กรุงเทพฯ 29 พ.ค. – สรท.คงเป้าส่งออกปีนี้โตร้อยละ 3.5 ขณะที่เงินบาทที่แข็งค่าเริ่มส่งผลกระทบผู้ส่งออกกลุ่มเอสเอ็มอี และมีปัญหาขาดแคลนตู้ส่งออกสินค้า
นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) แถลงสถานการณ์ส่งออกประจำเดือนพฤษภาคม 2560 ว่า การส่งออกเดือนเม.ย.ปีนี้ มีมูลค่า 16,864 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา มูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 581,717 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีัที่ผ่านมา ส่งผลให้การส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ มีมูลค่า 73,320.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตร้อยละ 5.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม สรท.ยังคงคาดการณ์การส่งออกของไทยปีนี้ จะเติบโตได้ประมาณร้อยละ 3.5 โดยสรท.มองการเติบโตในช่วงร้อยละ 2.5-3.5 มีนั้ำหนักขยายตัวร้อยละ 3.5 มากขึ้น ปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 25 ทำให้สินค้ากลุ่มที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น และส่งผลให้สินค้่าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกหลายรายการราคาปรับเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน บวกกับปีนี้ฝนตกมากกว่าช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ทำให้คาว่า ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นและเป็นปัจจััยสำคัญในการเพิ่มมูลค่ารวมของการส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตรและกลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม ตลอดจนมูลค่าส่งออกในภาพรวมของไทยในปีนี้
สำหรับปัจจัยลบที่จะต้องจับตามองใกล้ชิด ได้แก่ การแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญ ส่งผลต่อต้นทุนและขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย ความเสี่ยงสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศและการก่อการร้าย โดยเฉพาะสถานการณ์ความรุนแรงที่เมืองมาราวี ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ความเสี่ยงจากข้อกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญและประเทศตลาดใหม่ โดยเฉพาะการตอบโต้รัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ผู้ส่งออกยังประสบปัญหา ขาดแคลนตู้บรรจุสินค้าสำหรับการส่งออก เนื่องจากการปรับตัวของสายการเดินเรือที่ลดการจัดสรรตู้สินค้าให้กับต้นทางการขนส่งที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนในการขนส่งตู้เปล่ามาให้กับผู้ส่งออกไทย ซึ่งส่งผลให้ผู้ส่งออกจำนวนมากไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าในต่างประเทศทันตามกำหนด ปริมาณสินค้าคงคลังประเทศคู่ค้าเพิ่มสูงขึ้นจากการสั่งซื้อในช่วงปลายปีที่ผ่านมาต่อช่วงต้นปีนี้ อาจจะทำให้มีการสั่งซื้อในช่วงไตรมาส 3เป็นต้นไป ปัจจัยกระทบจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก ที่ได้รับผลกระทบจาก อีคอมเมิร์ซ ต่อธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา ผลกระทบจากการบอยคอตของจีนต่อเกาหลีใต้ ขณะที่ญี่ปุ่นเผชิญกับสถานการณ์ตลาดภายในประเทศ เนื่องจากความสามารถในการบริโภคของประชาชนลดลง สวนทางกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3 เอสเอ็มอีไทยโอกาสในการทำตลาดลำมากมากขึ้นภายใต้การแข่งขันกับกลุ่ทุนขนาดใหญ่และช่องทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่การพัฒนาการค้าระหว่างประเทศผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของไทย
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธาน สรท. กล่าวว่า ตู้ส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขาดแคลน สรท.หารือกับสายการเดินเรือแล้ว และยังอยู่ระหว่างจัดทำการแชร์โคทเหมือนสายการบินที่ซื้อบริการจากสายการเดินเรือหนึ่งแต่สินค้าได้รับการส่งไปอีกสายการเดินเรือหนึ่ง แต่ยัีงอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น -สำนักข่าวไทย