วิป 3 ฝ่ายไม่เลื่อนพิจารณา กม.ลูก

รัฐสภา 1ส.ค.-ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายเห็นพ้องพิจารณา กม.ลูกตามวาระ เชื่อทันกรอบ 180 วัน หวั่นถ้าเลื่อนขึ้นมาพิจารณาอาจถูกครหาพูดแต่เรื่องการเมือง


การประชุมคณะกรรมการ (วิป) 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านและวุฒิสภา โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาเป็นประธาน ตัวแทนทั้ง 3 ฝ่ายเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง อาทิ นายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะประธานวิปรัฐบาล นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ​ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะรองประธานวิปรัฐบาล นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน นายสมชาย แสวงการ ส.ว. ในฐานะเลขาธิการวุฒิสภาโดยร่วมกันหารือการเลื่อนวาระร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. … มาพิจารณาก่อนกฎหมายที่อยู่ก่อนหน้า โดยใช้เวลาประชุมประมาณ 30 นาที

นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทยในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า นายชวนอยากหารือเรื่องการประชุมรัฐสภาในสัปดาห์นี้ให้เรียบร้อยและเป็นประโยชน์ ให้มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะมีวาระอยู่ โดยพิจารณาต่อเนื่องตามวาระคือ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรับเป็นพินัย และร่าง พ.ร.บ. กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม จากนั้นจะเป็นร่างพ.ร.ป.ฯ ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ราบรื่นเรียบร้อย ซึ่งมี 2 ทาง คือ 1.เป็นไปตามวาระ และ 2.แต่ถ้าเป็นไปตามวาระ อาจจะมีสมาชิกหรือสังคมบางส่วนคิดว่ากฎหมายลูกที่อยู่ในความสนใจของสังคมจะเสร็จทันหรือไม่ และทำไมไม่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน


“ที่ประชุมหารือกันแล้วเห็นว่าควรจะเป็นไปตามวาระ แต่ก็ขอให้สมาชิกกระชับเวลาการอภิปรายกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ เพื่อให้กฎหมายลูกขึ้นมาพิจารณาได้เร็ว เพราะเราคิดว่ากฎหมายทุกฉบับมีความสำคัญเหมือนกัน ทั้งนี้ นายชวน ได้กำหนดให้ประชุมร่วมรัฐสภา ในวันที่ 9-10 สิงหาคม ดังนั้นถ้ากฎหมายลูกไม่เสร็จ ก็สามารถพิจารณาต่อได้ ยืนยันว่ากฎหมายลูกส.ส. แม้จะเพิ่มเข้ามาใหม่ 2 มาตราก็สามารถเสร็จทันสมัยประชุมนี้อย่างแน่นอน ส่วนที่กมธ.เสียงข้างน้อยสงวนความเห็นนั้น ต้องติดตามการอภิปรายในที่ประชุม ซึ่งเห็นว่าไม่มีอะไรที่ต้องกังวล”  ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าว

นายสุทิน กล่าวว่า ทราบว่าการประชุมร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2-3 ในวันที่ 17-19 สิงหาคม ดังนั้น เดือนนี้จะต้องทำงานให้เต็มที่ เพราะสภาฯ จะปิดสมัยประชุมในวันที่ 16 กันยายน ซึ่งเราเหลือเวลาน้อย จึงต้องร่วมมือกัน วันนี้ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลและส.ว. จึงเห็นพ้องด้วยดี ไม่มีอะไรเห็นต่าง

นายนิโรธ กล่าวว่า ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภา เห็นพ้องกันว่าให้พิจารณาไปตามวาระการประชุม โดยมั่นใจว่าร่างกฎหมายลูกจะพิจารณาเสร็จทันสมัยประชุมนี้อย่างแน่นอน นายชินวรณ์ เปิดเผยว่า หากเลื่อนกฎหมายลูกขึ้นมาพิจารณาก่อน อาจถูกกล่าวหาจากประชาชนว่า นำเรื่องการเมืองมาพูดกันมากเกินไป อย่างไรก็ตาม หากยังมีฝ่ายที่ยังติดใจว่าควรจะเลื่อนร่าง พ.ร.ป.ฯ พิจารณาก่อนก็สามารถขอที่ประชุมรัฐสภาเลื่อน เพื่อของดใช้ข้อบังคับ แต่ก็ขึ้นอยู่ว่าที่ประชุมจะเห็นด้วยหรือไม่.-สำนักข่าวไทย  


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง