นนทบุรี 4 ก.ย.-กระทรวงพาณิชย์ลงนาม MOU กับเอสเอ็มอีแบงก์ปล่อยสินเชื่ออัดฉีดเงินลงทุนให้ธุรกิจแฟรนไชส์ขยายธุรกิจและผลักดันคนรุ่นใหม่
Start Up เป็นผู้ประกอบการแฟรนไชส์
โดยคัดเลือกธุรกิจแฟรนไชส์นำร่องในการปล่อยสินเชื่อ 12 ราย
น.ส.บรรจงจิตต์
อังศุสิงห์
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นประธานลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับนายมงคล ลีลาธรรม
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือเอสเอ็มอีแบงก์ภายใต้ “โครงการสินเชื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน” ระหว่าง 3 หน่วยงาน
ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอสเอ็มอีแบงก์และธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอี ไทย ใน ‘ธุรกิจแฟรนไชส์’ ให้สามารถเข้าถึงเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดธุรกิจ
การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี
และนวัตกรรมตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์
ทั้งนี้
การดำเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมา ได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกันคัดเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยู่ในการส่งเสริมและพัฒนาของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เพื่อเป็นธุรกิจนำร่องสำหรับปล่อยสินเชื่อให้กับผู้สนใจลงทุน(Franchisee) ในธุรกิจแฟรนไชส์
โดยจะต้องเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisor) ที่มีค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และการลงทุนไม่ต่ำกว่า
1 ล้านบาท
และมีคุณสมบัติต่าง ๆ ตรงตามที่เอสเอ็มอีแบงก์กำหนด โดยได้คัดเลือกแฟรนไชส์นำร่อง
จำนวน 12 ราย แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 7 ธุรกิจได้แก่ N&B Pancake,กาแฟดอยช้าง,FUJIYAMA GOGO, Billion Coffee, ยูนนาน/แซ่บ Classic by ส.ขอนแก่น,โชคดีติ่มซำ
และ Hokkaido Milk ธุรกิจบริการ 3 ธุรกิจ ได้แก่
OTTERI Wash & Dry, โมลีแคร์ และ PD House ธุรกิจการศึกษา
1 ธุรกิจได้แก่
โรงเรียนกวดวิชาและภาษาบ้านวิชากรและ ธุรกิจค้าปลีก 1 ธุรกิจ ได้แก่
Teddy House
นายมงคล
ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์
กล่าวว่า ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์
ภายใต้โครงการ“สินเชื่อเพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน”
วงเงิน 7,500 ล้านบาท เพื่อสร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ หรือกลุ่ม Start Up ที่ต้องการทำธุรกิจแฟรนไชส์
สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนนำไปเริ่มต้นธุรกิจในชุมชนแหล่งท่องเที่ยว
หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หรือภูมิลำเนา
กระตุ้นให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตามนโยบาย Local Economy ของรัฐบาล
สำหรับสินเชื่อเพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน
ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 2 ล้านบาท กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มวงเงินต่อรายไม่เกิน
5 ล้านบาท นิติบุคคลสูงสุดต่อรายไม่เกิน 15 ล้านบาท
โดยวงเงิน 5
ล้านบาทแรกไม่ต้องใช้หลักประกันสามารถใช้บสย.ค้ำประกัน
ซึ่งจะได้รับการชดเชยค่าธรรมเนียม บสย. ใน 4
ปีแรก ระยะเวลาการกู้ยืมรวม 7 ปี กรณีใช้หลักประกันตามเกณฑ์ธนาคาร
คิดอัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR – 1.5 ต่อปี
ปีที่ 2 เป็นต้นไป
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR – 1.0 ต่อปี กรณีใช้หลักประกัน บสย. คิดอัตราดอกเบี้ย
MLR ต่อปี
ลูกค้าจะได้รับการช่วยเหลือค่าธรรมเนียม บสย. ฟรี 4 ปี ปีละ 1.75% รวม 7% โดยรัฐบาลช่วยเหลือ 4% และอีก 3% เป็นการช่วยเหลือจากธนาคาร ทั้งนี้
ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ชำระหนี้ปกติตามเกณฑ์ของธนาคาร
สำหรับข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2560 มีธุรกิจเอสเอ็มอียื่นคำขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจรวม
154,622 คำขอ
มูลค่าทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน 2,986,331 ล้านบาท
โดยสิทธิเรียกร้องประเภทบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันมากที่สุด
คิดเป็นร้อยละ 60.39
คิดเป็นมูลค่า 1,802,725 ล้านบาท
รองลงมา คือ อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ
เครื่องจักร รถยนต์ เรือ คิดเป็นร้อยละ 19.35 คิดเป็นมูลค่า 577,508 ล้านบาท
และสิทธิเรียกร้องประเภทอื่นๆ เช่น ลูกหนี้การค้า สัญญาจ้าง สัญญาซื้อขาย
สัญญาเช่าซื้อ คิดเป็นร้อยละ 20.24 คิดเป็นมูลค่า 604,123 ล้านบาททรัพย์สินทางปัญญา คิดเป็นร้อยละ
0.07 คิดเป็นมูลค่า 1,975 ล้านบาท
เป็นต้น .-สำนักข่าวไทย