ปตท.เพิ่มเงินปันผล เดินหน้าหาพันธมิตร ยืนยันไม่ควบรวมกิจการ บริษัทลูก

กรุงเทพฯ 21 ก.พ. – ปตท.ยันแม้กำไร 67 หดตัว แต่เพิ่มเงินปันผล ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล พร้อมเดินหน้าสร้างผลประกอบการให้ดีขึ้นด้วยแผนงานลดต้นทุนรอบด้าน หาโอกาสทางธุรกิจ ยืนยันธุรกิจโรงกลั่น-ปิโตรเคมี ไม่มีการควบรวมกิจการ แต่หาพันธมิตรเสริมแกร่ง กำลังพูดคุยหลายราย และไม่มีแผนซื้อหุ้นคืน


นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แม้ผลประกอบการ ปตท. และบริษัทย่อย ปี 2567 มีกำไรสุทธิ 90,072 ล้านบาท ลดลงจากปี 66 ราว 19.6% ประกอบกับมีกระแสเงินสดราวกว่า 1 แสนล้านบาท คณะกรรมการ ปตท.มีมติจ่ายเงินปันผลปี 2567 ที่ 2.10 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่ร้อยละ 6.6 และคิดเป็น Dividend Payout Ratio หรือ อัตราส่วนเงินปันผลต่อกำไรที่ ร้อยละ 67 นับเป็นอัตราจ่ายสูงสุดตั้งแต่ ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นส่วนช่วยทั้งภาครัฐซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีเงินเข้ารัฐมากขึ้น และช่วยให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นดีขึ้น เป็นหนึ่งในนโยบาย ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล

ทั้งนี้ บอร์ด ปตท.วานนี้ (20 ก.พ.) อนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 2.10 บาท จำนวน 28,562,996,250 หุ้น รวมเป็นจำนวน 59,983 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.80 บาท ที่ ปตท.ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงิน 22,851 ล้านบาท คงเหลือเงินปันผลที่จะจ่ายสำหรับผลประกอบการครึ่งหลังของปี 2567 อีกในอัตราหุ้นละ 1.30 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 37,132 ล้านบาท โดยมีมติกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 7 มีนาคม 2568 และกำหนดจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการครึ่งหลังของปี 2567 ในวันที่ 29 เมษายน 2568


นายคงกระพัน กล่าวว่า ผลการดำเนินงาน ปตท. ปี 2567 ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน ทั้งในและต่างประเทศ แรงกดดันจากอุปสงค์ที่ลดลงและอุปทานที่มากเกินความต้องการในธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี โดยปีที่ผ่านมา ปตท.ดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์ใหม่ที่กลับมาเน้นธุรกิจหลัก Hydrocarbon ที่ถนัดและเชี่ยวชาญ ทบทวนกลยุทธ์ Non-Hydrocarbon เน้นธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มี Synergy ในกลุ่ม ปตท. เน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน บริหารต้นทุน ด้วยการทำ Operational Excellence ทั้งกลุ่ม ปตท. นำ digital มาใช้ นอกจากนี้ มุ่งดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

“ผลประกอบการที่แข็งแกร่ง เกิดจากบริหารจัดการและรวมพลังในองค์กร มีกำไรหลักมาจากธุรกิจ Upstream แม้ได้รับผลกระทบจากนโยบายภาครัฐ มาชดเชยกับธุรกิจ Downstream ที่ได้รับความกดดันจากปัจจัยด้านราคา แต่เรื่องสำคัญคือการบริหารต้นทุน และควบคุมค่าใช้จ่ายทั้งกลุ่ม ปตท. รวมถึงการบริหารรายการพิเศษและบริหารผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนและเงินกู้ได้ดี” นายคงกระพัน กล่าว

ทั้งนี้ ในปี 2567 ธุรกิจ Hydrocarbon and Power ซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่สร้างผลตอบแทนให้กับ ปตท. ประกอบด้วย การลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิต ผ่าน บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) โดย ปตท.สผ. สามารถปรับเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติโครงการ G1/61 (แหล่งเอราวัณ) จาก อ่าวไทยสู่ระดับ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 10 ในโครงการสัมปทานกาชา (Ghasha Concession Project) หนึ่งในแหล่งก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ,ธุรกิจ LNG มีปริมาณการนำเข้า LNG ทั้งสัญญาระยะยาว และสัญญาแบบ Spot รวม 9.6 ล้านตันต่อปี, ธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย สร้างมูลค่าเพิ่ม 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากความร่วมมือภายในกลุ่ม ตามโครงการ P1 และโรงกลั่นได้ปรับการผลิตน้ำมันดีเซลให้ได้มาตรฐานยูโร 5 เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่น PM 2.5 ตามนโยบายของภาครัฐ


ธุรกิจไฟฟ้า มีกำลังการผลิตเพิ่มเติม (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง) รวมทั้งหมด 15 GW โดยหลักมาจากการลงทุนพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ สำหรับธุรกิจ Non-Hydrocarbon ได้ทบทวนกลยุทธ์ เน้นทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่ม ปตท. โดย EV ธุรกิจมุ่งเน้นการขยายสถานีชาร์จไฟฟ้าร่วมกับ OR ที่มีความพร้อมของ Ecosystem สำหรับ Life Science เป็นธุรกิจที่ดี แต่ต้องขับเคลื่อนได้ด้วยธุรกิจเอง self-funding มีผู้เชี่ยวชาญ ปีที่ผ่านมารับรู้รายได้จากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัท Alvogen Malta (Out-licensing) Holding Ltd. มูลค่า 4,500 ล้านบาท ของบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด สำหรับ Logistics ออกจากธุรกิจไม่สอดคล้องกับ ปตท. มุ่งเน้นที่สามารถต่อยอดและมี Synergy ภายในกลุ่ม ปตท.

“ปตท.เดินหน้าปรับโครงสร้างองค์กร กำลังคัยกับหลายรายในการมาเป็นพันธมิตรในบริษัทลูกด้านโรงกลั่นและปิโตรเคมี ซึ่งต้องบริษัทที่แข็งแกร่งมาเสริม ปตท.อาจเป็นด้านวัตถุดิบ ด้านตลาด ด้านเทคโนโลยี โดย ปตท.จะยังคงสัดส่วนถือหุ้นใหญ่ในบริษัทลูก ซึ่งยืนยันว่า ไม่มีแผนควบรวมกิจการในบริษัทลูกแต่อย่างใด และในขณะนี้ยังไม่มีแผนซื้อหุ้นคืนใน SET แม้ว่า ปตท.จะมีกระแสเงินสดกว่าแสนล้านบาท และรวมทั้งกลุ่มมีกระแสเงินสดรวมกว่า 4 แสนล้านบาท” นายคงกระพัน กล่าว

นอกจากนี้ ปตท.ยังเสริมความแข็งแกร่งตามแผนงานใหม่ EBITDA Uplift มีแผนทั้งระสั้น ,กลางและยาว เป็นไปตามกลยุทธ์สร้างการเติบโตควบคู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่ NET ZERO โดยระยะสั้น ปรับโครงสร้างธุรกิจตามแผนงาน , การเพิ่มมูลค่าต่อยอดความร่วมมือของบริษัทในเครือจาก P1 ที่ร่วมกันบริหารนำเข้าน้ำมัน ก็เป็นความร่วมมือบริหารจัดการด้านผลิตภันฑ์ภายในประเทศร่วมกัน โครงการ D1 ตั้งเป้าหมายเพิ่มมูลค่า 3,300 ล้านบาท/ปี ภายใน 3 ปี , โครงการ Mission X การจัดการปรับปรุงการผลิตและอื่นๆของแต่ ละบริษัทตั้งเป้าหมาย เพิ่ม EBITDA ของของกลุ่มรวม 3 หมื่นล้านบาท โดยในส่วนนี้เป็นการดำเนินการของ ปตท. 1 หมื่นล้านบาท และโครงการ Digital Transformation เพิ่มประสิทธิภาพ รวม 2,000 ล้านบาท ภายในปี 2569 ส่วนแผนระยะกลาง คือปรับโครงสร้างหาพันธมิตร ธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่น และโครงการ LNG HUP และระยะยาวพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีในการลดก๊าซเรือนกระจก ใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage / CCS) รวมถึงการลงทุนธุรกิจไฮโดรเจน

“ปีนี้ยังคงท้าทาย ปตท.ติดตามผลกระทบทุกด้านรวมทั้งการขึ้นภาษีของสหรัฐ โดยมุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สร้างการเติบโตควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก ต้องสร้างความแข็งแรงภายในองค์กร ลดความเสี่ยง รักษาเสถียรภาพให้กับธุรกิจ พิจารณาการลงทุนด้วยความระมัดระวัง พร้อมดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างสมดุล พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ส่วนการดูแลค่าไฟฟ้า โดยที่ผ่านมาร่วมดูแลสังคม ดูแลต้นทุนพลังงานตั้งแต่ปี 63-67 รวม 2.8 หมื่นล้านบาท ส่วนการที่ รมว.พลังงาน จะขอความร่วมมือปรับราคา Pool Gas นั้นยังไม่ได้รับการติดต่อ” นายคงกระพัน กล่าว. -511-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เจาะโซน C และ D สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์-บันไดหนีไฟ

กู้ภัย เผยเจาะโซน C และ D ได้สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์และบันไดหนีไฟ เชื่อมีผู้สูญหายติดอยู่โซนนี้จำนวนมาก หลังพบเสียงขอความช่วยเหลือจากโซน B ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา

ลุ้นช่วยผู้รอดชีวิต หลังพบสัญญาณชีพ

ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ยังเดินหน้าต่อเนื่อง ขณะนี้ในพื้นที่เสียงเครื่องจักรหนักหยุดลง เป็นสัญญาณว่าทีมกู้ภัย ทั้งเจ้าหน้าที่ค้นหาและสุนัข K9 กำลังเข้าไปเดินสำรวจหลายจุด ซึ่งปฏิบัติการตลอดทั้งวันนี้เน้นจุดโซน B หลังจากช่วงคืนที่ผ่านมา (2 เม.ย.) มีสัญญาณตอบกลับจากผู้ที่คาดว่าจะรอดชีวิต

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ ชง “ครม.” ผุดมาตรการตรวจสอบ “บ.รับจ้าง” ขึ้นบัญชีดำผู้รับเหมา หวังป้องกันเหตุซ้ำรอยตึก สตง. ถล่ม

“วันนอร์” ของขึ้น! ขอ ตร.สภาเข้าชาร์จ หลังเถียงกันวุ่นปมญัตติใครขึ้นก่อน

สภาเดือด “วันนอร์” ของขึ้น! ลุกยืน ขอ ตร.สภาเข้าชาร์จ หลังเถียงกันวุ่น เอาญัตติใครขึ้นก่อน เหตุ “อนุสรณ์” เสนอญัตติเลื่อนระเบียบวาระเอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ ไปพิจารณาครั้งถัดไป ซ้อน “เท้ง” เรื่องแผ่นดินไหว “ไอติม” ก็เดือด ทุบโต๊ะ แซะรัฐบาล ไม่กี่ชั่วโมงก็รอไม่ได้ จะเอา “กาสิโน” เข้าทันทีเลย ด้าน “ชัยชนะ” นั่งไม่ติดขอใช้สิทธิพาดพิง ยันพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้เห็นด้วยกับฝ่ายค้าน ทำ “ปกรณ์วุฒิ” โต้กลับ เบรกอย่าประท้วงมั่วซั่ว ขณะ “โรม” ลุกโวยปิดไมค์แต่ฝ่ายค้าน สุดท้ายแพ้ ญัตติขอเลื่อนระเบียบวาระถูกพิจารณาก่อน