หลายปัจจัยฉุดยอดส่งออกไทยปี 66 ติดลบ 1% แต่ปีหน้าบวกแน่

กรุงเทพฯ 12 ธ.ค.-ประธาน สรท. คาดการณ์ยอดส่งออกในปี 66 จากผลกระทบหลายด้านฉุดยอดส่งออกปีนี้ติดลบแน่นอนร้อยละ 1 แต่มั่นใจปี 67 ข่าวดีมีมากน่าจะดันให้ยอดส่งออกไทยกลับมาเป็นบวกได้ร้อยละ 1-2 ฝากรัฐบาลช่วยดูลดต้นทุนและเร่งขยายตลาดใหม่ ส่วนต้นทุนค่าแรงนั้น ภาคเอกชน เคารพ มติของไตรภาคี แม้อัตราที่เพิ่มขึ้น จะไม่กระทบมากนัก


ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ระบุว่าภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนตุลาคม 2566 กับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า การส่งออกมีมูลค่า 23,578.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 8.0% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 841,366 ล้านบาท ขยายตัว 4.7% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนตุลาคมขยายตัว 5.4%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 24,411.1 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 10.2% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 881,124 ล้านบาท ขยายตัว 6.9% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2566 ขาดดุลเท่ากับ 832.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 39,758 ล้านบาท

ทั้งนี้ ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม – ตุลาคมของปี 2566 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 236,648.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 2.7% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 8,109,766 ล้านบาท หดตัว 2.6% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วงมกราคม – ตุลาคม หดตัว 0.6%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 243,313.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 4.6% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 8,439,268 ล้านบาท หดตัว 4.7% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม – ตุลาคม 2566 ขาดดุลเท่ากับ 6,665.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 329,502 ล้านบาท


อย่างไรก็ตาม สรท. คาดการณ์เป้าหมายการทำงานด้านการส่งออกรวมทั้งปี 2566 หดตัวที่ร้อยละ -1.5 ถึง 1 ขณะที่ปี 2567 คาดการณ์ส่งออกของไทยเติบโตที่ร้อยละ 1-2 (ณ เดือนธันวาคม 2566) โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2566 ได้แก่ 1) เศรษฐกิจทั่วโลกปี 2566 ในภาพรวมเติบโตได้น้อยกว่าที่คาดไว้และยังคงอยู่ในทิศทางชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศหลัก 2) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ จากภาวะสงครามที่ยืดเยื้อส่งผลให้ความต้องการสินค้าไม่แน่นอนและกระทบต่อการค้าและเศรษฐกิจโดยรวม

3) อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกยังคงทรงตัวระดับสูง ส่งผลให้ชะลอตัวทางเศรษฐกิจถึงแม้อัตราดอกเบี้ยโดยรวมจะปรับลดลงบ้างแล้ว โดยคู่ค้าหลักยังคงมีอัตราดอกเบี้ยสูงเช่น สหรัฐ 4) ดัชนีภาคการผลิต (PMI) ยังคงทรงตัวและมีแนวโน้มหดตัวในบางตลาดสำคัญ ส่งผลให้ภาคการผลิตตึงตัว จากดัชนีภาคการผลิตเคลื่อนไหวใกล้เส้น base line โดยเฉพาะสหรัฐ ญี่ปุ่น เวียดนาม และ 5) ความกังวลเรื่องต้นทุนภาคการผลิตที่ยังมีความไม่แน่นอน อาทิ ค่าไฟฟ้าและค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ สรท.มีข้อเสนอแนะสำคัญ ประกอบด้วย 1) บริหารจัดการลดต้นทุนการผลิตเพื่อรักษาความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนพลังงาน ค่าไฟฟ้า อัตราดอกเบี้ย ค่าจ้างขั้นต่ำ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และ 2) เร่งรัดการจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในตลาดเป้าหมายที่สำคัญ และเร่งการเจรจาการค้าเสรี (FTA) และความตกลงทางการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจรูปแบบอื่น อาทิ Mini FTA ทั้งนี้ เพื่อสร้างแต้มต่อและลดอุปสรรคในการเข้าถึงตลาดและแหล่งวัตถุดิบ ให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำเสนอสินค้าเข้าสู่ตลาดโลกและแสวงหาวัตถุดิบสำคัญได้มากขึ้น


นอกจากนี้ ส่วนของต้นทุนค่าแรงนั้น ภาคเอกชน เคารพ มติของไตรภาคี แม้อัตราที่เพิ่มขึ้น จะไม่กระทบมากนัก ซึ่งผู้ประกอบการ ยังสามารถรักษาระดับราคาสินค้าได้ แต่แนวโน้มในอนาคต น่าจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้น ทางรอดเดียว คือ ผู้ประกอบการ ก็ต้องปรับปรุงด้านการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ต้องเริ่มต้นทันที ด้วยการลดการพึ่งพาแรงงาน และหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพราะแรงงาน จะขาดแคลนมากขึ้น และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ   ขณะที่ รัฐบาล ก็ต้องเข้าไปสนับสนุนการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อให้ผู้ส่งออกแข่งขันได้ รวมไปถึงการสร้างทักษะแรงงาน และจ่ายค่าแรงตามทักษะ เพื่อให้เกิดการใช้แรงงานที่คุ้มค่า

ส่วนการแก้ไขปัญหาพลังงาน โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า ซึ่งหากมีการปรับขึ้น จะกระทบแต่ละอุตสาหกรรมไม่เท่ากัน โดยสัดส่วนของค่าไฟฟ้า จะเฉลี่ย 15-25% ของโครงสร้างต้นทุนทั้งหมด  ดังนั้น การปรับค่าไฟฟ้า จะต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่มีการอุดหนุนให้ราคาต่ำกว่าปกติ หรือ ไม่ปรับสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด หากมีความจำเป็น จะต้องปรับขึ้นนั้น ก็ควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคส่งออก เนื่องจากคำสั่งซื้อ จะเป็นคำสั่งซื้อล้วงหน้า กว่าจะส่งมอบใช้เวลา 2 เดือน โดยหากวันนี้ มีการปรับขึ้น ผู้ส่งออกก็จะขาดทุนทันที  จึงอยากให้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อรักษาตลาดส่งออกท่ามกลางความกดดันรอบด้าน.-514-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

จุดเทียนรำลึก 20 ปี สึนามิ

ค่ำคืนนี้ ที่อนุสรณ์สถานสึนามิบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สว่างไสวจากแสงเทียนนับพันเล่มที่ถูกจุดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่รักซึ่งจากไปในเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี 2547 จากวันนั้นถึงวันนี้ ครบ 20 ปีเต็ม

สอบแล้ว 5 ปาก คลี่ปม “แบงค์ เลสเตอร์” ยังปฏิเสธจ้างดื่มโชว์

ผบช.ภ.2 เผย สอบแล้ว 5 ปาก พยานสำคัญ คลี่ปม “แบงค์ เลสเตอร์” ยังปฏิเสธจ้างดื่มโชว์ พร้อมไล่ไทม์ไลน์ เปิดผลชันสูตรเบื้องต้นหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ส่งชิ้นเนื้อ สารคัดหลั่ง เลือด และเศษอาหารในกระเพาะตรวจแล็บ หาสาเหตุที่แท้จริง

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการ ปชช.เดินทางช่วงปีใหม่

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยไม่แจ้งล่วงหน้า กำชับ บขส. อำนวยความสะดวกเตรียมพร้อมรถ สั่งเข้มตรวจแอลกอฮอล์-ยาเสพติดพนักงานขับรถ ป้องกันอุบัติเหตุ