยกรมประมงกำลังเร่งแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำที่ต้นตอ ด้วยการวิจัยและพัฒนาด้านพันธุกรรมให้ประชากรปลาหมอคางดำเป็นหมัน