กรุงเทพฯ 13 ธ.ค.- ยสท. ลงทุน 384 ล้านบาท จัดซื้อเครื่องจักรผลิตยาเส้นขนาดเล็ก หวังลดต้นทุนการผลิต ปรับกลยุทธ์สร้างรายได้เพิ่มในปี 66 หลังได้รับผลกระทบเพิ่มภาษี ปรับปรุงโรงบ่ม ดึงการท่องเที่ยวชุมชน
นายภูมิจิตต์ พงษ์พันธุ์งาม ผู้ว่าการการยาสูบแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยสท.การจัดซื้อเครื่องจักรผลิตยาเส้นขนาดเล็ก (Mini Primary Line) กำลังการผลิต 500 กิโลกรัม/ชั่วโมง หรือ หรือ 5 ล้านมวนต่อชั่วโมง พร้อมอุปกรณ์และค่าติดตั้ง รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต รองรับการแข่งขันกับบุหรี่ต่างประเทศ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยใช้จ่งบประมาณของ ยสท. ประจำปีงบประมาณ 2566 – 2567 วงเงิน 384 ล้านบาท
ปัจจุบัน ยสท. ได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มภาษี จากเดิมเคยนำส่งเข้าคลัง 9,000 ล้านบาทต่อปี ในปี 60 ลดเหลือ 500 ล้านบาทในปี 65 โดยในปี 65 คาดว่ามีกำไรสุทธิ 100 ล้านบาท หลังจากบุหรี่ต่างชาติ มีส่วนแบ่งตลาดจากร้อยละ 20 เพิ่มเป็นร้อยละ 52 ส่วน ยสท. ส่วนแบ่งการตลาดจากร้อยละ 80 ลดเหลือร้อยละ 48 และยังมีปัญหาบุหรี่เถื่อน บุหรี่หนีภาษีตามแนวชายแดนไหลทะลักเข้ามา เพิ่มถึงร้อยละ 29 ทำให้ ยสท. ในปี 60 กำลังผลิต 2 หมื่นล้านมวนต่อปี ขณะนี้ลดเหลือ 1.3 หมื่นล้านมวนในปี 65 ยสท. ยังเดินหน้าเจรจากับพันธมิตร เพื่อส่งออกใบยา ทั้งพันธุ์เบอร์เล่ย์ และเวอร์จิเนียร์ หวังดูแลเกษตร 5 แสนกิโลกรัม เพื่อหาช่องทางทำรายได้เพิ่มเติม และเดินหน้าปรับกลยุทธ์การตลาดหารายได้ด้านอื่นเพิ่มเติม คาดว่า จะมีรายได้ 200-300 ล้านบาทในปี 66
ยสท. สนองนโยบายรัฐบาล นำสำนักงาน โรงบ่มใบยา นำปรับปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเช็คอินใหม่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในช่วงปลายปี จัดมีทั้งการแสดงดนตรีเปิดให้ชุมชนนำสินค้าท้องถิ่นมาวางจำหน่าย ยสท. ยังเร่งชดเชยราคาใบยาให้ชาวไร่ยาสูบ 100 ล้านบาท และการชดเชยปัจจัยการผลิต 100 ล้านบาท เพื่อดูแลต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร ยสท. ยังเดินหน้าเจรจากับต่างชาติ เข้ามาลงทุนในประเทศ นำใบยาสูบผลิตนิโคตินเหลว ,นิโคติน salt เป็นวัตถุดิบหลักผลิตบุรี่ไฟฟ้า ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของตลาดมาทดแทนบุหรี่
ทั้งนี้ ยสท. ยังได้ลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) โครงการซื้อเครื่องจักรผลิตยาเส้นขนาดเล็ก (Mini Primary line) กำลังการผลิต 500 กิโลกรัมต่อชั่วโมง พร้อมอุปกรณ์ และค่าติดตั้ง ระหว่างการยาสูบแห่งประเทศไทย และผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เพื่อความโปร่งใส แสดงถึงเจตนารมณ์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน ตามนโยบายของภาครัฐ โครงการข้อตกลงคุณธรรม จึงต้องเชิญผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เข้าร่วมสังเกตการณ์ ทุกกระบวนการในการจัดซื้อจัดจ้างตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 .-สำนักข่าวไทย