เพชรบูรณ์ 1 ก.ค.- สศก. คาดราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 65 สูงกว่าปี 64 เนื่องจากผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ประกอบกับสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนทำให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับสูงขึ้นทั่วโลก จากการสำรวจแหล่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แหล่งใหญ่พบว่า ราคาปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้นทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังซึ่งต้นทุนต่ำกว่า แต่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครนส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ มีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ในปี 2565 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ในปี 2565 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นไม่เกิน 14.5% จะสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% เกษตรกรขายได้ราคาสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม – มิถุนายน) ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 9.30 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.03 บาท ในช่วงเดียวกันของปี 2564 หรือร้อยละ 16
นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครนส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ มีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ในปี 2565 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ในปี 2565 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นไม่เกิน 14.5% จะสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% เกษตรกรขายได้ราคาสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม – มิถุนายน) ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 9.30 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.03 บาท ในช่วงเดียวกันของปี 2564 หรือร้อยละ 16
จากการสำรวจแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แหล่งใหญ่ของประเทศได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งเป็นแหล่งผลิตลำดับที่ 1 นครสวรรค์ซึ่งเป็นลำดับที่ 5 และ ลพบุรีซึ่งนับเป็นลำดับที่ 7 พบว่า เนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์และนครสวรรค์มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตเช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้น เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกมันสำปะหลังที่มีต้นทุนต่ำและให้ผลตอบแทนดีกว่า ขณะที่เนื้อที่เพาะปลูกจังหวัดลพบุรีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากในช่วงปลายปี 2564 พื้นที่บางส่วนประสบอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ ทำให้เนื้อที่เพาะปลูกมันสำปะหลังได้รับความเสียหาย เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน รวมแล้วในฤดูการผลิตปี 2565/66 ทั้ง 3 จังหวัด มีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 1 (ฤดูฝน) รวมประมาณ 1.41 ล้านไร่ (เพชรบูรณ์ 696,536 ไร่ นครสวรรค์ 332,957 ไร่ และ ลพบุรี 382,817 ไร่) หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ ลดลงจากปี 2564/65 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูกรวมประมาณ 1.42 ล้านไร่ หรือลดลงร้อยละ 0.67
ด้านผลผลิตภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด มีผลผลิตรวมประมาณ 1.04 ล้านตัน (เพชรบูรณ์ 522,153 ตัน นครสวรรค์ 246,572 ตัน และ ลพบุรี 269,713 ตัน) คิดเป็นร้อยละ 23 ของผลผลิตทั้งประเทศ ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2564/65 ที่มีผลผลิตรวมประมาณ 1.03 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.68 เนื่องจากคาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเหมาะสมและเพียงพอต่อการเพาะปลูก ประกอบกับเกษตรกรมีความชำนาญในการกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช เช่น หนอนกระทู้มากขึ้น โดยผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 1 (ฤดูฝน) ในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด จะทยอยออกสู่ตลาดในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2565 เป็นต้นไป และคาดว่าจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน 2565
ที่ผ่านมารัฐบาลได้ลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ด้วยการดำเนินมาตรการผ่อนปรนการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน (ข้าวสาลี และ ข้าวบาร์เลย์) โดยผ่อนปรนมาตรการการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วนที่ต้องรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศ 3 ส่วนเป็นการชั่วคราว ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศยังออกสู่ตลาดไม่มาก เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาภายในประเทศ พร้อมทั้งผ่อนปรนการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ภายใต้กรอบ WTO ในโควตา ซึ่งจากเดิมให้เฉพาะองค์การคลังสินค้า (อคส.) นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว ในอัตราภาษีร้อยละ 20 ปริมาณ 57,000 ตัน ได้ปรับใหม่ โดยให้ อคส. และผู้นำเข้าทั่วไปสามารถนำเข้าได้ในอัตราภาษีร้อยละ 0 ปริมาณไม่เกิน 600,000 ตัน ซึ่งหากมีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 เป็นต้นมา รวมทุกช่องทางปริมาณเกินกว่า 1.20 ล้านตัน ให้สิ้นสุดการผ่อนปรนและกลับไปใช้มาตรการเดิม
สำหรับ “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” เป็นข้าวโพดที่เพาะปลูกเพื่อนำเมล็ดมาใช้ผสมเป็นอาหารสัตว์และอื่นๆ ยกเว้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ทำการเพาะปลูกเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีเพาะปลูก 2565/66 แบ่งเป็น รุ่น 1 (ฤดูฝน) แบ่งออกเป็น ต้นฤดูฝน ปลูกระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565 และ ปลายฤดูฝน ปลูกระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565 ซึ่งผลผลิตทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2566 และ รุ่น 2 (ฤดูแล้ง) ปลูกระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ถึงพฤษภาคม 2566 .- สำนักข่าวไทย