ดันใช้ประโยชน์พื้นที่ “มักกะสัน-พหลโยธิน” ของ รฟท.

กรุงเทพฯ 4 เม.ย. – ก.คมนาคม เปิดพื้นที่กลางเมือง “มักกะสัน-พหลโยธิน” สร้างที่อยู่อาศัยแนวสูง หวังแก้ปัญหาให้คนรายได้น้อย เคยบุกรุกที่รถไฟ ได้เช่าราคาถูก

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่ ที่ดินในพื้นที่ของหน่วยงานกระทรวงคมนาคมว่า ในส่วนของผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นั้น ทาง รฟท.จะแก้ไขด้วยการก่อสร้างอาคารแนวสูง เพื่อให้ชุมชนเช่าอยู่อาศัย ในราคาสำหรับผู้มีรายได้น้อยจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน พื้นที่รองรับบริเวณริมบึงมักกะสัน ประมาณ 7 ไร่ 2 งาน มีผู้ประสงค์เข้าร่วมฯ 5 ชุมชน 271 ครัวเรือน และโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธิน เขตบางซื่อ และย่าน กม.11 เขตจตุจักร พื้นที่รองรับบริเวณนิคมรถไฟ กม.11 (ริมถนนกำแพงเพชร 2) ประมาณ 6 ไร่ 2 งาน


ทั้งนี้มีผู้ประสงค์เข้าร่วมฯ 3 ชุมชน 296 ครัวเรือน ซึ่งการเคหะแห่งชาติได้ออกแบบอาคารที่อยู่อาศัย 8 ชั้น จำนวน 3 อาคาร พื้นที่ห้องพักขนาด 28.5 ตารางเมตร อัตราค่าเช่า 3,000 บาท/เดือน และห้องพักขนาด 34.6 ตารางเมตร อัตราค่าเช่า 4,000 บาท/เดือน รองรับชุมชนในแต่ละพื้นที่ จำนวน 315 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 630 ครัวเรือน

อย่างไรก็ตามได้มอบให้ รฟท. ประสานงานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาว่าการดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยบริเวณริมบึงมักกะสัน จะต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หรือไม่ โดย กคช. จะดำเนินการสำรวจความต้องการของประชาชนอีกครั้ง เพื่อให้รูปแบบของการพัฒนารวมทั้งอัตราค่าเช่ามีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด


นอกจากนี้ในที่ประชุมฯ ยังได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงฯ และเห็นชอบให้ดำเนินงานตามแผนงานที่เสนอ จำนวน 20 เรื่อง แบ่งเป็น รฟท. 16 เรื่อง และ ทล. 4 เรื่อง อาทิ กรณีชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ช่วงชุมทางตลิ่งชัน – ศิริราช กรณีชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนครราชสีมา – หนองคาย กรณีชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี – หาดใหญ่ – สงขลา กรณีการแก้ไขปัญหาพื้นที่เช่าชุมชนหนองยวนจ.ตรัง กรณีการคิดอัตราค่าเช่าใหม่ให้เป็นไปตามอัตราค่าเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อยของชุมชนพระราม 6 เขตบางซื่อ กรณีชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างทางด่วนยกระดับพระราม 2 – วังมะนาว ต.ท่าจีน อ.เมือง จ.สมุทรสาคร กรณีที่ดินทางหลวงทับที่ดินทำกิน หมู่ที่ 8 บ้านดอนโป่ง ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร กรณีโครงการก่อสร้างสะพานรถยนต์ โครงการระบายน้ำแม่น้ำตรัง ต.บางรัก อ.เมือง จ.ตรังกรณีโครงการก่อสร้างสำนักงานแขวงการทาง ชุมชนสะพานร่วมใจ เขตดอนเมืองกรุงเทพฯ เป็นต้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง