ส่งออกไทยติดลบต่อเนื่อง 7 เดือนติดลบแล้ว 5.5%

นนทบุรี 25 ส.ค.-ปลัดพาณิชย์ เผยส่งออกของไทย เดือน ก.ค.66 ยังหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดลบที่ 6.2% ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังซบเซา แต่ถือว่าดีกว่าหลายประเทศ รับเวลาที่เหลืออีก 5 เดือนถือว่าหนัก แต่จะพยายามทำให้เต็มที เพื่อเป้าหมายส่งออกโต 1-2%


นายกีรติ  รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนกรกฎาคม 2566 มีมูลค่าการส่งออกกว่า 22,143.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวที่ 6.2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10  เป็นการหดตัวในทุกกลุ่มสินค้า ทั้งสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัวเพราะถูกแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง  ทำให้การผลิตและการบริโภคตึงตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ประกอบกับฐานการส่งออกในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ในระดับสูง 

ทั้งนี้ ขณะที่ การนำเข้าช่วงเดือนกรกฎาคม ติดลบร้อยละ 11.1 คิดเป็นมูลค่า 24,121 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้าในช่วง 7 เดือนแรกของปี ติดลบร้อยละ 4.7 คิดเป็นมูลค่า 171,598.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลทำให้ดุลการค้าในช่วงเดือนกรกฎาคมขาดดุล 1,977.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในช่วง 7 เดือนแรกของปีการค้ายังคงขาดดุลอยู่ที่ 8,28.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และ ความต้องการอาหารทั่วโลก ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรหลายรายการขยายตัวได้ดี เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ผักแปรรูป ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ไข่ไก่ และน้ำตาลทราย


อย่างไรก็ตาม ส่งผลให้ภาพรวมในช่วง 7 เดือนแรก 2566 ( ม.ค.-ก.ค.66 ) การส่งออกไทยมีมูลค่า 163,313.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังคงติดลบที่ 5.5%  แต่ยังถือว่าดีกว่าหลายประเทศ เช่น ไต้หวัน สิงคโปร์ อินเดีย และอินโดนีเซียยังคงติดลบมากกว่าไทยทั้งสิ้น

นอกจากนี้ แม้ว่าช่วงเวลาที่เหลือของปี 66 จะทำงานร่วมกันใกล้ชิดของภาครัฐและเอกชน ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ และสถานการณ์ยังดีกว่าหลายประเทศ แต่ด้วยปัจจัยในด้านลบของตลาดโลกที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและภาคเอกชนจะทำงานอย่างเต็มที แม้ว่าจะมีความลำบากอยู่พอสมควร โดยดาดว่าหากจะให้ตัวเลขส่งออกทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมาย จะต้องส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนจะอยู่ที่ 24,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้อัตราการส่งออกขยายตัวได้ 0 % แต่หากจะให้ขายยตามได้ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้การส่งออกเฉลี่ยแต่ละเดือนจะอยู่ที่ 25,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นต้น

ทั้งนี้ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) ได้ประเมินภาพรวมการส่งออกไปยังตลาดสำคัญยังมีความไม่แน่นอน โดยยังคงได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก อย่างไรก็ดี แม้ว่าการส่งออกไปตลาดหลัก อาทิ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน และยุโรปจะหดตัว แต่การส่งออกไปตลาดรองส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัว9.6 %โดยกลับมาหดตัวในตลาดจีนและญี่ปุ่น  3.2 %และ 1.7 %ตามลำดับ 


หดตัวต่อเนื่องในตลาดอาเซียน (5) CLMV 18.3 % และสหภาพยุโรป (27)  26.5 % ตามลำดับ ขณะที่ตลาด สหรัฐฯกลับมาขยายตัว 0.9 %(2) ตลาดรอง ขยายตัว 0.8 %โดยขยายตัวเกือบทุกตลาด ได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย2.4% ตะวันออกกลาง  8.2 %แอฟริกา 3.1 %ลาตินอเมริกา 14.8 %รัสเซียและกลุ่ม CIS 39.2 %และสหราชอาณาจักร 5.8 %ขณะที่ตลาดเอเชียใต้ ยังคงหดตัวต่อเนื่อง 5.6 %(3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัว 66.8 %อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัว64.9%

ตลาดสหรัฐฯ กลับมาขยายตัว 0.9 %สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 3.0 %

ตลาดจีน กลับมาหดตัว 3.2 %สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบและเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 3.7 %

ตลาดญี่ปุ่น กลับมาหดตัว 1.7 %สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 1.3%

ตลาดอาเซียน (5) หดตัว 18.3 %(หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อากาศยานและส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 9.1%

ตลาด CLMV หดตัว 26.5 %(หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง น้ำตาลทราย และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 15.2 %

ตลาดสหภาพยุโรป (27) หดตัว 6.6 %(หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และยางพารา เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี2566 หดตัว 3.0 %

ตลาดเอเชียใต้ หดตัว 5.6 %(หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ยางพารา และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 14.1 %

ตลาดทวีปออสเตรเลีย ขยายตัว 2.4 %(ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี2566 หดตัว 2.4 %

ตลาดตะวันออกกลาง กลับมาขยายตัว 8.2 %สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ข้าว เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัว 5.4 %

ตลาดแอฟริกา กลับมาขยายตัว 3.1 %สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และข้าว เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 0.1 %

ตลาดลาตินอเมริกา กลับมาขยายตัวในรอบ 4 เดือน  14.8 % สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี2566 หดตัว 1.5 %

ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัว 39.2 %(ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ และรองเท้าและชิ้นส่วน เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัว41.3%

ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัว 5.8 %(ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อากาศยานและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และไก่แปรรูป เป็นต้น ทั้งนี้ 7 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัว 10.4 %

การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกระยะถัดไปการส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกเพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) กิจกรรมการนำคณะผู้แทนการค้าเยือนภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยมีผู้แทนภาคเอกชนในอุตสาหกรรมกลุ่มสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์และวัสดุก่อสร้าง และอาหารแปรรูป เดินทางไปเยือนประเทศอาร์เจนตินา ชิลี และบราซิล เพื่อขยายตลาดส่งออกตามกลยุทธ์ในการบุกเจาะตลาดเป็นรายภูมิภาค และรายคลัสเตอร์ (2) การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง โดยมีการตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์ของเอลนิโญ และประเมินผลกระทบทั่วโลกที่จะกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรของไทย โดยเฉพาะกรณีที่อินเดียประกาศมาตรการห้ามส่งออกข้าวขาว เพื่อประเมินสถานการณ์และสร้างความมั่นใจว่า อาหารไทยเพียงพอบริโภคในประเทศและเหลือเพียงพอสำหรับการส่งออก (3) คณะผู้แทนของกระทรวงพาณิชย์เดือนทางเยือนลาว โดยได้เข้าพบผู้บริหารโครงการท่าบก ท่านาแล้ง หารือการเชื่อมโยงใช้ประโยชน์เส้นทางรถไฟ พร้อมทั้งผลักดันการใช้สิทธิ FTA เพื่อการส่งออก รวมทั้งหารือกับภาคเอกชนไทยถึงโอกาสการขยายการค้า โดยเฉพาะผลไม้ไทยและธุรกิจกาแฟที่ลาว ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกใหญ่เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคอาเซียน 

แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าการส่งออกจะได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว การผลิตและการบริโภคชะลอลง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า และความผันผวนของค่าเงิน แต่คาดว่าฐานที่ต่ำในช่วงปลายปี ภาคบริการของประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัว และอานิสงส์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ – จีน ทำให้คู่ค้าหันมานำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางตัวจากไทยทดแทนตลาดจีนมากขึ้น ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าในหมวดอาหารที่เป็นสินค้าจำเป็น มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยหลายประเทศเพิ่มการนำเข้าเพื่อรักษาความมั่นคงทางด้านอาหาร และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในเส้นทางใหม่ผ่าน รถไฟไทย-ลาว-จีน จะช่วยเพิ่มโอกาสการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ได้อีกทางหนึ่งด้วย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”

เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี พร้อมขอบคุณคนเสื้อแดง และนายทักษิณ ชินวัตร ที่ช่วยผลักดัน

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน