เสนอตั้งวอร์รูมติดตามผลกระทบเศรษฐกิจจากศึกรัสเซีย–ยูเครน

กรุงเทพฯ 7 มี..- เลขาธิการสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แนะรัฐบาลตั้ววอร์รูมติดตามสถานการณ์ “รัสเซีย–ยูเครน” ใกล้ชิด ให้วิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นต่อภาคส่วนต่างๆ เพื่อป้องกันและลดความเสียหาย เนื่องจากยังไม่มีท่าทีที่สงครามจะยุติ


นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล เลขาธิการสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยกล่าวว่า เป็นห่วงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นต่อภาคส่วนต่างๆ จากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนซึ่งไม่ทราบว่า จะจบลงเมื่อไร ล่าสุดรัสเซียประกาศงดส่งออกปุ๋ย ขณะที่ฮังการีและอาเจนตินาจะงดส่งออกธัญพืช โดยคาดว่า ประเทศในทวีปยุโรปอีกหลายประเทศจะงดส่งออกสินค้าเกษตรเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารจากสงครามที่อาจยืดเยื้อซึ่งนโยบายดังกล่าวส่งผลต่อภาคภาคเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในไทยแน่นอน

สำหรับการที่อาร์เจนตินาจะหยุดส่งออกธัญพืชจะทำให้อุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ของไทยขาดถั่วเหลืองซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญอีกชนิด นอกเหนือจากที่ขาดข้าวสาลีจากรัสเซียและยูเครน โดยอาร์เจนตินาเป็นผู้ผลิตถั่วเหลืองอันดับ 3 ของโลก ทำให้ขณะนี้วัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งไทยต้องนำเข้าจึงประสบปัญหาทั้งราคาสูงขึ้นและจะขาดแคลนด้วย


ทั้งนี้เสนอให้รัฐบาลตั้งวอร์รูมเพื่อติดตามสถานการณ์ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน โดยให้มีภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจเพื่อจะได้ป้องกัน แก้ไข และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ที่ผ่านมายังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนของรัฐบาลซึ่งอาจเป็นเพราะช็อกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ขณะนี้ต้องตั้งตัวได้แล้วเพื่อกำหนดทิศทางของประเทศ ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจซ้ำเติมจากที่เสียหายเพราะโควิด-19 อีก 

นายพรศิลป์กล่าวต่อว่า รัฐบาลต้องคำนึงถึงความมั่นคงทางอาหารเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่เริ่มดำเนินมาตรการต่างๆ แล้ว โดยสิ่งที่ควรทำได้แก่ การส่งออกอย่างเหมาะสมเนื่องจากหากส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารมากจนเกินไปในภาวะที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ อาจทำให้สินค้าเกษตรและอาหารในประเทศไทยมีไม่เพียงพอและราคาแพง ส่วนอีกมาตรการคือ ผ่อนปรนการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิตสินค้าปศุสัตว์เนื่องจากอาหารสัตว์เป็นต้นทุน 60-70% ของการเลี้ยงสัตว์ 

ก่อนหน้านี้สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์เคยทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้ยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% ยกเลิกมาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี 3 : 1 ส่วน และเปิดให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้กรอบ WTO และAFTA ยกเลิกโควต้าภาษีและค่าธรรมเนียมให้สามารถนำเข้ามาได้ในปริมาณขาดแคลนในปี 2565 แต่ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด 


นายพรศิลป์กล่าวว่า หากรัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาขายอาหารสัตว์และสินค้าปศุสัตว์เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ต้องแก้ไขปัญหาราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงขึ้นด้วย เนื่องจากเป็นต้นทางของสินค้าปศุสัตว์ สมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยแจ้งว่า แบกรับต้นทุนต่อไม่ไหว หลายรายวางแผนปรับลดกำลังการผลิตลงเพื่อลดภาวะขายขาดทุน ซึ่งหากหยุดการผลิตจะส่งผลให้เกิดวิกฤติขาดแคลนอาหารสัตว์ แล้วกระทบต่อภาคปศุสัตว์โดยรวมในที่สุด.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง