กรุงเทพฯ 27
ก.พ.-บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เผยกำลังผลิตใหม่จะมีเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 1,000
เมกะวัตต์ ป้อน กลุ่ม ปตท.โดยเฉพาะพื้นที่ อีอีซี เริ่มลงทุนเอ็นเนอร์ยี่สตอเรจรายแรกของอาเซียนในปีนี้ 100 MWH (เมกะวัตต์ชั่วโมง) พร้อมเล็งขยายลงทุนเมียนมา –สปป.ลาว
นายเติมชัย
บุนนาค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์
ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้ากลุ่ม
ปตท. เปิดเผยว่า การขยายการลงทุนของจีพีเอสซีพิจารณาทั้งลงทุนในประเทศต่างประเทศ
และนวัตกรรมใหม่ด้านพลังงานไฟฟ้า โดยในประเทศนั้น หลังจาก ร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก พ.ศ. … หรือ
(สนช.) แล้วก็ทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในการลงทุน ดังนั้น
ความต้องการใช้ไฟฟ้าและไอน้ำจะเพ่มขึ้น ทาง
จีพีเอสซีจึงมั่นใจว่าจะได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เฉพาะ กลุ่ม ปตท.
มีความต้องการทั้งทดแทนสัญญาเดิมกับรายอื่น และความต้องการใหม่เพื่อการลงทุน รวม
1,000 เมกะวัตต์ในช่วง 2-3 ปี โดย ตาม นโยบายของ ปตท.ก็จะมอบให้
จีพีเอสซีลงทุนทั้งหมด ซึ่ง บริษัทจะเริ่มโครงการตั้งแต่ปีนี้และก่อสร้างเสร็จใน
2-3 ปีข้างหน้า
บริษัทฯ ยังได้เตรียมแผนพัฒนาโครงการลงทุนนวัตกรรม
ให้สอดคล้องกับกระแสการตื่นตัวของด้านการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่น
โครงการระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System:ESS ) หรือแบตเตอรี่สำรอง
จะเริ่มลงทุนโรงงานต้นแบบในปีนี้นับเป็นรายแรกในอาเซียนใช้เทคโนโลยีของบริษัท 24M Technologies ประเทศสหรัฐอเมริกา ขนาดกำลังการผลิต 100 MWH (เมกะวัตต์ชั่วโมง) ลงทุนประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตได้ภายในปลายปี
2562 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช ชลบุรี
ในขณะเดียวกันในปีนีจะเริ่มโครงการสมาร์ทซิตี้ใน
เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนครซึ่งจะมีทั้งการโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา
(โซลาร์รูฟท็อป) พัฒนา ESS) และการเชื่อมต่อไฟฟ้าอัจฉริยะ (SMART GRID) โดยโครงการจะเริ่มดำเนินการได้ในปีนี้
อาจจะเริ่มนำร่องจาก 2-3 โรงงานก่อน
โดยกี่ใช้ไฟฟ้าของนวนครกำลังเติบโตมีความต้องการรวม 300-400 เมกะวัตต์
ซึ่งจีพีเอสซีเคยตั้งเป้าหมายเดิมไว้ว่า จะลงทุนติดตั้งตามแผนสมาร์ทซิตี้ประมาณ 50 เมกะวัตต์
เงินลงทุน 2,000 ล้านบาท นอกจากนี้ จะขยายโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมในนวนครโรงที่
2 อีก 65 เมกะวัตต์ จากที่ปัจจุบันกำลังผลิต ประมาณ 100 เมกะวัตต์ โดยขณะนี้
กำลังคัดเลือกผู้รับซึ่งจะเริ่มผลิตได้ในอีก 2 ปีข้างหน้า
สำหรับเป้าหมายการลงทุนในต่างประเทศ
บริษัทฯ ได้วางแผนการลงทุนไปพร้อมกับกลุ่ม ปตท. และพันธมิตรทางธุรกิจ โดยในเมียนมา
กำลังเจรจากับ 2 นิคมอุจสาหกรรม เพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนความต้องการ รวมทั้งศึกษาการร่วมทุนในสปป.ลาว
เพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนประทศอื่นๆ นอกเหนือจากไทย โดย ปัจจุบัน บริษัทได้ร่วมทุนใน
สปป.ลาว 2 โครงการ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี (XPCL) กำลังผลิต 1,200 เกมะวัตต์กำหนดการขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์
(COD) ภายในเดือนตุลาคม 2562 และโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำลิก 1 (NL1PC)กำลังผลิต 60 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถ COD ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
“กำไรในปีนี้คงจะดีกว่าปีที่แล้ว
เพราะรับรู้การรายได้การเดินเครื่องเต็มที่จากโครงการใหม่ๆที่สร้างเสร็จในปี 2560
เช่น โครงการในไออาร์พีซี โดยณ.สิ้นปี 2560 บริษัทมีกำลังผลิตรวม 1,922 เมกะวัตต์”นายเติมชัยกล่าว
-สำนักข่าวไทย