หอการค้าเผยโพลชี้ 3 เรื่องเร่งด่วนต้องทำ

กรุงเทพฯ 3 พ.ค.- ม.หอการค้าไทย เผยผลโพลเลือกตั้งปี 66 ระบุ 3 เรื่องด่วน ลดค่าครองชีพ-เพิ่มสวัสดิการ-เพิ่มค่าแรง ต้องเร่งทำหากเป็นรัฐบาล พร้อมระบุเน้นเลือกนโยบายแต่ละพรรคที่เหมาะกับตนเอง ไม่เน้นไปพรรคใดพรรคหนึ่ง 


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยในงานสัมมนา “โค้งสุดท้าย เลือกตั้ง 66 ดีเบต…นโยบายเศรษฐกิจ กับ 9 พรรคการเมือง” โดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2566 เรื่อง “ความคาดหวังเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมือง” โดยการสุ่มตัวอย่าง 2,000 ตัวอย่างทั่วประเทศ จากการสำรวจพบว่า การลดค่าครองชีพนโยบายที่พรรคการเมืองและรัฐบาลเข้ามาดูแล โดยทุกกลุ่มตัวอย่างเน้นค่าครองชีพ ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำประปา ค่ารถไฟฟ้า และค่าก๊าซหุงต้ม โดยเฉพาะกลุ่มที่เลือกตั้งเป็นครั้งแรกให้ความสำคัญกับการลดค่าครองชีพมากที่สุด รวมทั้งทุกช่วงวัยจะให้ความสำคัญกับนโยบายตรวจสุขภาพฟรี การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และการสร้างรายได้ รวมถึงการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เอสเอ็มอี ขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างเลือกนโยบายของแต่ละพรรคที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ไม่ได้เน้นไปทางพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง มีความหลากหลายทางความคิดตามช่วงวัย

ทั้งนี้ ในการทำผลโพลครั้งนี้ ผู้จัดทำได้สำรวจกลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศชาย 48.5% เพศหญิง 51.5% ประกอบด้วย 4 Generation ดังนี้ 1. Baby Boomers 2. Generation X 3. Generation Y 4. Generation Z โดยนโยบายที่ดำเนินการสำรวจ ประกอบด้วย 8 นโยบาย ดังนี้  


นโยบายที่ 1 นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจากการสำรวจพบว่า 3 นโยบายแรกที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ1. เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เช่น เพิ่มเป็น 450-600 บาท/วัน 2. ขึ้นอัตราเงินเดือน เช่น วุฒิปริญญาตรีเพิ่มเป็น 25,000 บาท/เดือน 3. เพิ่มเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุ เช่น 1,000-5,000 บาท/เดือน ส่วนโครงการที่ได้รับความสนใจ เช่น ให้เงินเลี้ยงดูเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี เช่น 1,200 บาท/เดือน โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ภาค 2 ธนาคารหมู่บ้าน/ธนาคารชุมชน แห่งละ 2 ล้านบาท 

โดยนโยบายที่ 1 ที่แต่ละ GEN ให้ความสำคัญ โดยกลุ่ม Baby Boomers และ GEN Y ให้ความสำคัญกับนโยบายเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นหลัก ขณะที่ GEN X ให้ความสำคัญกับการเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วน GEN Z จะเลือกให้ความสำคัญกับการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และการปรับขึ้นอัตราเงินเดือน 

นโยบายที่ 2 นโยบายแรงงาน/การจ้างงาน โดยจากการสำรวจพบว่า 3 นโยบายแรกที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1. สร้างตำแหน่งงานใหม่สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 2. นำผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้าระบบประกันสังคม 3. เบิกเงินผู้ประกันตน 30% มาใช้ก่อนได้ 


โดยหากแบ่งแต่ละ GEN จะพบว่า นโยบายที่กลุ่ม Baby Boomers และ GEN X ให้ความสำคัญสำหรับนโยบายด้านแรงงาน คือ สร้างตำแหน่งงานใหม่สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ขณะที่ GEN Y จะให้ความสำคัญกับการนำผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้าระบบประกันสังคม และ GEN Z จะให้ความสำคัญกับการนำผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้าระบบประกันสังคม และการเบิกเงินผู้ประกันตน 30% มาใช้ก่อนได้ 

นโยบายที่ 3 นโยบายลดค่าครองชีพ โดยจากการสำรวจพบว่า  3 นโยบายแรกที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1. ลดค่าไฟฟ้า 2. ลดราคาน้ำมัน และ 3. ลดราคาแก๊สหุงต้ม ส่วนนโยบายที่ได้รับความสนใจรองลงมา คือ ลดค่าน้ำประปา, เงินเดือน 40,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี, บัตรเดียวสามารถเติมเงินใช้บริการสาธารณะพื้นฐานได้ทั้งหมด เพื่อการใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้น ลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 20 บาทตลอดสาย โดยนโยบายลดค่าครองชีพ ประชาชนมักให้ความสนใจและให้ความสำคัญค่อนข้างมาก โดยหากแบ่งตาม GEN จะพบว่า นโยบายที่กลุ่ม Baby Boomers GEN X, Y และ Z ให้ความสำคัญ คือ การลดราคาแก๊สหุงต้ม ลดค่าไฟ รวมถึงลดค่าน้ำประปา เนื่องจากเป็นการลดภาระและลดค่าครองชีพให้กับประชาชน 

นโยบายที่ 4 นโยบายแก้ปัญหาหนี้สิน จากการสำรวจพบว่า 3 นโยบายแรกที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1. พักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอก คนละไม่เกิน 1 ล้านบาท 2. ปลดล็อกให้สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำเงินสมทบส่วนหนึ่ง เช่น ไม่เกิน 30% ออกมาซื้อบ้าน/ลดหนี้บ้านได้ 3. ยกเลิกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

ทั้งนี้ หากแบ่งตาม GEN จะพบว่า กลุ่ม Baby Boomers และ GEN X และ Y ให้ความสำคัญกับการพักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอก คนละไม่เกิน 1 ล้านบาท ขณะที่ GEN Z จะให้ความสำคัญกับการปลดล็อกให้สมาชิก กบข. และสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำเงินสมทบส่วนหนึ่ง เช่น ไม่เกิน 30% ออกมาซื้อบ้าน/ลดหนี้บ้านได้

นโยบายที่ 5 นโยบายสวัสดิการ โดยจากการสำรวจพบว่า  3 นโยบายแรกที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1. ตรวจสุขภาพฟรี 2. รักษาฟรีทุกโรค บัตรทอง 30 บาทพลัส 3. ให้เงินอุดหนุนค่าปรับปรุงบ้านผู้สูงอายุ เช่น ช่วยไม่เกิน 50,000 บาท/หลัง ส่วนนโยบายที่ให้ความสำคัญน้อย 3 อันดับ คือ 1. เรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี 2. บำนาญประชาชน 3,000 บาท/เดือน เป้าหมาย 5 ล้านคน (หวยบำนาญ) และ 3. ให้เงินรับขวัญเด็กแรกเกิด เช่น 3,000 บาท/คน โดยจากการสำรวจทุกกลุ่ม เน้นให้การดูแลในเรื่องสุขภาพ และการลดค่าครองชีพเป็นเรื่องที่สำคัญ

โดยหากแบ่งตาม GEN จะพบว่า ในการสำรวจนโยบายด้านสวัสดิการ ในทุกกลุ่มมองว่า นโยบายรักษาฟรีทุกโรค ตรวจสุขภาพฟรี และเรียนฟรีจนถึงระดับปริญญาตรี เป้นนโยบายที่ทุกกลุ่มมองว่าเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่ม Baby Boomers ให้ความสำคัญกับการให้เงินอุดหนุนค่าปรับปรุงบ้านผู้สูงอายุ และให้สิทธิเรียนเสริมทักษะเปลี่ยนอาชีพฟรีไม่จำกัดด้วย 

นโยบายที่ 6 นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ โดยจากการสำรวจพบว่า 3 นโยบายแรกที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1. จัดสรรเงินสนับสนุนการปรับปรุง/พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 2. จัดสรรเงินสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว 3. พัฒนาแพลตฟอร์มท่องเที่ยวสัญชาติไทย ส่วนนโยบายที่ให้ความสำคัญรองลงมา คือ นำธุรกิจสีเทาเข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจอย่างถูกกฎหมาย การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยซอฟต์พาวเวอร์ และพัฒนาแพลตฟอร์มขายของออนไลน์สัญชาติไทย 

ทั้งนี้ หากแบ่งตาม GEN พบว่า กลุ่ม Baby Boomers และ GEN X, Y ให้ความสำคัญกับการนำธุรกิจสีเทาเข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ขณะที่กลุ่ม GEN Z ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแพลตฟอร์มขายของออนไลน์สัญชาติไทย นอกจากนี้ยังพบว่า นโยบายจัดสรรเงินสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เป็นนโยบายที่ทุก GEN มองว่าเป็นนโยบายที่สำคัญมาก 

นโยบายที่ 7 นโยบายเกษตร โดยจากการสำรวจพบว่า 3 นโยบายแรกที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1. สร้างเกษตรรุ่นใหม่ 2. ประกันรายได้ จ่ายเงินส่วนต่าง 3. ให้เงินอุดหนุนกลุ่มเกษตรกร เช่น ปีละ 100,000 บาท/กลุ่ม ส่วนนโยบายที่ให้ความสำคัญน้อย คือ ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ผลักดันราคาสินค้าเกษตร/ตั้งกองทุนพยุงราคาสินค้าเกษตร และเกษตรกรขายคาร์บอนเครดิตได้ ส่วนการพักหนี้เกษตรกรนั้น มีบางกลุ่มให้ความสำคัญ 

โดยหากแบ่งแยกแต่ละ GEN จะพบว่า ในกลุ่ม GEN X, Y และ Z ให้ความสำคัญกับการแจกพันธุ์ข้าวฟรี ลดค่าปุ๋ย ลดค่ายาฆ่าแมลง และการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้กับเกษตร เป็นนโยบายที่กลุ่ม GEN Z และกลุ่ม Baby Boomers มองว่าเป็นเรื่องสำคัญ ขณะที่การสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ เป็นเรื่องเดียวที่มองว่า ทุก GEN ให้ความสำคัญต่อนโยบายดังกล่าวมากที่สุด 

นโยบายที่ 8 นโยบายช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี โดยจากการสำรวจพบว่า 3 นโยบายแรกที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1. SME เข้าถึงทุน 2. ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 1% ต่อเดือน ชำระดอกเบี้ยภายใน 6 เดือนถึง 3 ปี 3. หวย SME ซื้อสินค้า SME แถมหวย 

โดยนโยบายสุดท้ายนี้ หากแบ่งตาม GEN จะพบว่า กลุ่ม Baby Boomers มองว่า การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และเอสเอ็มอีเข้าถึงเงินทุน เป็นสิ่งที่ GEN ดังกล่าวให้ความสำคัญ ขณะที่กลุ่ม GEN X ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงเงินทุนของเอสเอ็มอี และหวยเอสเอ็มอี รวมถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่กลุ่ม GEN Y, Z ให้ความสำคัญกับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ งดเก็บภาษีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เอสเอ็มอีเข้าถึงเงินทุน และลดภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย 

นายธนวรรธน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นโยบายที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน 3 อันดับแรกที่โดดเด่น คือ 1. ลดค่าครองชีพของประชาชนให้อยู่ในระดับเหมาะสม 2. เพิ่มเติมสวัสดิการในด้านต่างๆ ให้กับประชาชน (โดยเฉพาะสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลและเบี้ยผู้สูงอายุ) 3. เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ส่วนนโยบายที่รองลงมา เช่น แก้ไขปัญหาความยากจน-ปัญหาหนี้สิน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ เป็นต้น 

ทั้งนี้ สิ่งที่ประชาชนอยากถามนักการเมือง คือ นโยบายต่างๆ เอาเงินมาจากไหน หรือจากภาษีประชาชน หรือเงินนอกงบประมาณ นโยบายที่พูดออกมา นโยบายเร่งด่วน และที่จะทำ นโยบายเร่งด่วน 3 นโยบายที่ทำแล้วได้คืออะไร เศรษฐกิจจะเติบโตแค่ไหน และเสียแค่ไหน หนี้สาธารณะจะเพิ่มหรือไม่.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

จำคุกสมรักษ์คำสิงห์

ศาลสั่งคุก 2 ปี 13 เดือน 10 วัน “สมรักษ์” พยายามข่มขืนสาววัย 17

ศาลจังหวัดขอนแก่น พิพากษาจำคุก “สมรักษ์ คำสิงห์” อดีตนักมวยฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก เป็นเวลา 2 ปี 13 เดือน 10 วัน พร้อมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 170,000 บาท คดีพยายามข่มขืนเด็กสาววัย 17 ปี

Chinese foreign ministry in January 2025

ถอดบทเรียนจากจีน แก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 จริงจัง

ปักกิ่ง 23 ม.ค. – สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนในไทยอยู่ในขณะนี้ หลายฝ่ายกำลังหาทางแก้ไขด้วยการมุ่งไปที่ต้นตอที่ทำให้เกิดฝุ่น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี พ.ศ. 2542 ประชากรโลกมากถึง 92% ได้รับฝุ่น PM2.5 ในระดับความเข้มข้นสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด และถ้ารัฐบาลทุกประเทศไม่เร่งแก้ปัญหาอย่างเอาจริงเอาจัง ภายในอีก 7 ปีข้างหน้า หรือ พ.ศ. 2573 คุณภาพชีวิตคนทั่วโลกจะยิ่งเลวร้ายสุดขีด เพราะปริมาณ PM2.5 จะเพิ่มขึ้นจากเดิม 50% และประเทศที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า หากรัฐบาลตั้งใจจริงจัง ทุ่มสรรพกำลังความพยายาม จะสามารถกำจัดปัญหาฝุ่นควันพิษได้อย่างแน่นอนนั่นก็คือ จีน   จีนเคยมีคนเสียชีวิตเพราะมลพิษในอากาศปีละหลายล้านคน แต่ทุกวันนี้แม้แต่ธนาคารโลกยังยกย่องจีนว่า เป็นแบบอย่างของความพยายาม สามารถพลิกฟ้าหม่นเพราะฝุ่น PM2.5 ให้กลับเป็นฟ้าใสได้สำเร็จ ความพยายามของเหมา เจ๋อตุง ผู้นำจีนที่มุ่งเปลี่ยนสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ทำให้จำนวนโรงงานในจีนเพิ่มขึ้นทวีคูณภายใน พ.ศ. 2502 แน่นอนว่า นโยบายเศรษฐกิจของผู้นำจีนช่วยให้คนจีนหลายล้านหลุดพ้นจากขีดความยากจน แต่ก็ต้องแลกกับชีวิตและสุขภาพ เพราะควันพิษจากโรงงานทำให้ฝุ่น PM2.5 พุ่งในระดับเกินกว่าจะรับไหว กว่ารัฐบาลจะรู้ตัวว่าปัญหามาถึงขั้นวิกฤต […]

คึกคัก คู่รักจูงมือกันไปจดทะเบียนวันแรกกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผล

วันนี้กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ หลายคู่รักควงแขนไปจดทะเบียนสมรสกันชื่นมื่น ที่สยามพารากอน มีคู่รักที่ลงทะเบียนมาจดทะเบียนสมรสที่นี่กว่า 300 คู่

ผู้ป่วยเสียชีวิต

รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก-เสียชีวิต จากเหตุชายผิวสีคลุ้มคลั่ง

ผอ.รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก หรือเสียชีวิต จากเหตุต่างชาติผิวสีคลุ้มคลั่ง มีเพียงเจ้าหน้าที่ รพ.บาดเจ็บจากการถูกต่อยเล็กน้อย

ข่าวแนะนำ

ดีเอสไอจ่อล่องเรือใช้เลเซอร์สแกนจำลอง 3 มิติ สืบคดี “แตงโม”

ดีเอสไอ นำผู้เชี่ยวชาญหลายด้านเปิดประชุมนัดแรก ลุยสืบสวน “คดีแตงโม” จ่อล่องเรือใช้เลเซอร์สแกนจำลอง 3 มิติ หาพยานหลักฐานใหม่ และบินเก็บข้อมูลระบบ Cloud ในมือถือทุกคนบนเรือ-นอกเรือ

แก้ปัญหาฝุ่น

นายกฯ สั่งการด่วนคมนาคมออกมาตรการหยุด PM 2.5

นายกฯ สั่งการคมนาคมออกมาตรการเร่งด่วน หยุด PM 2.5 ให้ประชาชนนั่งรถไฟฟ้าทุกสาย-ขสมก.ฟรี 7 วัน 25-31 ม.ค.นี้ เตรียมใช้งบกลางกว่า 140 ล้านบาท ชดเชยผู้ประกอบการ เข้มตั้งจุดตรวจควันดำ 8 จุด รอบ กทม.-ปริมณฑล

เปิดรับการลงทุน

นายกฯ ย้ำบทบาทของไทยในเวทีโลก ที่ดาวอส พร้อมเปิดรับการลงทุน

นายกฯ ย้ำบทบาทของไทยในเวทีโลก ที่ดาวอส พร้อมเปิดรับการลงทุนสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ด้วยจุดแข็งด้านเกษตรกรรม Soft Power และอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืน มุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและการค้าเสรี เร่งสร้างสภาพแวดล้อมทางการค้าที่เสรี เปิดกว้าง และยั่งยืน

ช้างหลุดเดินถนน

ระทึก! ช้างหลุดจากปางช้างเดินบนถนน รถเสียหาย 1 คัน

ระทึก! ควาญช้างและตำรวจเร่งติดตามช้างหลุดจากปาง เดินบนถนน ชนกระจกมองข้างรถยนต์เสียหาย 1 คัน สุดท้ายไปเจอเล่นน้ำอยู่ในลำธารอย่างสบายใจ