เซี่ยเหมินจีน 4 ก.ย.-ไทย-จีนลงนามความตกลงเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง
4 ฉบับ เน้นช่วงกรุงเทพ
มหานคร-นครราชสีมา ก่อนเร่งเดินหน้าตามกำหนด
คาดศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสร็จเดือนกันยายนหรือตุลาคม
ก่อนเริ่มก่อสร้างได้และจะมีการออกแบบระยะที่ 2 ถึงหนองคายควบคู่กันไปด้วย
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน
จำนวน 4 ฉบับ
ประกอบด้วย
สัญญาการออกแบบโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสารธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา
ระยะที่ 1 สัญญาที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา
ระยะที่ 1 ร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน
(พ.ศ. 2560-2564) และ ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่
21 ว่า
หลังลงนามความร่วมมือแล้ว ทางจีนจะส่งแบบงานการก่อสร้างมาให้กับไทย
โดยแบบแรกจะเป็นช่วงระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ซึ่งในส่วนของไทยอยู่ระหว่างการทำผลกระทบสิ่งแวดล้อม(
EIA) ที่คาดว่าจะเสร็จประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคมนี้ รวมทั้งจะมีการส่งสถาปนิกของไทย
เข้าอบรมกับจีนเป็นชุดแรกในวันที่ 22 กันยายนนี้
จากนั้นคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้าง ระยะที่1 กรุงเทพ-
นครราชสีมาอย่างเร็วสุดเดือนตุลาคม 2560
“ระหว่างดำเนินการก่อสร้างระยะแรก
จะมีการวางแผนออกแบบระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา -หนองคาย ควบคู่กันไปด้วย
คาดเสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานปี 2564- 2565 ซึ่งการก่อสร้างรถไฟเส้นทางจีน
-เวียงจันทร์ ของสปปลาว จะแล้วเสร็จ
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน จะนำไปสู่ความร่วมมือ วันเบล์ทวันโรด
ที่เชื่อมโยงกันได้อย่างแท้จริง”นายอาคม กล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวถึงความร่วมมือในอนาคตกับจีน ว่า จะมีการขยายความร่วมมือไปด้านการค้า
การลงทุน การท่องเที่ยว และความเชื่อมโยงทางทะเล
ขณะที่ไทยเองต้องการความร่วมมือทางอากาศ เพราะนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวไทยจำนวนกว่า
9 ล้านคน เที่ยวบินของไทยเป็นที่นิยม
จึงอยากจะขยายเที่ยวบินของไทย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในไทยด้วย
หากปลดธงแดงได้เตรียมจะหารือกับทางจีนเพิ่มเที่ยวบินให้มากขึ้น-สำนักข่าวไทย