“หมอประสิทธิ์” คาดโอไมครอนเป็นช่วงท้ายของการระบาด

กรุงเทพฯ 25 ม.ค. – “หมอประสิทธิ์” เผยสถานการณ์โอไมครอนทั่วโลกในรอบ 2 เดือน มีแนวโน้มเข้าสู่จุดสิ้นสุดการระบาด ย้ำอย่าหวังสร้างภูมิคุ้มกันโดยการติดเชื้อ เสี่ยงอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้


ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เปิดเผยถึงสถานการณ์โควิดสายพันธุ์โอไมครอนจากทั่วโลก หลังมีการแพร่ระบาดมา 2 เดือน ว่าขณะนี้โควิดสายพันธุ์โอไมครอนไปรุนแรงอยู่ที่ทวีปยุโรปและในอเมริกา ส่วนที่แอฟริกา ได้ผ่านจุดการแพร่ระบาดสูงสุดมาแล้ว กำลังอยู่ในช่วงขาลง และก็ไม่ได้พบมีคนไข้หนักมากนัก

หลังองค์การอนามัยโลก ประกาศพบสายพันธุ์โอไมครอนเมื่อ 24 พ.ย.64 ทำให้มีอัตราการติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 2-3 ล้านคน/วัน สูงกว่าทุกสายพันธุ์ที่ผ่านมา ที่พบเพียงวันละประมาณ 1 แสนคน ส่วนอัตราการเสียชีวิตในช่วงที่เดลตาเป็นสายพันธุ์หลัก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 5,000-9,000 คน/วัน พอมาในช่วงที่โอไมครอนเข้ามาเป็นสายพันธุ์หลัก ตัวเลขการเสียชีวิตก็ใกล้ ๆ เดิมอยู่ระหว่าง 4,000-9,000 คน/วัน ขณะที่ตัวเลขการฉีดวัคซีนทั่วโลก ตอนนี้ฉีดไปแล้วกว่า 9,900 ล้านโดส


พร้อมยกตัวอย่างสถานการณ์โควิดในหลายประเทศ ข้อมูล ณ วันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา เช่น ที่สหรัฐหลังโอไมครอนเข้าไประบาด ทำให้มีตัวเลขติดเชื้อสูง บางวันสูงถึง 1.5 ล้านคน ตัวเลขผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่าง 2,000-3,000 คน มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 530 ล้านโดส จากจำนวนประชากรที่มีอยู่กว่า 334 ล้านคน แคนนาดา เป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงขาลง ฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 75 ล้านโดส จากประชากรที่มีอยู่กว่า 38 ล้านคน ทำให้ตัวเลขการเสียชีวิตกว่า 100 คนต่อวัน มาอย่างต่อเนื่อง สหราชอาณาจักร มีอัตราการติดเชื้ออยู่ระหว่าง 80,000-1,000,000 คนต่อวัน เสียชีวิต 200-300 คนทุกวัน ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงขาลง หลังมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 137 ล้านโดส จากประชากรที่มีกว่า 68 ล้านคน

ส่วนประเทศไทย หลังโอไมครอนระบาด ก็พบมีอัตราการติดเชื้ออยู่ที่ระหว่าง 7,000-8,000 คน/วัน เสียชีวิตอยู่ในหลักกว่า 10 คน ไม่เกิน 20 คน มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 111 ล้านโดส จากประชากรที่มีอยู่กว่า 70 ล้านคน คิดเป็น 74.4% ของประชากรที่ได้รับ 1 โดส 68.5% ได้ 2 โดส และ 15.8% ที่ได้รับการฉีดกระตุ้น

จากการติดตามสถานการณ์ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา พบข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้ว่าโอไมครอนแพร่ได้เร็วกว่าเดลตา โดยไม่ได้สัมพันธ์กับปริมาณไวรัสในผู้ติดเชื้อ ความจำเป็นต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ติดเชื้อสายพันธ์เดลตา ประมาณเพียง 1/3 ถึง 1/2 และมีอาการรุนแรงน้อยกว่า ความสามารถหลบจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งภูมิที่เกิดจากการหายจากการติดเชื้อ หรือที่เกิดจากการฉีดวัคซีนได้มากกว่าสายพันธุ์เดลตา เป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งของการแพร่ระบาดได้เร็วของโอไมครอน อาการที่พบบ่อยในการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน คือน้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว จามบ่อยและเจ็บคอ ส่วนอาการไข้สูง ไม่ได้กลิ่น หรือไม่ได้รสพบไม่บ่อยเหมือนเดลตา


การศึกษาในสัตว์พบว่าเชื้อโอไมครอน มักก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ลงปอดมากเหมือนเดลตา เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อาการ ความรุนแรงไม่ค่อยเหมือนกัน การศึกษาใน Imperial College ในกรุงลอนดอน พบว่าการจะมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยลดการติดเชื้อ หรือการติดเชื้อที่มีอาการมาก จำเป็นต้องได้รับวัคซีน 3 เข็ม (2 เข็มพื้นฐาน และกระตุ้น 1 เข็ม) และระยะห่างจากเข็มที่ 2 ประมาณ 3 เดือน แต่ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อเสนอแนะว่าให้ฉีดทุก 3-6 เดือน

งานการศึกษาผลของการฉีด AZ และ Pfizer ที่ Imperial College พบว่าจะป้องกันการเกิดการติดเชื้อที่มีอาการของโอไมครอน ได้ผล 0-20% แต่จะเพิ่มเป็น 55-80% เมื่อได้รับการฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ในการเอาชนะโอไมครอน พลโลกส่วนใหญ่ควรได้รับการฉีดวัคซีนให้ครบ ไม่ใช่มีการฉีดเฉพาะในประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจสังคมที่ดีเท่านั้น การหวังให้เกิดภูมิคุ้มกันโดยการติดเชื้อเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรง หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต การเพิ่มภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดในตอนนี้ คือ การฉีดวัคซีน ส่วนภาวะ Long Covid เป็นกลุ่มอาการที่พบได้หลังการติดเชื้อโควิด อาจพบได้เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ๆ มีมากกว่า 50 อาการที่พบ ระยะเวลาที่มีอาการที่จะถือว่าเป็น Long Covid ในสหราชอาณาจักร ถือว่าไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ในสหรัฐอเมริกา 4 สัปดาห์ขึ้นไป ถือว่าเป็นแล้ว การได้รับการฉีดวัคซีนครบ ช่วยลดโอกาสเกิด Long Covid ได้ถึง 49% ไม่มีความแตกต่างชัดเจนตามหลังการติดเชื้อสายพันธุ์ต่าง ๆ ส่วนยาที่มีรายงานว่าได้ผลดีต่อโอไมครอน ทั้ง Favipiravir, Molnupiravir, Nirmatrelvir, Remdesivir, Paxlovid ก็ยังใช้ได้ดี

ทั้งนี้ จากข้อมูลจริงที่เกิดขึ้นตลอด 2 ปีที่ผ่านมา สามารถสรุปได้ว่าผลจากการแพร่ระบาดที่เร็วมากของโอไมครอน แต่ก่อให้เกิดอาการความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า ทำให้มีโอกาสสูงที่เข้าสู่ช่วงปลายของการแพร่ระบาดของโควิด จากผลรวมของประชากรโลกที่มีภูมิคุ้มกัน ทั้งจากการฉีดวัคซีนและจากการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง พร้อมย้ำการหวังให้เกิดภูมิคุ้มกันโดยการติดเชื้อ เป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ เพราะอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงหรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ทั้งตัวผู้ติดเชื้อและผู้ได้รับการแพร่เชื้อ

วิถีการใช้ชีวิตและการทำงาน มีแนวโน้มไม่กลับมาเป็นปกติ ในรูปแบบก่อนการเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เป็นปกติรูปแบบใหม่ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการเกิดการแพร่ระบาดจากเชื้อโรคใหม่ และจะเป็นรูปแบบที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เมื่อฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการสร้างสุขภาพ การรักษาความสะอาดสุขอนามัย เทคโนโลยีต่าง ๆ จะมามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น การยอมรับเทคโนโลยีจะมีมากขึ้น และใช้ได้สะดวกขึ้น ประเทศไทยควรมีส่วนร่วมในการสร้าง พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพมีการปรับตัว มีการนำเทคโนโลยีและวิธีการใหม่ ๆ มาใช้

สำหรับคำแนะนำในช่วงเวลานี้ ควรป้องกันตัวเองจากการรับเชื้อและแพร่เชื้อ ซึ่งสามารถกระทำได้ แม้จะมีการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจมากขึ้น โดยการใส่หน้ากาก รักษาระยะห่างกัน 1-2 เมตร การพูดคุยไม่นานจนเกินไป (โดยใส่หน้ากาก) ดำเนินการตามมาตรการต่างๆที่ถูกกำหนดขึ้น ทั้งผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ เพื่อให้สามารถประเมินประสิทธิภาพของมาตรการเหล่านั้น ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 (Az หรือ mRNA) หากฉีดเข็มที่ 2 แล้ว 3 เดือน หรือมากกว่า ช่วยกันแนะนำหรือตักเตือนผู้ที่ไม่ดำเนินการตามมาตรการที่ควร เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด เนื่องจากโอไมครอนแพร่ระบาดได้เร็ว และติดตามข่าวสารความก้าวหน้าต่าง ๆ เกี่ยวกับไวรัสโควิด-19. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Joe Biden and Kamala Harris on stage

ผู้เชี่ยวชาญชี้สาเหตุที่ “แฮร์ริส” พ่ายแพ้

ผู้เชี่ยวชาญชี้สาเหตุที่นางคอมมาลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครต พ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ให้แก่นายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน

“ทรัมป์” คว้าชัยเด็ดขาด ครองตำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัย

โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน คว้าชัยชนะเด็ดขาดในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เหนือคู่แข่งอย่าง คอมมาลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต นับเป็นการกลับมาครองตำแหน่งผู้นำสหรัฐอีกครั้ง หลังต้องออกจากทำเนียบขาวไปเมื่อ 4 ปีก่อน

พบศพไวยาวัจกรวัดดังระยองถูกยิงดับพร้อมหญิงสาวในบ้านพัก

พบศพไวยาวัจกรวัดดัง จ.ระยอง ถูกยิงเสียชีวิตในบ้านพัก พร้อมหญิงสาวหน้าตาดี คาดเสียชีวิตมาแล้ว 3 วัน ตำรวจเร่งหาสาเหตุ

พบเด็กหญิงฝาแฝดวัย 9 ขวบ ดวงตาสีฟ้า

พบเด็กหญิงฝาแฝดชาวนครพนม วัย 9 ขวบ มีดวงตาสีฟ้าสดใส ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก อาศัยอยู่กับแม่เลี้ยงเดี่ยว แม่เผยลูกมีปัญหาทางการได้ยิน ใช้ชีวิตลำบาก ถูกบลูลี่ แต่ไม่ขอเปิดรับบริจาค เพราะเคยถูกมิจฉาชีพแอบอ้าง

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงทำเนียบขาว 2024 : “ทรัมป์ 2.0” นำไปสู่กาลอวสานระเบียบโลก ?

นายโดนัลด์ ทรัมป์ มีแนวคิดมองโลกแบบแหวกแนว ส่วนหนึ่งทำให้ได้ใจคนอเมริกัน แต่ส่วนหนึ่งทำให้ทั้งโลกปั่นป่วน วันนี้มีคำกล่าวจากผู้นำรัสเซียว่า ระเบียบโลกใหม่กำลังเริ่มต้นขึ้น

มอบรางวัล “หมูเด้ง” ทายผล “ทรัมป์” ชนะเลือกตั้ง

มอบรางวัลผลไม้ถาดยักษ์ให้ “หมูเด้ง” หลังทำนายทายถูกว่า “ทรัมป์” ชนะเลือกตั้ง ด้าน ผอ.สวนสัตว์ฯ อวยยศให้เป็น “อาจารย์เด้ง”

นำ “ทนายตั้ม-ภรรยา” ฝากขัง เจ้าตัวยกมือไหว้ ปัดตอบทุกประเด็น

กองปราบฯ นำ “ทนายตั้ม-ภรรยา” ฝากขังศาลอาญารัชดา เบื้องต้นท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว ด้านเจ้าตัวยกมือไหว้ ปัดตอบทุกประเด็น