เผยเอ็มพ็อกซ์สายพันธุ์ใหม่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก

เผยคณะนักวิทยาศาสตร์ในแอฟริกาที่กำลังศึกษาโรคฝีดาษลิง หรือ เอ็มพ็อกซ์ (mpox) สายพันธุ์ใหม่ ยังคงทำงานแบบมืดบอด ไม่มีข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับเชื้อไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก

อินโดนีเซียพบผู้ป่วยเอ็มพ็อกซ์รวม 88 รายแล้ว

อินโดนีเซียพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง หรือเอ็มพ็อกซ์ (mpox) รวม 88 รายแล้ว นับตั้งแต่ตรวจพบผู้ป่วยโรคนี้ครั้งแรก และหากนับเฉพาะในปีนี้ มีการตรวจพบแล้ว 14 ราย

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : MPOX ฝีดาษวานร สายพันธุ์ เคลด

27 สิงหาคม  2567 MPOX หรือ ฝีดาษวานร สายพันธุ์เคลด เป็นอย่างไร รุนแรงแค่ไหน และเราควรรับมืออย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ แพทย์หญิงภัทริยา จิรวัฒนาดล อาจารย์แพทย์ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ แพทย์หญิงลานทิพย์ เหราบัตย์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี กรมควบคุมโรค ฝีดาษลิง เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับเชื้อไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox)   MPOX ติดต่อกันง่ายแค่ไหน ? ไม่ได้ติดต่อกันง่ายขนาดนั้น แต่เอ็มพอกซ์นั้นติดต่อได้ เฉพาะในกรณีที่มีการสัมผัสใกล้ชิดหรือคลุกคลีกันเป็นเวลานานกับผู้ติดเชื้อ ตัวอย่างเช่นผิวหนังเกิดสัมผัสกันโดยตรง, มีเพศสัมพันธ์, รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์แบบพบปะเห็นหน้าค่าตากันโดยตรงเป็นเวลานานด้วย

อนามัยโลกประกาศภาวะฉุกเฉิน “ฝีดาษลิง”

องค์การอนามัยโลก หรือดับเบิลยูเอชโอ ประกาศให้โรคฝีดาษลิง เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโลกครั้งใหม่ หลังการระบาดรุนแรงในแอฟริกา

แอฟริกาประกาศภาวะฉุกเฉินฝีดาษลิง

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จากการระบาดของโรคฝีดาษลิง จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

ห่วงเยาวชนไทยเสี่ยงติดเชื้อฝีดาษลิง หลังพบเพิ่ม 16 ราย

กรมควบคุมโรค ห่วงเยาวชนไทยเสี่ยงติดเชื้อฝีดาษวานร หลังพบเดือน ส.ค. ติดเพิ่ม 16 ราย แนะงดมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยหรือกับคนแปลกหน้า ป้องกันติดเชื้อฝีดาษวานร

เกาหลีใต้พบผู้ป่วยเอ็มพ็อกซ์อีก 5 ราย

โซล 1 พ.ค.- เกาหลีใต้แจ้งยืนยันว่า พบผู้ป่วยโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของโรคฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง จำนวน 5 รายในวันนี้ ทำให้พบผู้ป่วยรวมทั้งหมด 47 คนแล้วจนถึงขณะนี้ สำนักควบคุมและป้องกันโรคเกาหลีของเกาหลีใต้แจ้งว่า ผู้ป่วยรายใหม่ 3 รายอยู่ในกรุงโซล ผู้ป่วยรายใหม่อีก 2 รายอยู่ในจังหวัดชุงชองใต้และจังหวัดปูซานตามลำดับ ทั้งหมดไม่มีประวัติเพิ่งเดินทางมาจากต่างประเทศ เกาหลีใต้พบผู้ป่วยโรคเอ็มพ็อกซ์รายแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 จากนั้นพบอีก 4 รายในเดือนมีนาคม ผู้ป่วยทั้ง 5 รายแรกมีประวัติเพิ่งเดินทางมาจากต่างประเทศ หลังจากนั้นเริ่มพบผู้ป่วยมากขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน ส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยว่าน่าจะติดเชื้อจากในชุมชน เพราะไม่มีประวัติเพิ่งเดินทางมาจากต่างประเทศ เอ็มพ็อกซ์เป็นโรคที่มักพบในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่น ผื่น และมีรอยโรค.-สำนักข่าวไทย

เกาหลีใต้พบผู้อาจติดฝีดาษลิงในประเทศอีก 3 ราย

เกาหลีใต้แจ้งยืนยันพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิงอีก 3 คน ทำให้ยอดผู้ป่วยทั้งประเทศรวมเป็น 16 คนแล้ว โดยสันนิษฐานว่าผู้ป่วยใหม่ 3 ราย อาจติดเชื้อในประเทศ

เกาหลีใต้พบผู้ป่วยฝีดาษลิงที่น่าจะติดในประเทศเป็นรายแรก

เกาหลีใต้แจ้งพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง ที่น่าจะติดเชื้อในประเทศเป็นรายแรก และพบผู้ป่วยโรคนี้รวมแล้ว 6 คน

เผยสหรัฐเตรียมยุติสถานการณ์ฉุกเฉินฝีดาษลิง

วอชิงตัน 1 ธ.ค.- สื่อในสหรัฐรายงานว่า รัฐบาลสหรัฐเตรียมยุติการใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกับโรคฝีดาษลิงหรือเอ็มพ็อกซ์ (mpox) แต่ยังไม่มีการตัดสินใจในขั้นสุดท้าย โพลิติโกรายงานอ้างแหล่งข่าว 2 รายว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีแนวโน้มจะออกหนังสืออายุ 60 วันภายในสัปดาห์นี้ เรื่องทยอยยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกับเอ็มพ็อกซ์ ซึ่งจะทำให้ประกาศหมดอายุอย่างเป็นทางการภายในวันที่ 31 มกราคม 2566 แต่รัฐบาลจะยังคงใช้ปฏิบัติการรับมือเอ็มพ็อกซ์ดังเดิม เพื่อลดยอดผู้ป่วยและป้องกันการระบาดครั้งใหม่ เจ้าหน้าที่บางคนมองว่า การผ่อนคลายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกับเอ็มพ็อกซ์อาจเป็นการทดสอบก่อนที่รัฐบาลจะยุติการใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกับโควิดที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในปีหน้าเช่นกัน สหรัฐประกาศให้เอ็มพ็อกซ์เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในเดือนสิงหาคม และพบผู้ป่วยแล้วมากกว่า 28,000 คนในปีนี้ โดยมีผู้เสียชีวิต 2 คน ขณะที่องค์การอนามัยโลกเพิ่งเปลี่ยนชื่อฝีดาษลิงเป็นเอ็มพ็อกซ์เมื่อไม่กี่วันก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการตราหน้าและเหยียดเชื้อชาติ.-สำนักข่าวไทย

WHO เปลี่ยนชื่อฝีดาษลิงเป็น “mpox”

องค์การอนามัยโลก เปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิง เป็น “mpox” เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างตราบาป และความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าโรคนี้มีต้นกำเนิดมาจากลิงเท่านั้น

1 2 3 7
...