คลังจับมือหลายหน่วยงานเดินหน้าบรรเทาภาระหนี้สิน ไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิต

กรุงเทพฯ 18 มิ.ย.-คลังจับมือหลายหน่วยงานเดินหน้าบรรเทาภาระหนี้สิน ไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิต เช่าซื้อรถยนต์ หาทางลดดอกเบี้ย ลดภาระรายย่อย


น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงมีความไม่แน่นอนและต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง การระบาดระลอกใหม่ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้รายได้ของประชาชนปรับลดลง ในขณะที่ภาระหนี้ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม ดังนั้น เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ในวงกว้าง ภาครัฐจึงได้ดำเนินมาตรการบรรเทาภาระหนี้สินมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1. งานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ร่วมกันจัดขึ้นพร้อมกับผู้ให้บริการทางการเงินหลายแห่ง เพื่อเป็นช่องทางช่วยให้ลูกหนี้ได้รับข้อเสนอที่ผ่อนปรนและตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น ลูกหนี้ทุกสถานะ รวมถึงลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) ที่ได้เริ่มบังคับหลักประกันแล้ว สามารถเข้าร่วมไกล่เกลี่ยปัญหาที่มีกับเจ้าหนี้ได้ ทั้งนี้ งานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ในครั้งนี้ ครอบคลุมหนี้ 3 ประเภท ดังนี้

1. หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน มีผู้ให้บริการทางการเงินเข้าร่วมแล้วถึง 26 แห่ง โดยลูกหนี้สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2564 2. หนี้ที่ไม่มีหลักประกันที่ถูกโอนขายไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) โดยมี บบส. เข้าร่วมแล้ว 4 แห่ง และลูกหนี้สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 กรกฎาคม 2564 3. หนี้เช่าซื้อรถยนต์ มีผู้ให้บริการทางการเงินเข้าร่วมแล้วถึง 12 แห่ง โดยลูกหนี้สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 กรกฎาคม 2564


ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. (www.bot.or.th หรือ www.1213.or.th) ผู้ให้บริการทางการเงินที่เข้าร่วมบริการ หรือติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือในการกรอกข้อมูล โทร. 1213 ในวันเวลาราชการ หรือส่งอีเมลมาที่ Debtfair@bot.or.th เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไป

2. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 โดย ธปท. ร่วมกับผู้ให้บริการทางการเงิน ยกระดับมาตรการเดิมให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น มุ่งเน้นช่วยลดภาระหนี้ในระยะยาว มีทางเลือก มีความยืดหยุ่น และมีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งจะครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภท ดังนี้ 1. บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เน้นการบรรเทาภาระหนี้โดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ยาวขึ้น กรณีเกินกว่า 48 งวด ให้ทบทวนอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราเพดาน (บัตรเครดิต ร้อยละ 12 และสินเชื่อส่วนบุคคล ร้อยละ 22) ตั้งแต่งวดแรก ลดค่างวด และรวมหนี้กับสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น 2. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีทางเลือกในการลดค่างวด หรือพักชำระค่างวด หรือรวมหนี้กับสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น โดยลูกหนี้จำนำทะเบียนรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ให้มีทางเลือกในการคืนรถ และหากมีภาระหนี้คงเหลือจากการขายประมูล ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้ 3. เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีทางเลือกในการลดค่างวด หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ โดยลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ให้มีทางเลือกในการพักชำระค่างวด หรือการคืนรถ รวมถึงให้คุมอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา (Effective Interest Rate : EIR) ไม่ให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยเดิม นอกจากนี้ ให้รวมหนี้กับสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น และหากลูกหนี้สามารถชำระค่าเช่าซื้อคืนทั้งหมด ให้ลดดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 4. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน เพิ่มทางเลือกด้วยการพักเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน และให้ลูกหนี้สามารถทยอยชำระคืนเป็นขั้นบันได (Step Up) ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งความประสงค์รับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2564 ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทางการเงิน

นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีนโยบายและโครงการอื่น ๆ ที่เป็นช่องทางในการช่วยบรรเทาภาระหนี้สินให้แก่ประชาชน เช่น โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ให้ข้อมูลและข้อแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้รายย่อยและธุรกิจ ทางด่วนแก้หนี้ ช่องทางเสริมสำหรับให้ประชาชนแจ้งขอความช่วยเหลือด้านการผ่อนชำระหนี้ โดย ธปท.จะส่งข้อมูลที่ได้รับไปยังผู้ให้บริการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง คลินิกแก้หนี้ ช่องทางช่วยเหลือลูกหนี้ NPLs บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน เป็นต้น รวมถึงนโยบายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายการพักชำระเงินต้นให้แก่ลูกหนี้ตามความสมัครใจ ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และนโยบายขยายมาตรการชะลอการชำระหนี้ออกไปจนถึงสิ้นปี 2564 สำหรับลูกหนี้ที่เข้าเงื่อนไข ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ได้โดยตรง.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยิงสส.กัมพูชา

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” ดับกลางกรุงเทพฯ

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ดับใกล้วัดดังกลางกรุง พบเหยื่อมีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลฮุนเซน

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม

ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา เพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม พร้อมกำหนดบทลงโทษหากพบเข้าไปข้องเกี่ยว

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา-วอศ.สระบุรี ชนะเลิศแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา และ วอศ.สระบุรี ชนะเลิศในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025 ณ เมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ข่าวแนะนำ

“เด็ก-เยาวชน” ส่ง ส.ค.ส.อวยพร “ปีใหม่-วันเด็ก” ให้นายกฯ

“เด็ก-เยาวชน” ส่ง ส.ค.ส.อวยพรปีใหม่ 2568 – วันเด็ก ให้ “นายกฯ พี่อิ๊งค์” มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ตั้งใจทำงานเพื่อบ้านเมือง อยู่คู่ตึกไทยคู่ฟ้า บริหารประเทศไปนานๆ พร้อมฝากความคิดถึง “อดีตนายกฯ ทักษิณ”

16 บอสดิไอคอน แถลงปฏิเสธทุกข้อหา ศาลนัดตรวจพยานหลักฐาน 10 ก.พ.

16 บอส ดิไอคอนกรุ๊ป แถลงปฏิเสธทุกข้อหา ศาลนัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน 10 ก.พ.นี้ ขณะที่ “ทนายวิฑูรย์” เผย “บอสพอล-บอสกันต์” ดีใจ หลัง “แซม-มิน” ได้ปล่อยตัว ส่วนท่าทีทั้งคู่ดูสบายๆ ปกติ ล่าสุดมีรายงาน “บอสวิน” ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว อยู่ระหว่างรอผล

ภรรยา “ลิม กิมยา” ให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน

ภรรยา “ลิม กิมยา” ให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน รวมถึงดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารและการติดต่อรับศพนายลิม ที่แผนกนิติเวช รพ.วชิรพยาบาล

บอสแซมมิน

ยังไม่จบ! “แซม-มิน” ลุ้น DSI เห็นแย้งอัยการหรือไม่

แม้อัยการสั่งไม่ฟ้อง “บอสแซม-บอสมิน” แต่ดีเอสไอย้ำชัด คดียังไม่จบ มีเวลาอีก 30 วัน พิจารณาสำนวนที่ถูกตีกลับว่าจะเห็นแย้งคำสั่งหรือไม่ ส่วนประเด็น “บอสมิน” ไม่ถูกตัดผมขณะถูกคุมขัง ราชทัณฑ์มีคำตอบให้แล้ว