สธ.ประเมินสมรรถนะรับมือโควิด ตามแนวทาง WHO พบอยู่ระดับดีมาก

กรุงเทพฯ 5 มี.ค. – สธ.ประเมินสมรรถนะรับมือโควิด-19 ตามแนวทาง WHO พบอยู่ระดับ “ดีมาก” พร้อมปรับสู่การเป็นโรคประจำถิ่น


กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประเมินผลการรับมือโควิด-19 ตามสมรรถนะหลักขององค์การอนามัยโลก พบอยู่ในระดับดีมาก เร่งถอดบทเรียน ทบทวนการปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมเดินหน้าปรับสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

วันนี้ (5 มีนาคม 2565) นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง ประธานคณะกรรมการ MIU และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ที่มีทิศทางลดความรุนแรงลง นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงให้มีการวางแผน เตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการเพื่อเข้าสู่การเป็น “โรคประจำถิ่น” อย่างดีที่สุด โดยเน้นการนำข้อมูลด้านระบาดวิทยาและวิชาการ การระดมความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและนอกกระทรวงสาธารณสุข การติดตามประเมินผลและถอดบทเรียนทั้งในระดับชาติและพื้นที่ มาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ


ล่าสุดทีมวิจัยกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประเมินผลการรับมือสถานการณ์โควิด-19 โดยลงพื้นที่จริงทั้งในระดับประเทศ และในระดับพื้นที่ จำนวน 8 พื้นที่หลัก และ 44 พื้นที่ย่อย เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย การเตรียมความพร้อมและมาตรการสำคัญในการรับมือสถานการณ์ในระยะถัดไปจนเข้าสู่การยุติการระบาด โดยประเมินตามสมรรถนะหลักขององค์การอนามัยโลก (WHO) และถอดบทเรียน ทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) พบว่า

1) ประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุข มีสมรรถนะและการรับมือสถานการณ์อยู่ในระดับดีมาก ใน 7 องค์ประกอบหลัก เช่น ภาวะผู้นำ การบริหารจัดการ กำลังคน ยา เวชภัณฑ์ วัคซีน ระบบบริการ การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ

2) ขณะนี้สถานการณ์ส่วนใหญ่ทั่วโลกและประเทศไทย อยู่ในระยะการปรับตัวเข้าสู่การยุติการระบาดใหญ่ (Pandemic Ending) เป็น “โรคประจำถิ่น (Endemic)” จากปัจจัยของเชื้อที่ลดความรุนแรงลงมาก โดยขณะนี้สถานการณ์อยู่ในระยะทรงตัวและชะลอการเพิ่มจำนวน คาดว่าจะดีขึ้นตามลำดับและเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นในต้นเดือนกรกฎาคม 2565 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญในการยุติการระบาดใหญ่ คือ ระดับภูมิคุ้มกันต่อโควิด-19 ของประชาชน ดังนั้น ต้องขอความร่วมมือประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรงและผู้เสียชีวิตลงให้มากที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ข้อมูลกรมควบคุมโรค พบว่า การได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น จะลดโอกาสเสียชีวิตลงได้ถึง 41 เท่า รวมถึงยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด เพื่อลดและชะลอจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ระบาดโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ด้วย เช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่


3) ระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุข เช่น ระบบป้องกันควบคุมโรค บุคลากร ยา เวชภัณฑ์ และจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วย มีความพร้อมในการรับสถานการณ์ แต่ต้องปรับการดูแลรักษาผู้ป่วย ในลักษณะเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อทั่วไป เช่น ไข้หวัดใหญ่ โดยผู้ที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย ให้รักษาตัวแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ดูแลตนเองที่บ้าน และรับเป็นผู้ป่วยใน (IPD) ในกรณีที่มีอาการรุนแรง หรือเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค จะเน้นการสอบสวน ควบคุมการระบาดที่เป็นกลุ่มก้อน เฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ที่กลายพันธุ์และเพิ่มความรุนแรง และพิจารณาการให้วัคซีนในระยะถัดไป เป็นการให้วัคซีนประจำปีในกลุ่มเสี่ยงคล้ายการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ ต้องเร่งพัฒนาระบบสาธารณสุขในเขตเมืองขนาดใหญ่ เช่น กทม. โดยเฉพาะระบบการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิที่เข้มแข็ง จิตอาสา อาสาสมัครสาธารณสุขระดับพื้นที่ ให้เหมาะสมกับบริบท ส่งเสริมพัฒนากลไกการบริหารจัดการ ความร่วมมือในการดำเนินงานจากทุกภาคส่วนให้เป็นทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ

4) ระบบเวชภัณฑ์ ยา วัคซีน สามารถบริหารจัดการได้ดี มีจำนวนเพียงพอ นโยบายรัฐบาลมีความต่อเนื่องในการพัฒนาความมั่นคงด้านสุขภาพ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการผลิต และสามารถพึ่งตนเองได้เองภายในประเทศ เช่น โรงงานผลิตวัคซีน ยา และเวชภัณฑ์ เพื่อพร้อมรับมือวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพ และการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่อื่นๆ ในอนาคต

5) ต้องเร่งพัฒนาระบบการสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ทันสมัยและเป็นเชิงรุก ทั้งในสื่อสังคมออนไลน์ และสื่ออื่นๆ ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงบริหารจัดการข่าวปลอมอย่างมีประสิทธิภาพ เร่งเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็น “โรคประจำถิ่น” โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจ การปรับตัว ทั้งในภาคประชาชน สังคม วัฒนธรรม การใช้ชีวิตรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal) มาตรการทางสังคมที่ดีและเหมาะสม เช่น การป้องกันตนเองและผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดหรือการแพร่เชื้อ เป็นต้น

“หากเทียบเคียงกับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ 2019 เมื่อ พ.ศ. 2552 ขณะนี้เป็นการเข้าสู่การยุติการระบาดใหญ่ และปรับตัวไปเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งวิกฤติโรคโควิด-19 ครั้งนี้จะสิ้นสุดลงได้ก็ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งการบริหารจัดการและมาตรการในระดับชาติและพื้นที่ พลังความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และที่สำคัญคือ การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือจากประชาชน” นพ.รุ่งเรือง กล่าวในตอนท้าย. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยิงสส.กัมพูชา

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” ดับกลางกรุงเทพฯ

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ดับใกล้วัดดังกลางกรุง พบเหยื่อมีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลฮุนเซน

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม

ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา เพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม พร้อมกำหนดบทลงโทษหากพบเข้าไปข้องเกี่ยว

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา-วอศ.สระบุรี ชนะเลิศแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา และ วอศ.สระบุรี ชนะเลิศในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025 ณ เมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ข่าวแนะนำ

ปล่อยตัว “แซม ยุรนันท์” สวมกอดครอบครัว ขอกลับบ้านก่อน

“แซม ยุรนันท์” ได้รับการปล่อยตัวแล้ว สวมกอดครอบครัวด้วยสีหน้ามีความสุข พร้อมขอบคุณสื่อมวลชนที่มาต้อนรับ ขอกลับบ้านก่อน ขอบคุณกระบวนการยุติธรรม

จับแล้วมือยิงอดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ย่านบางลำพู

“ผู้การจ๋อ” ส่ง “สารวัตรแจ๊ะ” นำทัพสืบ บช.น. ร่วมตำรวจกัมพูชา แกะรอยบุกจับ “จ่าเอ็ม” มือยิง “ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ถึงพระตะบอง ประเทศกัมพูชา

ปล่อยตัว “มิน พีชญา” หลังอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีดิไอคอน ขอบคุณกระบวนการยุติธรรม

ปล่อยตัว “มิน พีชญา” หลังอัยการสั่งไม่ฟ้องคดี “ดิไอคอน” เปิดใจขอบคุณกระบวนการยุติธรรมและทัณฑสถานหญิง ดูแลเป็นอย่างดี ยืนยันบริสุทธิ์ใจตั้งแต่แรก พร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งวันนี้ได้พิสูจน์ตนเองแล้ว

พบ จยย.มือยิงอดีตนักการเมืองกัมพูชาจอดทิ้งปั๊ม คาดได้ตัวเร็วๆ นี้

ตำรวจตรวจพบรถจักรยานยนต์มือยิงอดีตนักการเมืองฝ่ายค้านกัมพูชาแล้ว จอดทิ้งไว้ที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง บริเวณเลียบด่วนมอเตอร์เวย์ คาดได้ตัวคนร้ายเร็วๆ นี้