“เกษตรฯ” เตรียมหารือ “พาณิชย์” แก้ปัญหาหมูแพง

กรุงเทพฯ 30 ธ.ค. – อธิบดีกรมปศุสัตว์เผย เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงหมูน้อยลงเพราะหวั่นโรคระบาด รวมทั้งอาหารและยาสัตว์ราคาสูงขึ้นทำให้ต้นทุนเพิ่ม แต่ความต้องการบริโภคยังคงสูงต่อเนื่องเป็นเหตุให้เนื้อหมูแพง ยืนยันกรมปศุสัตว์วางแผนรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรซึ่งระบาดอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านแล้ว เตรียมหารือกระทรวงพาณิชย์และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ


นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever: ASF) ซึ่งขณะนี้ระบาดในประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ แต่ยืนยันว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังคงสถานะปลอดโรค ASF อยู่ ปัจจัยนี้ส่งผลให้ราคาเนื้อสุกรปรับสูงขึ้นเนื่องจากผู้เลี้ยงรายย่อยไม่นำสุกรมาลงเลี้ยงเพราะไม่มีระบบควบคุมโรคจึงเกรงว่า หากเกิดโรคจะเสียหายหนัก โดยพ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 กำหนดให้ฟาร์มสุกรต้องควบคุมโรคปรับระบบการเลี้ยงให้มีความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) และกำจัดสุกรที่มีความเสี่ยงเกิดโรคระบาด รวมทั้งยังต้องพักคอกสัตว์ก่อนทำเลี้ยงรุ่นใหม่ นอกจากนี้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับสูงขึ้นด้วยเป็นผลให้ต้นทุนการผลิตปรับเพิ่มตามไปด้วย ซึ่งกรมปศุสัตว์จะหารือกับกรมการค้าภายใน กรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติเพื่อเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาราคาเนื้อหมูแพงโดยด่วน

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวต่อว่า เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคระบาดในสัตว์อย่างต่อเนื่อง โดยรายงานสถานการณ์ของโรคระบาดในสุกรของประเทศไทยจากระบบการเฝ้าระวังโรคระบาดทั้งเชิงรุกและเชิงรับพบว่า ตั้งแต่ปี 2561 – 2564 มีการระบาดของโรคที่สำคัญในสุกรได้แก่


– โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) เป็นโรคหรือกลุ่มอาการในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร 707 ครั้ง

– โรคอหิวาต์สุกร (CSF) 24 ครั้ง

– โรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) 11 ครั้ง


ทั้งนี้ยังไม่พบการะบาดของโรค ASF ในไทย แต่ยอมรับว่า มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากระบาดในประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบดังกล่าว กรมปศุสัตว์จึงดำเนินงานตามแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเพื่อรักษามูลค่าของอุตสาหกรรมการผลิตสุกรไม่น้อยกว่า 150,000 ล้านบาทของประเทศ

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวย้ำว่า ขอความร่วมมือเกษตรกรที่เป็นเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคระบาดในสุกรติดตามข่าวสารการแพร่ระบาดของโรคจากกรมปศุสัตว์อย่างใกล้ชิด หากพบสุกรที่สงสัยว่าป่วยหรือตายด้วยโรคระบาด หรือด้วยอาการผิดปกติไม่ทราบสาเหตุ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ทันที หรือผ่านทางแอพพลิเคชั่นมือถือ “DLD 4.0” หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ หมายเลขโทรศัพท์ 063 225 6888 เพื่อเข้าทำการตรวจสอบทันทีเพื่อควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่ในวงจำกัด

นอกจากนี้ หากประชาชนต้องการบริโภคเนื้อสุกรขอให้เลือกซื้อเนื้อสุกรที่มาจากแหล่งผลิตและผู้จำหน่ายที่ได้รับสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” และต้องนำมาปรุงสุกทุกครั้งก่อนการบริโภคเพื่อสุขอนามัยที่ดี รวมทั้งขอให้มั่นใจในความปลอดภัยจากการบริโภคเนื้อสุกร ไม่ตื่นตระหนกกับข่าวสารที่มีข้อมูลไม่แน่ชัด.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่มพาลูก-เมียกลับจากฉลองวันเกิด รถยางระเบิดเสียหลักชนเสาไฟ ดับ 3 สาหัส 2

พ่อแม่ลูก 5 คน กลับจากฉลองวันเกิด รถกระบะยางระเบิดเสียหลักหมุนชนอัดเสาไฟฟ้า พ่อและแม่พร้อมลูกคนโตเสียชีวิตคาที่ ส่วนลูกคนกลางและคนเล็กอาการสาหัส

สุดโหด! ไล่แทงหนุ่มดับปมขัดแย้งยาเสพติด

วงจรปิดจับภาพชัด คนร้ายวิ่งข้ามถนนไล่แทงหนุ่มเสียชีวิต ชาวบ้านแตกตื่น ขณะที่ตำรวจรวบตัวทันควัน คาดปมขัดแย้งยาเสพติด

กยศ.เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน พ.ค.-มิ.ย.68

กยศ. เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน ช่วยเหลือชั่วคราว พ.ค.-มิ.ย.68 ให้นายจ้างลดยอดการหักเงินเดือน ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเริ่มผ่อนชำระใหม่เป็นรายเดือนในอัตราลดลง

ข่าวแนะนำ

ผู้เสียหาย 70 ราย ร้องสภาทนายฯ ถูกหอพักโหดเอาเปรียบ

ผู้เสียหาย 70 คน เข้าร้องสภาทนายความช่วยเหลือ หลังถูกเจ้าของหอพัก ย่านรังสิต เอาเปรียบ ข่มขู่กักขัง-ยึดทรัพย์ ด้านนายกสภาทนายความ ตั้งคณะทำงานช่วยเหลือทางคดี ทั้งแพ่ง-อาญา เชื่อมีผู้เสียหายเพิ่มอีก

คณะกรรมการแพทยสภา มีมติลงโทษ 3 แพทย์ เซ่นปม “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14

คณะกรรมการแพทยสภา มีมติลงโทษแพทย์ 3 ท่าน เซ่นปม “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ โดยว่ากล่าวตักเตือน 1 ท่าน พักใช้ใบประกอบวิชาชีพ 2 ท่าน เผยมติที่ประชุมมีความเห็น “เป็นเสียงส่วนใหญ่มาก มาก มาก”

นายกฯ มาเลเซีย ต่อสายคุย “แพทองธาร” ติดตามสถานการณ์ใต้

นายกฯ มาเลเซีย ต่อสายคุย “แพทองธาร” ติดตามสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ แสดงความพร้อมร่วมมือกับไทยเพื่อยุติความรุนแรง พร้อมใช้เวทีอาเซียนสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกมากขึ้น