“ราช กรุ๊ป” ทุ่มงบ 1 หมื่นล้าน ขยายการลงทุน หนุนเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

นนทบุรี 26 ส.ค. – บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประกาศหนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนและเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของบริษัทฯ พร้อมเริ่มศึกษาโมเดลการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ารูปแบบใหม่ และเทคโนโลยีพลังงานอนาคต ทั้งกรีนไฮโดรเจน, ระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ และการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) ขณะเดียวกันได้เตรียมทบทวนธุรกิจ ชะลอกิจการสาธารณูปโภคโครงการใหม่


นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การขับเคลื่อนเป้าหมายการเติบโตนับจากนี้ บริษัทฯ จะมุ่งเน้นใน 3 เรื่องสำคัญ กล่าวคือ (1) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าที่เป็นแหล่งรายได้หลักและกระจายอยู่ในหลายประเทศ โดยจะนำดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการติดตามการดำเนินงานและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้น (2) บริหารโครงการในมือที่มีอยู่แล้วให้เสร็จตามเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบันมี 15 โครงการ กำลังผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น รวม 1,773 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและก่อสร้าง ในจำนวนนี้มี 4 โครงการ ได้แก่ โรงไฟฟ้าอาร์อีเอ็น โคราช โรงไฟฟ้านวนครส่วนขยาย โรงไฟฟ้าพลังน้ำซองเกียง1 เวียดนาม และโครงการกักเก็บพลังงานระบบแบตเตอรี่ LG2 ออสเตรเลีย กำลังผลิตตามสัดส่วนถือหุ้น รวม 40 เมกะวัตต์ มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในครึ่งหลังของปีนี้นอกเหนือจาก 3 โครงการที่ดำเนินการสำเร็จในครึ่งแรกของปีนี้ ได้แก่ โรงไฟฟ้าหินกอง ชุดที่ 1 กำลังผลิตตามสัดส่วนถือหุ้น 392.7 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าไพตัน อินโดนีเซีย กำลังการผลิต 742 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าคาลาบังก้า ฟิลิปปินส์ กำลังการผลิต 36.36 เมกะวัตต์ (3) การลงทุนขยายธุรกิจ โดยบริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์การลงทุน ให้มุ่งเน้นโครงการที่อยู่ในแนวทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ประเทศไทย สปป. ลาว ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย ซึ่งแต่ละประเทศได้กำหนดกรอบการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไว้ชัดเจนแล้ว ซึ่งครอบคลุมกำลังการผลิตพลังงานทดแทนและเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเริ่มศึกษาโมเดลการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ ระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS) การผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนสีเขียว การซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนโดยตรง (Direct Power Purchase Agreement: DPPA) และการผลิตไฟฟ้าจากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (Small Reactor Modular: SMR) ซึ่งได้ร่วมกับพันธมิตรศึกษาเทคโนโลยี รวมถึงประเมินผลกระทบด้านต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีความปลอดภัย หากมีการนำมาใช้ อย่างไรก็ตามยังต้องรอความชัดเจนจากภาครัฐ ว่าจะให้รัฐวิสาหกิจ หรือ เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุน

“ในปีนี้ บริษัทฯ ได้ทบทวนและกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจ โดยยังคงมุ่งเน้นธุรกิจผลิตไฟฟ้าและพลังงาน พร้อมทั้งวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลกและประเทศ รวมถึงศักยภาพและขีดความสามารถของบริษัทฯ ส่วนรูปแบบการลงทุนจะเน้นโครงการประเภทกรีนฟิลด์และบราวน์ฟิลด์ โดยจะเข้าร่วมพัฒนาโรงไฟฟ้าในประเทศเป้าหมาย ซึ่งประเทศไทยและอินโดนีเซีย มีโอกาสลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และก๊าซธรรมชาติ สปป. ลาว มีศักยภาพที่จะลงทุนด้านพลังงานน้ำเพื่อส่งจำหน่ายให้กับประเทศไทย ส่วนออสเตรเลียมีศักยภาพพัฒนาโครงการพลังงานลม แสงอาทิตย์ ระบบกักเก็บพลังงาน และโครงการประเภท Synchronous Condenser ที่ต่อยอดจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เริ่มศึกษาโมเดลการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ารูปแบบใหม่ และเทคโนโลยีพลังงานอนาคต ที่สามารถต่อยอดจากสินทรัพย์และศักยภาพความสามารถของบริษัทฯ ที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ โครงการกรีนไฮโดรเจน ได้ร่วมกับ BIG พัฒนาการผลิตไฮโดรเจนจากพลังงานทดแทนจากโครงการของบริษัทฯ ที่มีอยู่ในประเทศไทย สปป. ลาว ออสเตรเลีย เพื่อจำหน่ายภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง และการผลิตไฟฟ้าในอนาคต ระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบแบตเตอรี่ ซึ่งบริษัทย่อยในออสเตรเลียกำลังศึกษาโครงการขนาด 100 MW/200 MWh ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ โครงการซื้อขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดโดยตรงในประเทศไทย ซึ่งกำลังร่วมกับพันธมิตรศึกษาโครงการนำร่องในนิคมอุตสาหกรรม และการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ขนาดเล็ก ก็ได้ร่วมกับพันธมิตรทำการศึกษาเทคโนโลยี กฎระเบียบ และประเมินผลกระทบด้านต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีความปลอดภัยสูงหากมีการนำมาใช้ บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า การดำเนินตามแนวทางแผนกลยุทธ์ที่วางไว้จะทำให้ราช กรุ๊ป เดินหน้าไปพร้อมกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและสามารถขยายธุรกิจสร้างการเติบโต ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” นายนิทัศน์ กล่าว


ปัจจุบันบริษัทฯ รับรู้กำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการลงทุน รวม 10,817.28 MW โดยเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล รวม 7,842.61 เมกะวัตต์ (ร้อยละ 72.5) และกำลังผลิตจากพลังงานทดแทน รวม 2,974.67 (ร้อยละ 27.5) ในปี 2567 บริษัทฯ จัดสรรเงินลงทุน จำนวน 10,000 ล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจากพลังงานทดแทนให้ถึงร้อยละ 30 ในปี 2573 และร้อยละ 40 ในปี 2578. -517-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ได้เบาะแสเพิ่ม โจร 30 วิ ล็อกเป้าชิงทอง 1.6 ล้าน

เหตุคนร้ายสวมชุดไรเดอร์ควงปืนปลอม ชิงทองมูลค่า 1.6 ล้าน กลางห้างอุดรฯ ชุดสืบยังเร่งแกะรอยล่า ยืนยันได้วงจรปิดเส้นทางมาชิงทองและเส้นทางหนีแล้ว มั่นใจคนร้ายล็อกเป้ามาชิงทองร้านนี้ร้านเดียว

สส.ปชน.โต้ “ทักษิณ” ปราศรัยหยาบคาย-ดูถูก

สส.เหนือ พรรคประชาชน โต้ “ทักษิณ” หลังซัด “เท้ง” สึ่งตึง “พุธิตา” ย้อน ตลกดี เป็นถึงผู้หลักผู้ใหญ่ ปราศรัยหยาบคาย-ดูถูก ลั่นดิสเครดิตแบบนี้ไม่ได้อะไร ไล่ไปทำหน้าที่รัฐบาลให้ดี เห็นมากี่ทีขอ สส.คืน

“ชัยธวัช” น้อมรับ ปชน.พ่ายเลือกตั้งซ่อมนครศรีฯ เขต 8

“ชัยธวัช” น้อมรับ ปชน.พ่ายเลือกตั้งซ่อม สส.นครศรีฯ เขต 8 หลัง “กล้าธรรม” ชิงประกาศชัยชนะ ผิดหวังภาคใต้ซื้อเสียงโจ๋งครึ่ม หวังประชาชนยังเทใจให้ชนะเลือกตั้งทั่วไป

ข่าวแนะนำ

รื้อซากตึกสตง.

รื้อซาก สตง.ถึงชั้นใต้ดินแล้วบางส่วน-พบผู้สูญหายอีก 1 ร่าง

เจ้าหน้าที่ลดความสูงซากตึก สตง. ถึงชั้น 1 แล้ว และลงไปถึงชั้นใต้ดินได้บางส่วน โดยวันนี้จะเสริมรถหัวเจาะกระแทกเข้ามาเพิ่ม ขณะที่เมื่อคืนพบร่างผู้สูญหายอีก 1 ร่าง ยืนยันจะทำงานให้เร็วที่สุด เพื่อคืนร่างผู้สูญหายทั้งหมดให้ญาติ

นายกฯ ขันนอตกระทรวง-หน่วยงาน เร่งเดินโครงการบริหารจัดการน้ำ

นายกฯ ขันน็อตกระทรวง-หน่วยงาน เร่งเดินโครงการบริหารจัดการน้ำ ตั้งคำถามเบิกงบฯ แก้น้ำท่วมตั้งแต่ปี 63 สร้างคืบแค่ 5% บอกน้อยมาก พร้อมแจ้ง ครม.รับทราบแผนถก JCR ไทย-กัมพูชา ก.ค.นี้ หวังสางปมคอลเซ็นเตอร์-ยาเสพติด เล็งจับมืออาเซียนดึงจุดแข็งแต่ละประเทศ เจรจากำแพงภาษีสหรัฐ

เรียกสอบวิศวกรตึกถล่ม

เริ่มแล้ว! ดีเอสไอ เรียกสอบชุดแรก 10 วิศวกร ตัวแทนอิตาเลียนไทย

เริ่มแล้ว! พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ เรียก 10 วิศวกร และตัวแทนจาก บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เข้าให้ปากคำชุดแรก คดีตึก สตง.หลังใหม่ถล่ม

people at Saint Peter's Square

ประชุมลับเลือกโป๊ปองค์ใหม่ 7 พ.ค.

สำนักวาติกัน 29 เม.ย.- ที่ประชุมพระคาร์ดินัลกำหนดให้วันที่ 7 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มต้นการประชุมลับในการเลือกสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ใหม่ หรือที่เรียกว่า คอนเคลฟ (conclave) เมื่อวานนี้ พระคาร์ดินัลจากทั่วโลกประชุมกันที่โบสถ์น้อยซิสทีน ในพระราชวังพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่สมัยคริสต์ทศวรรษที่ 16 ภายในนครรัฐวาติกัน โดยปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชม เป็นการประชุมครั้งแรกหลังพิธีฝังพระศพสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เพื่อหารือเรื่องกำหนดวันประชุมลับในการเลือกสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ใหม่ หรือที่เรียกว่า คอนเคลฟ (conclave) ที่ประชุมตกลงให้วันที่ 7 พฤษภาคมเป็นวันเริ่มต้นการประชุมลับเพื่อเลือกโป๊ปองค์ต่อไป ตามปกติแล้ว คอนเคลฟจะเกิดขึ้นหลังจากผ่านพ้นวันสิ้นพระชนม์ 15-20 วัน จึงจะไม่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 6 พ.ค. สำหรับคอนเคลฟ 2 ครั้งที่ผ่านมา คือ ปี 2548 และ 2556 กินเวลา 2 วัน ส่วนค่าเฉลี่ยของคอนเคลฟ 10 ครั้งหลังสุดคือ 3 วัน โดยในคอนเคลฟครั้งนี้ จะมีในพระคาร์ดินัล 135 รูปที่มีอายุต่ำกว่า 80 ปี จะได้ร่วมประชุมลับและลงคะแนน […]