fbpx

ฝีดาษลิง ติดยากกว่าโควิด คาดอีก 2 สัปดาห์ มีชุดตรวจ

ศูนย์จีโนมฯ 25 พ.ค.-หน.ศูนย์จีโนมฯ ชี้ “ฝีดาษลิง” ติดยากกว่าโควิด การแพร่ในต่างประเทศยังไม่พบสาเหตุ พร้อมเร่งพัฒนาชุดตรวจ คาดแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์นี้

ศ.ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวถึงสถานการณ์โรคฝีดาษลิงว่ายังไม่ได้มีการแพร่ระบาดรวดเร็ว เป็นเฉพาะกลุ่มเท่านั้น โดยการระบาดครั้งนี้ได้สร้างความประหลาดใจให้กับองค์การอนามัยโลก ที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าทำไมจึงมีการระบาดของโรคฝีดาษลิงพร้อมกันกว่า 100 คน ในหลายประเทศนอกทวีปแอฟริกา (ซึ่งถือเป็นโรคประจำถิ่น) ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคฝีดาษลิง องค์การอนามัยโลก และกรมควบคุมโรคของอเมริกา แนะนำให้ตรวจด้วยวิธี PCR หรือการถอดรหัสพันธุกรรม ซึ่งหากพบมีการติดเชื้อภายในประเทศ ก็สามารถใช้เครื่อง PCR  ที่อยู่มากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ที่เคยใช้ตรวจโควิด-19 นำมาใช้ตรวจหาโรคฝีดาษลิงได้ทันที ทั้งนี้หากสงสัยว่ามีการระบาดของโรคฝีดาษลิง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำการ “สวอป” น้ำลาย ส่วนน้ำหรือหนองจากตุ่มแผล ทำการสกัดสารพันธุกรรม แล้วส่งมายังศูนย์จีโนมฯ เพื่อให้ช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมได้


ในระยะแรกที่ยังไม่มีชุดตรวจ แพร่หลาย ทางศูนย์จีโนมฯ สามารถร่วมถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยี long-read nanopore sequencing ในลักษณะของ “shortgun metagenomic sequencing” กล่าวคือไม่จำเป็นต้องทราบว่าในสิ่งส่งตรวจมีจุลชีพ หรือไวรัสประเภทใดได้สำเร็จภายในเวลา 48 ชั่วโมง

หากใช้ “ชิพ (flow cell) ขนาดเล็กในการถอดรหัสพันธุกรรม จะสามารถถอดรหัสพันธุกรรมได้ประมาณ 20 ตัวอย่างต่อชิพ  แต่หากใช้ชิพใหญ่ในการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโรคฝีดาษลิงทั้งจีโนม จะสามารถตรวจสอบ หรือถอดรหัสพันธุกรรมได้มากกว่า 4,000 ตัวอย่างต่อชิพ ผลลัพธ์ที่ได้คือจะทราบว่ามีจุลชีพหรือไวรัสประเภทใดบ้าง และจำนวนเท่าไรในตัวอย่างส่งตรวจนั้นๆ  ใช่สายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่หรือไม่ และมาจากประเทศไหน


ล่าสุด มีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสก่อโรคฝีดาษลิง ในโปรตุเกส เบลเยียมได้สำเร็จ ซึ่งทางศูนย์จีโนมฯ ได้ใช้รหัสพันธุกรรมดังกล่าวเป็นพิมพ์เขียวในการสร้างชุดตรวจจีโนมไวรัสก่อโรคฝีดาษลิง 40 ตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อป้องกันการเกิดผลบวก หรือผลลบปลอม (ต่างจาก PCR ซึ่งตรวจจีโนมได้ 1-2 ตำแหน่ง และต้องใช้เวลา2-4วัน) แต่ชุดตรวจจีโนมไวรัสก่อโรคฝีดาษลิง 40 ตำแหน่งนี้ ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 24 ชั่วโมงด้วยเทคโนโลยี “Massarray genotyping” สามารถตรวจได้ 100 ตัวอย่างต่อวัน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์นี้

พร้อมเสนอให้เฝ้าระวังและมีมาตรการคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงอย่างเข้มข้น เช่น  ทางประเทศแถบยุโรปใต้ และแอฟริกา รวมถึงการนำสัตว์ตระกูลฟันแทะจากแอฟริกาเข้ามาเลี้ยงในไทย ทั้งนี้ประเมินว่าหากมีการระบาดในประเทศ ก็จะเป็นการระบาดอยู่ในวงจำกัดเท่านั้น เพราะไม่ได้ติดง่าย หรือแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วเหมือนกับไวรัสโควิด-19 ส่วนมีวัคซีนและยาต้านไวรัสสำหรับป้องกันและรักษาโรคฝีดาษลิง ขณะนี้มีอยู่แล้ว ไม่ต้องทำการศึกษาวิจัยใหม่เหมือนกับโรคโควิด-19 แต่อาจต้องประเมินผลอีกครั้งจากการใช้จริงในปัจจุบัน และการทำการผลิตเพิ่มให้เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากไม่ได้มีการสต็อกเอาไว้.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้