SCB EIC คาด กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อเนื่องในปี 2021

กรุงเทพฯ 19 พ.ย. – SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อเนื่องในปี 2021 จากเศรษฐกิจไทยที่ในปี 2020  มีแนวโน้มหดตัวน้อยกว่าประมาณการเดิม



ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินว่าโอกาสที่ กนง. จะจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อเนื่องในปี 2021 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยที่ในปีนี้มีแนวโน้มหดตัวน้อยกว่าประมาณการเดิมของ EIC และ ธปท. ที่ -7.8% เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 หดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อนหน้าค่อนข้างมากจาก -12.1% มาอยู่ที่ -6.4% จากการฟื้นตัวที่เร็วกว่าคาดของการใช้จ่ายเพื่อบริภาคภาคเอกชนที่หดตัวเพียง -0.6% จากไตรมาสก่อนที่หดตัวถึง -6.8% สะท้อนการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ รวมถึงการบริโภคและการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัว จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง


ขณะที่แนวโน้มความสำเร็จของการผลิตวัคซีน COVID-19 จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีหน้า ซึ่ง EICประเมินว่า วัคซีนจะถูกแจกจ่ายเป็นวงกว้างจนก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 และกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 ปัจจัยข้างต้นนี้จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและครัวเรือนฟื้นตัวซึ่งเป็นสิ่งสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยในระยะต่อไป


ด้านสินเชื่อภาคธุรกิจ SMEs ยังคงหดตัวและความเข้มงวดของมาตรฐานการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non-PerformingLoan: NPL) ยังคงปรับสูงขึ้น แต่มาตรการการปรับโครงสร้างหนี้มีส่วนช่วยให้ NPL ไม่ปรับสูงขึ้นมาก โดยภาพรวม NPL ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาส 3 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.14% (จาก 3.09% ในไตรมาส 2/2020) จากสัดส่วน NPL ของภาคธุรกิจที่ปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.07% มาอยู่ที่ 3.24% ซึ่งปรับแย่ลงทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs อย่างไรก็ดีสัดส่วน NPL ของสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องจาก 3.12% มาอยู่ที่ 2.91% โดยเป็นการปรับลดลงของสินเชื่ออุปโภคบริโภคทุกประเภท ซึ่งเป็นผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ และการบริหารหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น ธปท. จึงมีแนวโน้มที่จะดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงอาจพิจารณาใช้มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการหนี้เสีย

ส่วนค่าเงินบาทตั้งแต่สิ้นเดือนตุลาคมจนถึงปัจจุบัน แข็งค่าถึง 3.3% ซึ่งเป็นการแข็งค่าอันดับที่สองในภูมิภาค เป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับสูงขึ้นหลังจากมีข่าวดีเกี่ยวกับการพัฒนาการผลิตวัคซีน COVID-19 ทำให้มีเงินไหลเข้ากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะไทยที่ยังมีเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีทำให้นักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นต่อสินทรัพย์ไทย ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ธปท. จึงอาจพิจารณาดำเนินมาตรการทางการเงินเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท โดยนโยบายด้านการคลังอาจเข้ามามีส่วนช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทได้ในระยะต่อไป  . – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ครบ 72 ชม. ตึก สตง.ถล่ม ไม่หยุดค้นหาผู้รอดชีวิต

ปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุตึก สตง.พังถล่ม แม้เวลาผ่านมาครบ 72 ชั่วโมงแล้ว แต่เจ้าหน้าที่้ทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายามในการค้นหาผู้รอดชีวิต หวังมีปาฏิหาริย์

นายกฯ สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือนภัย ลั่นยังไม่ได้ SMS แผ่นดินไหว

นายกฯ ลั่น จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับ SMS เตือนแผ่นดินไหว สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือน “กรมอุตุฯ ไป ปภ. เข้าเครือข่ายมือถือ” ไม่ต้องผ่าน กสทช. ระหว่าง รอ Cell Broadcast เต็มระบบ ก.ค.นี้

ปภ.ยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ใช่ผลจากอาฟเตอร์ช็อก

ปภ.แถลงชี้แจงกรณีสถานการณ์อพยพออกจากอาคาร ยืนยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ได้เป็นผลกระทบจากอาฟเตอร์ช็อก ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก