14 มกราคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Dogrulukpayi (ตุรกี)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด
บทสรุป:
- สีของเลือดขึ้นอยู่กับปริมาณออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด 19
- ในหลอดเลือดแดงซึ่งมีออกซิเจนสูง เลือดจะเป็นสีแดงสด
- ในหลอดเลือดดำซึ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์สูง เลือดจะเป็นสีแดงคล้ำ
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Twitter ในประเทศตุรกี โดยอ้างว่าวัคซีนโควิด 19 ทำให้เลือดของผู้รับวัคซีนเปลี่ยนสี โดยมีการนำถุงบรรจุโลหิตของผู้บริจาคเลือดมาเปลี่ยนเทียบ โดยผู้โพสต์อ้างว่าสีเลือดของคนทั่วไปจะอ่อนกว่าสีเลือดของผู้รับวัคซีนโควิด 19 ที่มีสีเข้มกว่า เนื่องจากวัคซีนโควิด 19 มีส่วนผสมของสาร Graphene ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กและทำให้เลือดมีสีข้น
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
จากการตรวจสอบของ Dogrulukpayi พบว่าข้ออ้างดังกล่าวไม่เป็นจริง เพราะสีของเลือดจะเปลี่ยนไปตามปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในเลือด จึงไม่อาจยืนยันการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้จากสีของเลือด
ในเซลล์เม็ดเลือดแดงมีโมเลกุลโปรตีนที่เรียกว่าฮีโมโกลบิน ค่อยทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ปริมาณออกซิเจนในเลือดยิ่งมาก สีของเลือดจะเป็นสีแดงสด เช่นเลือดในหลอดเลือดแดงที่สูบฉีดเลือดจากหัวใจไปสู่อวัยวะต่างๆ จะมีปริมาณออกซิเจนสูงและมีสีแดงสด ส่วนเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนน้อย เช่นเลือดในหลอดเลือดดำซึ่งเป็นการนำเลือดจากจากอวัยวะต่างๆ เข้าสู่หัวใจ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงทำให้สีของเลือดเป็นสีแดงคล้ำ
ดร.พอล สเตรนเจอร์ส ที่ปรึกษาของสมาคมพลาสม่าและการคัดแยกพลาสม่าสากล (IPFA) อธิบายว่า สีของเลือดมีความสัมพันธ์กับโมเลกุลโปรตีนที่คอยลำเลียงออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง โปรตีนที่แตกต่างมีผลต่อสีของเลือด เช่นคนไข้ที่กินอาหารที่มีไขมันมากๆ สีของพลาสม่าในเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีขาว เนื่องจากปริมาณไขมันในเลือด
ดร.พอล เจ อูต์ซ ศาสตราจารย์ด้านภูมิคุ้มกันวิทยาและวิทยารูมาติก มหาวิทยาลัย Stanford University ชี้แจงว่า สีของเลือดไม่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโควิด 19 และเป็นเรื่องปกติที่สีของถุงบรรจุโลหิตของผู้บริจาคเลือดแต่ละคนจะมีเฉดสีที่แตกต่างกัน
ส่วนข้ออ้างที่กล่าวว่าวัคซีนโควิด 19 มีส่วนผสมของสาร Graphene ก็เป็นการข่าวปลอมที่เผยแพร่โดยกลุ่มที่มีแนวคิดต่อต่านวัคซีน และได้รับการยืนยันว่าไม่เป็นความจริง
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.dogrulukpayi.com/dogrulama/covid-19-asilarinin-kan-rengini-degistirdigi-iddiasi
- หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
- LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
- FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
- Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
- IG :: https://instagram.com/SureAndShare
- Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
- TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter